ศก.ไทยเผชิญมรสุมหนัก ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 11  ปี กนง.ตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25%

ภาวะเศรษฐกิจไทยเครียดกว่าคาดการณ์ ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ต่ำสุดรอบ 11 ปี กนง.ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย

ถือเป็นภาวะวิกฤตที่ยังไม่ชัดเจนแนวทางออก  เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19  ส่งผลกระทบไปทั่วโลก  หลายปัจจัยบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทย  คงต้องใช้เวลายาวนานพอสมควร  กว่าจะกลับมาสดใสอีกครั้ง  ล่าสุด   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)  เปิดเผยผลการสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 75.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.0 ในเดือนมีนาคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ต่ำสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 

 

ศก.ไทยเผชิญมรสุมหนัก ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 11  ปี กนง.ตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25%

 

ทั้งนี้การปรับตัวลดลงในทุกขนาดของอุตสาหกรรมทั้งขนาดย่อม  ขนาดกลาง และขนาดใหญ่  โดยมีสาเหตุจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19  รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมโรคระบาดของภาครัฐ  ส่งผลให้การใช้จ่ายและการบริโภคลดลงโดยเฉพาะสินค้าคงทน ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายชะลอการผลิต การลงทุน และลดการจ้างงาน อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อรายได้และกำลังซื้อในภาคเกษตร

 

ศก.ไทยเผชิญมรสุมหนัก ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 11  ปี กนง.ตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25%

โดยข้อมูลการสำรวจผู้ประกอบการ 1,102 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2563 พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 69.5 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไป ทั่วโลกส่งผลให้คำสั่งซื้อต่างประเทศลดลง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 44.9, อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) ในมุมมองผู้ส่งออก ร้อยละ 39.2, ราคาน้ำมัน ร้อยละ 29.7 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 17.9 ตามลำดับ

 

ศก.ไทยเผชิญมรสุมหนัก ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 11  ปี กนง.ตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25%

 


ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 88.8 โดยลดลงจาก 96.0 ในเดือนมีนาคม โดยค่าดัชนีฯ ต่ำที่สุด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการประกอบกิจการในอนาคตที่มีความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและเศรฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงภายหลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก และยังไม่แน่ชัดว่าวิกฤตโควิด-19 จะสิ้นสุดเมื่อใด

 

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
1.ขอให้พิจารณาคืนเงินประกันไฟฟ้าให้กับธุรกิจ SMEs ที่ใช้มิเตอร์ขนาดไม่เกิน 50 แอมป์ เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการช่วงวิกฤตโควิด-19
2.ขอให้กรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ SMEs เป็นเวลา 3 ปี ทุกธุรกิจ (ปีภาษี 2563-2565)


ขณะที่  นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส  เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.   คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.75% เป็น 0.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

 

ศก.ไทยเผชิญมรสุมหนัก ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 11  ปี กนง.ตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25%

 

โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563  มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาด    และผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบกว่าที่ประเมินไว้  รวมถึงเสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ 


ก่อนที่กรรมการส่วนใหญ่  เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น  จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น   รวมทั้งสอดประสานกับมาตรการการคลังของรัฐบาล  และมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ได้ออกไปก่อนหน้านี้ ขณะที่กรรมการ 3 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ก่อน พร้อมเร่งรัดประสิทธิผลของมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ได้ประกาศไปแล้ว