ศาลปกครอง สั่งคุ้มครอง BTS  ให้รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม ในการพิจารณาข้อเสนอการประมูลโครงการของภาคเอกชน ที่ยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

สืบเนื่องจาการที่  นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ดำเนินการยื่นขอความเป็นธรรม ต่อ ศาลปกครองกลาง  ในคดีหมายเลขดำที่  2280/2563 ระหว่างบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดีกับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกคือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง

ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย   กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ BTSC ซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

 

ศาลปกครอง สั่งคุ้มครอง BTS  ให้รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม


( คลิกอ่านข่าวประกอบ  :  กลิ่นทุจริตเอื้อประโยชน์เต็มๆ! โป๊ะแตกสุดแรง เอกสารรฟม.ปรับแก้เงื่อนไขทีโออาร์ รถไฟฟ้าสีส้ม   )  


ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ศาลปกครองกลาง   มีคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม  ในการพิจารณาข้อเสนอการประมูลโครงการของภาคเอกชน  ที่ยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม   ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)  โดยให้พิจารณาจากคะแนนทางการเงินทั้ง 100%    คือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา

จากก่อนหน้ามีแนวนโยบายจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลใหม่   โดยใช้วิธีการเปิดซองคุณสมบัติ  ก่อนเปิดซองเทคนิคควบคู่ไปกับข้อเสนอการเงิน  โดยนำคะแนนเทคนิค 30% มาพิจารณาร่วมกับข้อเสนอการเงินอีก 70%  จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความไม่โปร่งใส เป็นธรรม กับบริษัทเอกชน