- 24 มี.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews-entertain.com
ในเฟซบุ๊กของ "Thon Thamrongnawasawat" หรือรองศาสตราจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ข้อความถึง "แมงกะพรุนกล่อง" หรือ Box Jellyfish ที่ล่าสุดพบว่ามีนักท่องเที่ยวในชายหาด ต.ตราด ที่ประสบเจอกับแมงกะพรุนเหล่านี้ จนเป็นเหตุให้เกิดบาดแผลจากพิษของมัน บางรายอาจช็อคหัวใจหยุดเต้นเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
.
โดยดร.ธรณ์ได้ระบุไว้ว่า "ช่วงนี้หากเพื่อนธรณ์ไปเล่นน้ำแถวหมู่เกาะในจังหวัดตราด ระวังกันไว้นิด กรมทะเลสำรวจพบแมงกะพรุนกล่องหลายสิบตัวในบริเวณนั้น หากเป็นไปได้อยากให้ใส่ชุดปกปิดร่างกาย เล่นน้ำในตาข่ายกั้นแมงกะพรุน หากเกิดเหตุขึ้นมา อย่าลืมว่าห้ามราดน้ำจืด ให้ราดน้ำส้มสายชูเยอะๆ ติดต่อกันกว่า 30 วินาที แล้วรีบบอกพี่ที่อยู่แถวชายหาด คนแถวนั้นมีความรู้เรื่องแมงกะพรุนเป็นอย่างดี เขาจะช่วยปฐมพยาบาลแล้วพาไปหาแพทย์โดยด่วน
.
แมงกะพรุนกล่องพบได้ทั่วทะเลไทย ส่วนใหญ่พบตามหมู่เกาะใกล้ฝั่ง ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมถึงบริเวณชายฝั่ง สังเกตตัวยากมากเพราะตัวเล็ก เคลื่อนที่เร็ว และมักจมอยู่ใต้น้ำ แมงกะพรุนกล่องในไทยมีเกือบ 10 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่มง่ายๆ คือกลุ่มสายเดี่ยวกับกลุ่มหลายสาย กลุ่มหลายสายจะร้ายแรงกว่า
.
ชนิดที่สำรวจพบเป็นกลุ่มหลายสาย ต้องระวังให้มาก พิษของแมงกะพรุนกล่องกลุ่มหลายสาย มีผลต่อหลายระบบในร่างกาย ทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางรายอาจช็อคจนหัวใจหยุดเต้น หรืออาจจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน
.
.
เมื่อโดนให้รีบขึ้นจากทะเลโดยเร็วที่สุด สำหรับผู้ที่จะเข้าไปช่วย ต้องระวังให้ดี ดูว่าเราใส่เสื้อปกปิดดีหรือไม่ มีเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยแล้วคนช่วยโดนแมงกะพรุน กลายเป็นเจ็บหนักกว่าคนโดนทีแรก
.
เต่าทะเลเป็นสัตว์กินแมงกะพรุนตามธรรมชาติ แต่เราทิ้งถุงพลาสติกลงแม่น้ำลำคลองที่ไหลไปทะเล ยังทิ้งตามชายฝั่งมากมาย เต่าเข้าใจผิด กินถุงเข้าไป ตายเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ลดการใช้ถุงพลาสติก คือการช่วยเต่า คือการช่วยเราลดปัญหาแมงกะพรุนครับ ช่วยกันนะครับ รายละเอียด "พบแมงกะพรุนกล่อง บริเวณอ่าวกะทิงและอ่าวขาว เกาะหมาก"
.
วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจสถานภาพแมงกะพรุนพิษบริเวณอ่าวกะทิง และอ่าวขาว เกาะหมาก จ.ตราด สำรวจพบแมงกะพรุนกล่อง Chironex sp.C ๕๓ ตัว และ ๔๐ ตัว ตามลำดับ รวมทั้งได้รับตัวอย่างแมงกะพรุนกล่องชนิดเดียวกันจากรีสอร์ทที่เก็บไว้ให้อีก ๓๕ ตัว (ช่วงวันที่ ๑๙-๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑)
.
.
ทั้งนี้ได้ให้คำแนะนำด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากได้รับพิษแมงกะพรุนดังกล่าวแก่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ตลอดจนให้เพิ่มความระมัดระวัง และให้จัดเตรียมน้ำส้มสายชูให้พร้อมสำหรับการปฐมพยาบาล และตรวจสอบตาข่ายกันแมงกะพรุนในพื้นที่ยังเป็นปกติดี
.
ภาพและข้อมูล - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอบคุณครับ"
.
.
.
.
.
.