- 19 ส.ค. 2563
ยังเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามอง สำหรับ เจนนี่ รัชนก สุวรรณเกตุ หรือ เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ที่มีฉาวไม่หยุดเมื่อโซเชียลต่างขุดอดีตปม เนเงิน เดือดเลือดขึ้นหน้า หลังเเฟนสาว เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น โดนเจ้าหนี้หยามหน้า บุกทวงเงิน 2 เเสน ถึงหน้าบ้าน!
ยังเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามอง สำหรับ เจนนี่ รัชนก สุวรรณเกตุ หรือ เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ที่มีฉาวไม่หยุดเมื่อโซเชียลต่างขุดอดีตปม เนเงิน เดือดเลือดขึ้นหน้า หลังเเฟนสาว เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น โดนเจ้าหนี้หยามหน้า บุกทวงเงิน 2 เเสน ถึงหน้าบ้าน!
โดยเหตุการณ์ในคลิป วีดิโอ เจ้าหนี้ได้มาเจรจากับเเม่ของ เจนนี่ โดยร้องขอให้จ่ายหนี้ 2 แสนให้จบ จากนั้น สาวเจนนี่ได้ออกมา พร้อมบอกให้ เจ้าหนี้ ไปคุยกับทางทนาย ถ้าแม่ทำผิดกฎหมายก็ให้มาจับแม่ได้ ในขณะที่เจ้าหนี้ได้ขอว่าจ่ายหนี้ก็จบ ทำไมต้องไปคุยกับทนาย ซึ่งเจนนี่แจ้งว่า เป็นเงินนอกระบบ ซ้ำดอกเบี้ยยังแพงเกินไป
อีกทั้งงานนี้ เนเงิน ก็ทนไม่ไหว ได้ออกมาชี้หน้าด่าคุณป้าเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นผู้หญิง ด้วยเสียงดังโวยวายเรียกได้ว่าสติหลุดเลยก็ว่า จนเรื่องราวชักบานปลายจนต้องมีคนมาห้าม นั่นเอง จากนั้น เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น เลยออกมาโพสต์ข้อความขอโทษทางสตอรี่เฟซบุ๊ก โดยมีใจความว่า "ขอโทษทุกคนกับคลิปเก่าต่างๆ ที่เคยอัดลงไปในโซเชียล มั่นใจในตัวเองบ้าง ทำตัวเฟียสบ้าง พูดจาหยาบคายบ้าง ทุกอย่างทำไปเพื่อความบรรเทิง ไม่มีเจตนาคิดร้าย กับผู้ใดทั้งสิ้นต่อไปนี้จะปรับปรุงแก้ไข และจะทำสิ่งดีๆ ให้มากที่สุด"
โดยขณะที่นางสิริลักษณ์ รัตนพันธ์ หรือ ป้าแมว ออกมาเปิดเผยว่า คลิปที่เกิดขึ้นถ่ายไว้เมื่อปลายปี 2562 ไม่ใช่ 2-3 ปีที่ผ่านมาตามที่ เจนนี่ ออกมาอ้าง ส่วนหนี้สินที่บุกไปทวงถึงบ้าน เป็นหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีสัญญาเรียบร้อย ไม่ใช่หนี้นอกระบบตามที่ เจนนี่ อ้างตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ต่อมาแฟนเพจเฟซบุ๊กธราวุฒิ ขุดประเด็นได้โพสต์ข้อความระบุว่า ได้รับการเปิดเผยจากนายปิยวัฒน์ สิริพันธ์พงศ์ ทนายของป้าแมว ซึ่งระบุว่า " ทางแม่ของเจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ได้นำเงินจำนวน 150,000 บาท คืนให้กับป้าแมวแล้ว โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวนี้ มอบผ่านตัวแทนของแม่เจนนี่ ซึ่งเป็นสภาทนายความในจังหวัดนครศรีธรรมราช "
อย่างไรก็ตามล่าสุดทางด้าน ทนายเจมส์ ที่ดูแลคดีของ เก้า เกริกพล เพชรรัตน์ ที่มีปัญหากับ เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น เรื่องส่วนแบ่งรายได้ตามข้อตกลง 30 : 70 ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ที่ดูจะโยงถึงป้าแมว และแม่เกตุ ว่า "เจ้าหนี้ส่งข้อความถึงลูกหนี้ “ยกหนี้ให้” มีผลทางกฎหมาย หนี้สูญทันที อย่าหาทำ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ และเชื่อว่าหลายท่านน่าจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเคยเป็นเจ้าหนี้ หรือเคยเป็นลูกหนี้
ถ้าการยืมเงินกันจบลงได้ด้วยดี ก็ถือว่า เป็นประสบการณ์อันงดงามน่าประทับใจ เป็นบุญคุณที่ไม่อาจลืมได้ บางเคสเจ้าหนี้โหด ก็สร้างความลำบากให้กับลูกหนี้ที่หาเช้ากินค่ำ แต่บางเคสก็สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้แก่ ฝ่ายเจ้าหนี้ใจดีเป็นอย่างมาก ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กินหรู อยู่สบาย ใช้ของแบรนด์เนม เหยียบย่ำหัวใจเจ้าหนี้อย่างมาก
วันนี้มีประสบการณ์ดีๆ ที่เคยมีคำพิพากษาฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้ เกี่ยวกับการยกหนี้ให้ลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้อาจจะทำไป เพราะต้องการประชดประชันลูกหนี้ แต่ลูกหนี้กลับนำข้อความนั้น ไปใช้ต่อสู้คดีในศาล จนมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า
“ กรณีที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยส่งข้อความผ่าน Facebook ถือเป็นหลักฐานในการปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามกฏหมาย “
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
ประกอบกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 , 8 , 9 แม้ข้อความจะไม่มีการลงลายมือชื่อเจ้าหนี้ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วย ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้
อ้างอิง คำพิพากษาฎีกา 6757/ 2560 จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9 มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สุดท้าย การให้กู้ยืมเงิน เป็นเรื่องปกติของคนที่ทำธุรกิจ หรืออาจจะเป็นเพราะความเกรงใจ ความสนิทกัน หรือเพราะความใจดีก็ตาม ควรคำนึงถึงอนาคตด้วยว่า ถ้าลูกหนี้ไม่มีเงินจ่าย หรือ หากข้อเท็จจริงที่ลูกหนี้เอามาอ้างว่า จะมีหนทางชำระหนี้ได้นั้น ไม่เป็นความจริง อนาคตคุณจะทำอย่างไร ทางออกที่ดีควรมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และ มีหลักประกัน เช่น ทรัพย์สิน หรือ บุคคล ค้ำประกันด้วยยิ่งดี จะเป็นการลดความเสี่ยงครับ"
ภาพ ทนายเจมส์ LK