- 15 ส.ค. 2564
ยังไม่จบง่ายๆ! "อัยการ" ร่ายยาวหน้าที่ละครที่ดีเป็นแบบไหน ถามหาคำขอโทษของผู้จัดละคร-ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ปมดราม่า "ให้รักพิพากษา" สุดงงนักกฎหมายบางคน ให้ความเห็นว่าเป็นแค่ละคร แต่เอาเรื่องอื่นๆมาเกี่ยวโยงไปหมด
จากกรณีดราม่าละครละครเรื่อง "Dare To Love ให้รักพิพากษา" ที่นำทัพนักแสดง เบลล่า-ราณี , กองทัพ พีค ที่มีอัยการระดับสูงหลายรายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอเนื้อหาบิดเบือน ทำให้สังคมเข้าใจผิดต่อบทบาทการทำงานของอัยการที่ไม่ถูกต้องอย่างรุนแรง พร้อมกับมีการเรียกร้องให้ผู้จัดละคร ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 แก้ไขและชี้แจงต่อสาธารณะโดยด่วน ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึง "นายอดิศร ไชยคุปต์" รองอธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ได้มีการส่งอีเมล์ไปยังผู้จัดละครเรื่องดังกล่าวและทางช่องด้วย
ล่าสุด "นายอดิศร ไชยคุปต์" ได้มีการลงมือเขียนบทความ อธิบายว่าทำไมถึงต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องความถูกต้อง โดยระบุหัวข้อว่า "ละครโทรทัศน์กับสังคมไทย" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ “ละครโทรทัศน์เป็นมากกว่าความบันเทิง เพราะเป็นเบ้าหลอมความคิดให้กับคนคู ละครไม่ได้ทำหน้าที่เพียงความบันเทิง แต่สามารถสอดแทรกค่านิยมวัฒนธรรมที่ดี ความรู้ที่ถูกต้องให้กับคนดูได้ เช่น การกราบไหว้ การทำขนมอาหาร ไทย เป็นต้น
บทละครมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคน เพราะการเล่าเรื่องสามารถเข้าไปอยู่ในใจคน และสามารถสร้างความคิดของคนได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมีละครดี ๆ และบทละครที่ดีนอกจากให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคม หรือสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม อิทธิพลละคร โทรทัศน์มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความเป็นไปในสังคมและเป็นผู้นำด้านความคิดให้กับประชาชน บทละคร จึงควรเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม สื่อโทรทัศน์จึงมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการควบคุมเนื้อหาสาระ และมาตรฐานทางจริยธรรมค้านความถูกต้องเที่ยงตรง
เมื่อละครเรื่อง "ให้รักพิพากษา" บทตัวละคร ที่แสดงเป็นพนักงานอัยการ พบว่า มีการส่อถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการที่ไม่ชอบ ขัดต่อความเป็นจริง และไม่ตรงต่อหลักการคำเนินคคีของพนักงานอัยการ ที่ต้องมุ่งค้นหาความจริงให้ปรากฏในศาลเพื่อความยุติธรรม พนักงานอัยการ ไม่ใช่คู่แพ้ชนะกับผู้ต้องหาและจำเลย และการเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัยการ ต้องมีการสอบเข้าโดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสอบเข้าผู้พิพากษา อันเป็นบทบัญญัติตามกฎหมาย บทละครดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในวิชาชีพพนักงานอัยการ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงานอัยการ และองค์กรอัยการซึ่งเป็นองค์กรสำคัญหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม และผลร้ายจะทำให้ประชาชนขาคความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุดิธรรม ซึ่งควรจะต้องช่วยกันดำรงไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ไม่เข้าใจเลยว่าวัฒนธรรมไทยในการกล่าวคำขอโทษหายไปไหน ซ้ำร้ายนักกฎหมายบางคนกลับให้ความเห็นว่าเป็นเพียงละคร และนำเรื่องอื่นๆ มาเกี่ยวโยงไปหมด ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
14 สิงหาคม 2564