- 10 ก.พ. 2565
เปิดอาณาจักร "พิมรี่พาย" แม่ค้าออนไลน์เบอร์ 1 ของประเทศไทย หลังพบข้อมูลล่าสุด บริษัทเดียวกวาดรายได้ 175 ล้าน แถมมีทั้งหมด 10 บริษัท!
จากกรณี “พิมรี่พาย” แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ได้เกิดดราม่าประเด็นใหญ่ หลังบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังอย่าง “อายตา” ซื้อแป้งแต่งหน้าจากเธอไปรีวิว แต่กลับถูกว่าโง่ แถมบอกอีกด้วยว่า เป็นบิวตี้บล็อกเกอร์มาตั้งแต่นานไม่ดัง จนต้องออกมาขอโทษเอง
จากการตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า "บริษัทของพิมรี่พาย" ที่ใช้คำว่า "พิมรี่" ในชื่อบริษัท มีทั้งหมดรวม 10 บริษัท ใช้ทุนเริ่มต้นในการจดทะเบียนรวม 23 ล้านบาท ในจำนวนนี้ มี 7 บริษัท เพิ่งจดทะเบียนเป็นบริษัท ปีนี้ 2564 ส่วนอีก 3 บริษัท จดทะเบียน ปี 2562 และ 2563ซึ่งถือเป็นช่วง 2-3 ปีทองของ "พิมรี่พาย" ที่ได้รับความนิยมสูง
โดยหากยกตัวอย่างธุรกิจของ "บริษัท พิมรี่พาย คอสเมติก จำกัด" ซึ่งเป็น บริษัทที่จดทะเบียนช่วงแรก พบว่า ล่าสุดนำส่งงบการเงินแสดงผลประกอบการธุรกิจ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 แจ้งว่า มีรายได้รวม 175 ล้านบาท แบ่งเป็น ต้นทุนขาย 139 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10 ล้านบาท แต่บริษัทนี้ พิมรี่พายไม่ได้ถือหุ้นเอง ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ นายสานิต สนองเกียรติ พ่อของพิมรี่พาย ถือหุ้นใหญ่สุด 60% มูลค่า 600,000 บาท
สำหรับบริษัทล่าสุดที่พิมรี่พายจดทะเบียน คือ "บริษัท เดอะ พิมรี่พาย จำกัด" จดทะเบียนจัดตั้ง 16 มีนาคม 2564 ทุน 5,000,000 บาท แจ้งประกอบกิจการบริการ ด้านการบริหารงานพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การขาย การตลาด กฎหมาย บัญชี วิศวกรรม รวมทั้งกิจการโฆษณาประกอบกิจการให้บริการหรือเป็นตัวแทนให้บริการ ให้เช่าทรัพย์สิน สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภคต่างๆ โดยมี น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ และ นาย สานิต สนองเกียรติ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจพิมรี่พาย ถือว่า มีบริษัทที่ครอบคลุมธุรกิจหลายอย่าง
รวมทั้ง "บริษัทพิมรี่ ฟู้ดส์" ซึ่งเป็นธุรกิจ ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารบริษัทพิมรี่ มีเดีย จำกัด ซึ่งทำธุรกิจโฆษณา "บริษัท พิมรี่ โลจิส จำกัด" ธุรกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาย ยังไม่นับรวม การทำค่ายเพลง และ ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ชื่อบริษัท ว่า "พิมรี่" อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ถือเป็นอาณาจักรของพิมรี่พายที่กำลังขยายตัว และมีแม่ค้าออนไลน์จำนวนมาก เลียนแบบโมเดลนี้เพื่อเดินรอยตาม