"หนุ่มกรรชัย"โผล่ขอโทษโค้ชเป้งทันที ปมเปรียบเปรยไม่ไตร่ตรอง ประเด็นแตงโม

"โค้ชเป้ง" สาธิก ธนะทักษ์ แนะ เพื่อนจมน้ำ อย่างลงไปช่วยเด็ดขาด เผยวิธีที่ถูกต้อง ก่อนหนุ่มกรรชัย โผล่ขอโทษทำให้เข้าใจผิด

"โค้ชเป้ง" สาธิก ธนะทักษ์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย เจ้าของเพจ Ez2fit ได้ออกมาโพสต์ข้อความ หลังดาราสาว "แตงโม นิดา" พลัดตกเรือจนเสียชีวิต โดยมีการถกเถียงกันว่า ทำไม ไม่มีคนกระโดดลงไปช่วยแตงโม โดย โค้ชเป้ง แชร์ข้อความที่ "หนุ่มกรรชัย" พูดโดยระบุว่า ระบุว่า 

"หนุ่มกรรชัย"โผล่ขอโทษโค้ชเป้งทันที ปมเปรียบเปรยไม่ไตร่ตรอง ประเด็นแตงโม

สิ่งสุดท้ายที่ควรทำ หรือไม่ทำเลยจะดีกว่า นั่นก็คือกระโดดลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำ

ในออสเตรเลียทุกปีมีคนเสียชีวิตราว 5 คน สาเหตุเพราะกระโดดลงไปช่วยคนตกน้ำ ซึ่งนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ขัดกับสามัญสำนึกของเราว่าเมื่อมีคนตกน้ำสิ่งแรกที่ควรทำคือโดดลงไปช่วย แต่การรักษาชีวิตตนเองก่อนเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เนื่องจากถ้าเราไม่มีความรู้ความชำนาญ ร่างกายที่แข็งแรงพอ การกระโดดลงไปช่วยคนจมน้ำก็อาจจะกลายเป็นการเพิ่มผู้เสียชีวิตไปอีกคน

โดยสาเหตุสำคัญที่เราไม่ควรกระโดดตัวเปล่าๆลงไปช่วย มีหลายปัจจัยได้แก่

1.ถ้าคนตกน้ำว่ายน้ำไม่เป็น จะเกิดความกลัว ตะเกียกตะกาย กอดรัดเราจนเอาเราจมไปด้วย (ในคู่มือของกู้ภัยจึงต้องกำหนดระยะปลอดภัย วิธีเข้าหา รวมถึงถ้าจำเป็นอาจจะต้องจัดการให้สงบก่อน) ซึ่งส่วนมากที่ลงไปช่วยแล้วเสียชีวิตก็จะอยู่ในกรณีนี้

2.ถ้าคนตกน้ำแล้วช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ลอยตัวไม่เป็น คนทั่วไปไม่น่าจะมีความแข็งแรงและทักษะพอที่จะสามารถพาคนจมน้ำลอยตัวหรือพาเข้าฝั่งได้ ผมเองตอนสมัยอยู่มหาวิทยาลัยในวิชาว่ายน้ำก็มีการทดลองให้นักศึกษาทั้งหลายลองช่วยคนจมน้ำ โดยให้เพื่อนอยู่เฉยๆ(ไม่ขัดขืนแต่ก็ไม่ลอยตัวช่วย) ซึ่งในชั้นเรียนมีนักกีฬามากมาย(ที่ไม่ใช่นักกีฬาว่ายน้ำ) ไม่มีใครสามารถพาเพื่อนที่อยู่แค่กลางสระเข้าฝั่งได้เลย

3.ความอันตรายของการจมน้ำนั้นมีอีกหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ต่อให้เรามีทักษะ ร่างกายแข็งแรง ก็ยังจำเป็นที่ต้องประเมินความลึก ความแรงของกระแสน้ำ คลื่น อุณหภูมิ ทัศนวิสัย

ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องลงไปช่วย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ก็ได้แนะนำว่า ห้ามให้คนตกน้ำสัมผัสคนช่วยเหลือ โดยคนที่ลงไปช่วยควรลงไปต่อเมื่อมีอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ติดตัวไปด้วยและใช้อุปกรณ์นั้นโยนให้คนตกน้ำจับ

โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ก็ได้ให้คำแนะนำว่า การกระโดดลงน้ำไปช่วยนั้น เป็นวิธีการที่ต้องพึงระวังอย่างมาก และผู้ช่วยเหลือต้องมีประสบการณ์ เพราะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยวิธีนี้ ซึ่งคำแนะนำในการให้ความช่วยเหลือมีหลักง่ายๆ 4 วิธี คือ “ยื่น โยน พาย ลาก”

-ยื่นอุปกรณ์ให้จับไม่ว่าจะไม้ เข็มขัด เสื้อ

-โยนสิ่งที่ลอยน้ำให้เกาะ เช่น ถังพลาสติก ห่วง/เสื้อชูชีพ

-พาย ใช้พาหนะลอยน้ำไปรับ

-ลาก โยนเชือกให้เกาะแล้วดึงเข้ามา

และอีกสิ่งสำคัญนั่นก็คือการตะโกน/โทรให้คนช่วย

ในรายงานสถานการณ์การจมน้ำขององค์การอนามัยโลก มีรายงานว่าทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำมากถึง 372,000 คน ดังนั้นเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐที่จะรณรงค์ สถานศึกษามีการเรียนการสอนการเอาตัวรอดเมื่อจมน้ำ การดูแลของผู้ปกครอง สื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นการทำละคร/ภาพยนต์/รายการควรให้ความรู้ตรงตามหลักวิชาการ และที่สำคัญก็คือการดูแลตนเอง ปฏิบัติตามกฏความปลอดภัยทางน้ำอย่างเคร่งครัด

สุดท้ายขอแสดงความเสียใจแก่ผู้สูญเสียทุกคนนะครับ

โค้ชเป้ง

ปล.ในโพสต์นี้ประเด็นหลักพูดถึงเรื่องความปลอดภัยในการช่วยเหลือคนตกน้ำในกรณีโดดลงน้ำไปช่วย ส่วนเรื่องคนบนเรือในเหตุการณ์คุณแตงโมเสียชีวิตได้กระทำการสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่ ทำไมไม่โยนชูชีพไปช่วย ทำไมไม่ใส่ชูชีพแล้วกระโดดตามลงไป ผมขอไม่กล่าวถึงเพราะผู้อยู่ในเหตุการณ์ให้สัมภาษณ์แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน สรุปว่ารู้หรือไม่รู้ว่าตกน้ำ เรือขับเร็วขับช้า ฯ คงต้องปล่อยเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่นะครับ

*ที่เขียนบทความนี้เพราะผมกังวลว่าจะกลายเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าคนตกน้ำ ควรกระโดดลงไปช่วย หรือ ถ้ามีคนตกน้ำแล้วไม่กระโดดลงไปช่วย(ในกรณีไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว) คนที่อยู่บนฝั่งจะเป็นคนผิด จะต้องมีความรู้สึกผิดติดตัวตลอดไป ฯ

ผมชื่นชมพี่หนุ่มกรรชัยเสมอมาครับ หลายคนทักมาว่าอาจจะเป็นแค่คำเปรียบเปรย แต่ต่อให้เป็นแค่คำเปรียบเปรย แต่ถ้าคำนั้นสร้างผลกระทบ(ไลฟ์คนดูเป็นล้าน) ผมว่ามันก็ควรจะแก้ไขหรือได้รับการท้วงติงนะครับ

ปล. พี่หนุ่มกรรชัยได้อ่านแล้ว และได้มาคอมเมนท์ใต้โพสต์นี้นะครับ

อ้างอิง

*HOW TO CARRY OUT A RESCUE SAFELY ; royallifesaving

*Near drowning: Everything you need to know from symptoms to prevention ; .healthing.ca

*แนวทางการช่วยเหลือคนตกน้ำ ; สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

*คนตกน้ำ จมน้ำ การช่วยเหลือและปฐมพยาบาล ; กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

"หนุ่มกรรชัย"โผล่ขอโทษโค้ชเป้งทันที ปมเปรียบเปรยไม่ไตร่ตรอง ประเด็นแตงโม

ที่เขียนบทความนี้เพราะผมกังวลว่าจะกลายเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าคนตกน้ำ ควรกระโดดลงไปช่วย หรือ ถ้ามีคนตกน้ำแล้วไม่กระโดดลงไปช่วย(ในกรณีไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว) คนที่อยู่บนฝั่งจะเป็นคนผิด จะต้องมีความรู้สึกผิดติดตัวตลอดไป ฯ

ผมชื่นชมพี่หนุ่มกรรชัยเสมอมาครับ หลายคนทักมาว่าอาจจะเป็นแค่คำเปรียบเปรย แต่ต่อให้เป็นแค่คำเปรียบเปรย แต่ถ้าคำนั้นสร้างผลกระทบ(ไลฟ์คนดูเป็นล้านนะครับ) ผมว่ามันก็ควรจะแก้ไขหรือได้รับการท้วงติงนะครับ

"หนุ่มกรรชัย"โผล่ขอโทษโค้ชเป้งทันที ปมเปรียบเปรยไม่ไตร่ตรอง ประเด็นแตงโม

โดยหลังจากโพสต์ลงไปนั้น หนุ่ม กรรชัย ได้เข้ามาตอบว่า 

ต้องกราบขออภัยครับ ที่ผมใช้คำเปรียบเปรยโดยไม่ไตร่ตรอง จนอาจนำไปซึ่งการทำให้คนอื่นทำตามสิ่งที่ผมพูดไปได้ ขอบคุณมากครับสำหรับคำชี้แนะและติติงจากโค้ช ผมจะนำไปปรับปรุงใช้ในการดำเนินรายการต่อไปครับ

"หนุ่มกรรชัย"โผล่ขอโทษโค้ชเป้งทันที ปมเปรียบเปรยไม่ไตร่ตรอง ประเด็นแตงโม