- 15 พ.ย. 2566
เจาะลึก "กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียน" ในพระเจ้าท้ายสระ ฝ่าฝืนมีโทษ บ้างบอกว่าจะเก็บไว้คนเดียวแต่นักวิชาการบางท่านเห็นต่าง
เป็นอีกประเด็นที่แฟนละครพรหมลิขิต พูดถึงกันอย่างล้นหลามกับเหตุการณ์ใน "พรหมลิขิตEP.12" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมากับ กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียน ที่ขุนหลวงท้ายสระปรึกษากับเหล่าสหาย ทำเอาหลายๆคนสงสัยว่าเรื่องนี้เป็นจริงหรือไม่ อย่างไร
ทั้งนี้จากข้อมูลที่สืบค้น พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ได้ระบุไว้ว่า "ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประพฤติเหตุในอโนดัปปธรรม แล้วเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้ามมิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้นเป็นเงินตรา 5 ตำลึง"
ซึ่งจากเรื่องนี้ทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมา มีคนหลายคนตีความว่าพระองค์ทรงจะเก็บไว้เสวยแต่เพียงผู้เดียวเพราะเป็นอาหารที่ทรงโปรดเสวยอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการบางท่านได้ออกมาโต้แย้งเรื่องนี้ว่าอาจจะไม่เป็นความจริง หรือเป็นข่าวปลอมในสมัยอยุธยา เพราะสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โปรดเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ซึ่งอยู่ในสระน้ำท้ายวังเป็นประจำ เพื่อพักผ่อนพระอิริยาบท และชื่นชมกับปลาแปลกๆ และสวยงาม เช่น ปลาหน้าคน ปลาตะเพียนทอง ที่สั่งห้ามนั้นอาจไม่ใช่เพราะอยากเก็บไว้คนเดียวแต่คาดว่าทรงมีพระราชดำริที่จะอนุรักษ์ปลาสวยงามนี้ไว้มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตามในสมัยนี้กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียนของพระเจ้าท้ายสระก็ไม่ได้ถูกบังคับใช้ต่อมาแต่อย่างใด ปลาตะเพียนยังเป็นทั้งปลาสวยงามที่คนนิยมเลี้ยงและเป็นเมนูอาหารที่คนไทยกินได้ทั่วไป
ขอบคุณ วิกิพีเดีย