- 24 ธ.ค. 2565
อู๋ - ธรรพ์ณธร ควง ครูเก๋า-กรวิวรรณ์ แจ้งความกองปราบ เอาผิดร้านออนไลน์ ขายหมวก "ฉ้อโกงประชาชน" มีประชาชนโดนหลอกเป็นจำนวนมาก
24ธ.ค.65 ศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชากลางตำรวจสอบสวนกลาง นาย ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา หรือ "อู๋ ธรรพ์ณธร" นักร้องดัง และ นางสาว กรวิวรรณ์ ศรีพันธุ์ หรือ “ครูเก๋า-กรวิวรรณ์” (ภรรยา) พร้อมทนาย ได้เดินทางเข้าแจ้งความ ต่อพนักงานสอบสวน กองปราบ พหลโยธิน กรณีสั่งซื้อหมวกจากร้านออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก ในราคา 1,500 บาท แต่พอโอนเงินไปแล้วกลับไม่ส่งของ จึงมาแจ้งความเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์แก่สังคม เนื่องจากมีประชาชนโดนหลอกเป็นจำนวนมาก
โดย “อู๋ - ธรรพ์ณธร” กล่าวว่า ในช่วงภาวะโควิดระบาด ตนจึงเข้าไปช็อปปิ้งออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไปสัมผัสกับโรค ประกอบกับในช่วงเวลานั้น ไปถูกใจหมวกปานามามือสองจากเพจเฟซบุ๊คเพจหนึ่ง จึงตัดสินใจสั่งซื้อในราคา 1,500 บาทโดยตนโอนเงินไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่ายมา 3 วันผ่านไป ตนยังไม่ได้รับหมวกดังกล่าว จึงได้สอบถามไปยังแอดมินเพจดังกล่าว
ซึ่งเจ้าตัวยังคงยืนยันว่ามีสินค้าและจะส่งให้ตน แต่จนถึงขนาดนี้ยังไม่ได้รับ ล่าสุดไปเช็คในเพจเมื่อวานนี้ พบว่าตนถูกบล๊อคช่องทางการติดต่อสื่อสารทั้งหมด จึงเข้าไปสืบประวัติของเพจนี้ พบว่าเป็นมีลูกค้ารายอื่น ๆ ถูกหลอกในลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก ถึงแม้มูลค่าความเสียหายของแต่ละคนมีไม่มาก แต่เมื่อนำมารวมกัน พบว่ามีมูลค่าสูงพอสมควร
ดังนั้น ตนจึงมาแจ้งความเพื่อพิทักษ์สิทธิ เมื่อเจ้าของเพจดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพ และอยากเรียกร้องให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อออกมาแสดงตัวและแจ้วความดำเนินคดีททำให้เป็นคดีตัวอย่าง เพราะมันไม่ควรเกิดเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ เราอยู่ในสังคมเดียวกันก็ไม่ควรเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ต้องมีความซื่อสัตย์ระหว่างกัน อีกทั้งในยุคข้าวยากหมากแพง เงินแพง 1,500 บาท หรือ 100 บาท ก็มีความสำคัญต่อเจ้าของเงิน
นอกจากนี้ อู๋ ธรรพ์ณธร ยังกล่าวติดตลกอีกว่า ที่ร้ายแรงและสำคัญที่สุดจึงมาแจ้งความ เนื่องจากเสียฟอร์มที่ถูกครูเก๋า-กรวิวรรณ์ ภรรยาของตนบ่นตลอดที่เสียเงินโดยไม่ได้สินค้า ขณะที่ครูเก๋า กรวิวรรณ์ ภรรยาของอู๋ ธรรพ์ณธร หัวเราะทันทีที่สามีแซวตนต่อหน้านักข่าว
ด้านนายพรศักดิ์ วิภาสอาภานนท์ ทนายความที่ปรึกษาคดีแก่อู๋ กล่าวว่า จากพฤติการณ์ของแอดมินเพจนี้ เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน เนื่องจากมีการโฆษณาชักชวนซื้อขายสินค้า มีการรับโอนเงินจากลูกค้าโดยไม่ส่งสินค้าให้ ประกอบกับมีการบล๊อคช่องทางการสื่อสารปิดเพจหนี ซึ่งเจตนาชัดเจนว่าต้องการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จึงเข้าองค์ประกอบความผิดคดีฉ้อโกงประชาชนทันที
แม้ขณะนี้มีผู้เสียหายแค่คนเดียวมาแจ้งความก็ตาม พร้อมฝากทิ้งท้ายถึงบรรดาผู้ประกอบการขายของทางออนไลน์ว่าขอให้มีความซื่อสัตย์สุจริต อย่าฉวยโอกาสในการเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนเช่นนี้ อยากให้คดีนี้เป็นคดีตัวอย่าง ถึงแม้จะสามารถจับกุมมิจฉาชีพได้ 1 รายแต่อย่างน้อยก็สามารถทำให้สังคมสงบสุขได้
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม thainews