ทำความรู้จัก "มาลาล่า" หญิงสาวที่ "แอนโทเนีย โพซิ้ว" ตอบ ในคำถาม 3 คนสุดท้าย

ทำความรู้จัก "มาลาล่า" หญิงสาวที่ "แอนโทเนีย โพซิ้ว" เลือกที่จะตอบ ในช่วงคำถาม 3 คนสุดท้าย ก่อนคว้ารองอันดับ 1 มิสยูนิเวิร์ส 2023

ไม่มีใครเผื่อใจเลยจริงๆ ในการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2023 หรือ MissUniverse 2023 ครั้งที่ 72 ณ ประเทศเอลซัลวาดอร์ หลังจากที่ "แอน แอนโทเนีย โพซิ้ว" คว้ารางวัลรองอันดับที่ 1 ในการประกวดนางงามจักรวาล 2023 ส่วนคนมงปีนี้คือ ซีนนิส ปาลาเซียส (Sheynnis Palacios) จากประเทศนิการากัว

 

ทำความรู้จัก \"มาลาล่า\" หญิงสาวที่ \"แอนโทเนีย โพซิ้ว\" ตอบ ในคำถาม 3 คนสุดท้าย

 

โดย ในรอบตอบคำถาม "แอนโทเนีย โพซิ้ว" ได้คำถามที่ว่า "ถ้าคุณสามารถเป็นผู้หญิงคนอื่นได้ 1 คน อยากจะเป็นใคร เพราะอะไร" 

ทำความรู้จัก \"มาลาล่า\" หญิงสาวที่ \"แอนโทเนีย โพซิ้ว\" ตอบ ในคำถาม 3 คนสุดท้าย


ด้าน แอนโทเนีย โพซิ้ว ตอบว่า "ฉันอยากจะเป็น มาลาล่า สาวน้อยชาวปากีสถาน เพราะฉันรู้ว่าเธอต้องฝ่าฟันอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้กับสิ่งที่เธอเป็นในปัจจุบัน เธอต่อสู้เพื่อการศึกษาของผู้หญิง เธอต่อสู้เพื่อที่จะให้ผู้หญิงยืนหยัดได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำได้ ถ้าฉันจะเลือกก็จะเลือกคนนี้"

 

ทำความรู้จัก \"มาลาล่า\" หญิงสาวที่ \"แอนโทเนีย โพซิ้ว\" ตอบ ในคำถาม 3 คนสุดท้าย
สำหรับ มาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) สาวน้อยชาวปากีสถาน ปัจจุบันอายุ 21 ปี ที่ต่อสู่เพื่อการศึกษาจากกลุ่มก่อการร้ายตาลีบัน จนในที่สุดเธอก็ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (จากการต่อสู้เพื่อสิทธิทางการศึกษาของเด็ก) ในปี ค.ศ. 2014 ด้วยวัยเพียง 17 ปี (ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก)

 


ตอนที่เธอมีอายุ 11-12 ปี เธอได้เขียนบอกเล่าเรื่องราวของเธอลงในบล็อกของสื่อชื่อดังแห่งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายตาลีบันได้เข้ามามีอิทธิพลในปากีสถาน และบังคับไม่ให้เด็กผู้หญิงทุกคนได้เรียนหนังสือ เธอได้รณรงค์ให้เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษา 
 

Malala Yousafzai

 

จนกลายเป็นคนดังไปทั่วโลกจากสื่อต่างๆ เป็นเหตุให้กลุ่มตาลีบันไม่พอใจและได้ขู่ให้เธอหยุดต่อต้านและเลิกเรียนหนังสือหลายต่อหลายครั้ง เมื่อเธอไม่ยอมทำตาม กลุ่มผู้ก่อการร้ายจึงได้ทำการลอบสังหารเธอ เธอถูกส่งตัวไปรักษาอาการที่ประเทศอังกฤษ และใช้เวลาเยียวยาร่างกายและจิตใจอยู่นาน ในที่สุดเธอก็หายดีและเหมือนได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

 


ต่อมา เธอได้รับเชิญให้ไปพูดในองค์กรสหประชาชาติ โดยมีช่วงหนึ่งกล่าวไว้ว่า “โปรดให้เราได้อ่านได้เขียน เพราะมันคืออาวุธที่ทรงพลังที่สุด เด็ก 1 คน คุณครู 1 ท่าน หนังสือ 1 เล่ม และปากกา 1 ด้าม จะสามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้ การศึกษาคือทางออกเดียวเท่านั้น การศึกษาต้องสำคัญเป็นอันดับแรก” หลังกล่าวจบก็ได้รับการยืนปรบมือจากทุกคนในที่ประชุมสหประชาชาติ

Malala Yousafzai


สุดท้ายในปี 2017 สหประชาชาติประกาศให้วันที่ 12 กรกฎาคม เป็นวันมาลาลา (Malala Day) หรือวันเพื่อการศึกษาของเด็กทั่วโลก ซึ่งก็ตรงกับวันเกิดของเธอนั่นเอง และหลังจากที่เธอได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เงินรางวัลทั้งหมดของเธอได้มอบให้แก่องค์กรต่างๆ เพื่อการศึกษา และตอนนี้ชีวิตของเธอก็อยู่เพื่อผู้อื่น เพื่อช่วยรณรงค์เรื่องการศึกษาให้แก่เด็กทั่วโลก

 


ปัจจุบัน เธอกำลังศึกษาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) และก่อตั้งกองทุนมาลาลา (Malala Fund) เพื่อสนับสนุนสิทธิของเด็กหญิงทุกคนให้เข้าถึงคุณภาพการศึกษา เสรีภาพและความปลอดภัยในชีวิต

Malala Yousafzai

ภาพจาก Malala Yousafzai และ Miss Universe Thailand