T-84 "Oplot-M" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

ส่วนประเทศไทยเราเองก็ไม่ได้หยุดนิ่งในการที่จะพัฒนากองทัพ ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศโดยเฉพาะ กับเพื่อนบ้านในภูมิภาค เพื่อสร้างเสถียรภาพ ความมั่นคง ให้กับกองทัพ และประเทศอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เวลานี้เพื่อนบ้านในอาเซียนต่างก็ทำการ เสริมเขียวเล็บทางทหาร กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ล่าสุดเวียดนาม ก็สั่งฝูงบินรบชุดใหม่ พร้อมด้วยเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพ และ ยังบอกว่า ตอนนี้ทุกหน่วยพร้อมรบสูง  ส่วนทางฟิลิปปินส์ เองก็เพิ่งจะมีการผ่านงบประมาณกว่า 63,000 ล้านบาท เพื่อสั่งซื้ออาวุธ ในการที่จะปรับปรุงกองทัพให้อยู่ในสถานะ พร้อมรบเช่นกัน   

ส่วนประเทศไทยเราเองก็ไม่ได้หยุดนิ่งในการที่จะพัฒนากองทัพ ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศโดยเฉพาะ กับเพื่อนบ้านในภูมิภาค เพื่อสร้างเสถียรภาพ ความมั่นคง ให้กับกองทัพ และประเทศอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  วันนี้ จึงจะพาผู้อ่านนั้นไปทำความรู้จัก กับรถถัง รุ่นใหม่ ที่ไทยนั้นสั่งซื้อจาก ทางยูเครน จำนวน  49 คัน มูลค่ากว่า 200 ล้านดอลล่าสหรัฐ  รถถังที่ว่านั่นคือ T-84 โอปล็อต-M นั่นเอง

 

โรงงานมาลีเชฟ   แห่งเมืองคาร์คอฟ   สาธารณรัฐยูเครน   เริ่มเดินเครื่องผลิตรถถัง T-84 "โอปล็อต-M" สำหรับกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่งแล้ว หลังจากเลื่อนมาพักใหญ่ เนื่องจากปัญหากับความไม่พร้อมหลายประการ จนทำให้ต้องเปลี่ยนผู้บริหารโรงงาน ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถจัดส่งให้กองทัพไทยอีก 5 คันภายในสิ้นปีนี้ได้
       
       การเดินสายการผลิตรถถังล็อตใหม่ให้แก่ไทย ยังมีขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนชื่อใหม่ โดยสื่อทางการยูเครนเรียกเสียใหม่เป็น "โอปล็อต-T"   คือ ใช้อักษร T แทนชื่อประเทศไทย ทั้งนี้ก็เพื่อแยกออกจากเวอร์ชั่น M ที่สร้างขึ้นสำหรับกองทัพบกยูเครนนั่นเอง ถึงแม้ว่าทั้งสองเวอร์ชั่นจะเป็นอันเดียวกัน แทบจะไม่มีอุปกรณ์ใด หรือระบบใดๆ แตกต่างกันก็ตาม
       
       
       
T-84 \"Oplot-M\" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

T-84 \"Oplot-M\" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

ในช่วงปลายเดือน ก.ย. ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจยูโคโบรอนพรอม  ที่กำกับดูแลการส่งออกอาวุธของประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า อาจจะส่งรถถังหลักทันสมัยรุ่นนี้ ให้แก่กองทัพไทยได้อีก 5 คันในสิ้นปีนี้ แต่ยังไม่ทันข้ามเดือนต่อมา สื่อของทางการก็ได้ออกข่าวว่า การผลิตที่โรงงานแห่งนี้ยังไม่อาจจะเริ่มขึ้นได้  และ คาดว่าจะเดินเครื่องได้ในเดือน ธ.ค. ซึ่งภาพที่เห็นล่าสุดนี้ น่าจะแสดงให้เห็นการกลับคืนมาผลิตรถถังให้แก่กองทัพบกไทย ได้เป็นปรกติ
              ในเดือน ต.ค.ยูโคโบรอนพรอม นำ Oplot-M ทำสีลายพลางดิจิตอล  คันหนึ่งจากโรงงานมาลีเชฟ ไปแสดงในงานนิทรรศการอาวุธในกรุงเคียฟ   โดยระบุว่า เป็นรถถังคันใหม่ สำหรับกองทัพบกยูเครน และ ไม่ได้กล่าวถึงของกองทัพไทย
       


       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นในเดือน ส.ค.สื่อทางการยูเครน ได้เผยแพร่ข่าวอีกชิ้นหนึ่ง ที่ระบุว่าปีนี้ไม่สามารถส่งรถถังให้แก่ไทยได้ แต่ปีหน้า 2559 จะผลิตให้รวดเดียว 10 คัน ตามสัญญาจัดซื้อจัดหาจำนวนทั้งหมด 49 คันในชุดแรก รวมเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ   อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหารถถังหลัก เพื่อนำเข้าประจำการแทนรุ่นเก่า ที่กองทัพบกไทยทยอยปลดระวาง หลังจากใช้งานมานานเกือบครึ่งศตวรรษ
       
       ช่วง 3 ปีมานี้ยูเครนส่งมอบ Oplot-M ให้ไทยแล้ว 2 ครั้ง ล็อตละ 5 คัน รวมจำนวนทั้งหมด 10 คัน
      

 

 

  รุ่นที่พัฒนามาไกลสุด ของรถถังซีรีส์ T-84 ซึ่งเป็นอีกสายหนึ่งของรถถังหลัก ที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาในยุคสหภาพโซเวียต โดยใช้โรงงานในยูเครนเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุด ลักษณะเด่นชัดที่สุดสังเกตได้จากป้อมปืน ที่ต่างไปจากทั้ง T-62 และ T-72 ซึ่งรุ่นหลังวิวัฒน์มาเป็น T-90 ของรัสเซียในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งระบบอาวุธ เครื่องยนต์ และ ระบบเกราะ และ ระบบป้องกันตนเองต่างๆ
       


       แต่ T-84 "โอปล็อต-M" ก็ยังคงใช้ "เลย์เอ้าต์" รถถังหลักแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคโซเวียต คือ คนนั่งอยู่ส่วนหน้าของตัวรถ คลังแสงกับระบบอาวุธสู้รบ อยู่ส่วนกลางลำ เครื่องยนต์ติดตั้งที่ส่วนท้าย มีพื้นที่สำหรับ 3 คน คือ พลขับนั่งด้านขวา ผู้บังคับรถถังนั่งกลาง กับพลอาวุธอยู่ที่นั่งซ้ายสุด ถึงแม้ว่าในรุ่นใหม่ระบบปืนใหญ่จะป้อนกระสุนเองโดยอัตโนมัติก็ตาม
       
       โอปล็อต-M หรือ Oplot-T ยาวสุด 9.7 เมตร เมื่อวัดในขณะที่ปืนใหญ่ 125 มม.ยื่นเป็นแนวราบตรงสุดออกไปข้างหน้า กว้าง 3.4 ม. โดยไม่นับรวม "สเกิร์ต" หรือ ขุดหุ้มแต่งชั้นนอกที่ถอดออกและติดตั้งใหม่ได้ และ สูง 2.8 เมตร น้ำหนักฟูลโหลด 51 ตัน มีเครื่องยนต์ให้เลือกติดตั้งได้หลายขนาดความจุกระบอกสูบ ซึ่งให้ทั้งแรงบิดและแรงม้าแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน รวมทั้งเครื่องยนต์อีกรุ่นหนึ่ง ที่ดัดแปลงใช้เชื้อเพลิงได้เกือบจะทุกชนิดด้วย

       ปัจจุบันกองทัพบกไทยยังคงเป็นลูกค้าต่างประเทศรายเดียว ของรถถังหลักจากยูเครน
       
      
T-84 \"Oplot-M\" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

T-84 \"Oplot-M\" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

 ในเดือน ส.ค.ขณะโรงงานมาลีเชฟประสบปัญหาหนัก ทั้งเรื่องชิ้่นส่วน นโยบายและเงินทุน นายเปโตร โปโรเชนโก  ประธานาธิบดีแห่งยูเครน ได้ไปเยี่ยมชมที่นั่น และ ได้สั่งให้ระดมทรัพยากร เครื่องจักรเครื่องมือที่จำเป็น สำหรับการผลิตยานหุ้มเกราะหลายรุ่น ในหลายแพล็ตฟอร์ม
              ผู้นำยูเครนยังสั่งการ ให้รัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธยูโคโบรอนพรอม (Ukroboronprom) เร่งทำตลาดรถถังหลักทั้งสองรุ่น ซึ่งได้แก่ T-64BM "บูลัต" (Bulat) และ Oplot-M ที่ผลิตจากโรงานเก่าแก่แห่งนี้เช่นเดียวกัน
       


       แต่ในสายตาของนักวิเคราะห์ด้านกลาโหม ลูกค้าจำนวนมากยังชะลอการจัดหาเอาไว้ อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วง 1-2 ปีนี้ เพื่อรอดูการพัฒนา รพถัง T-14 บนแพล็ตฟอร์มอาร์มาตา (Armata) จากรัสเซีย ซึ่งเป็นการพัฒนาล่าสุดในบรรดารถถังหลักของโลก
       
       บริษัทผู้ผลิตในรัสเซียเปิดเผยก่อนหน้านี้ไม่นานว่า อาจจะส่งออก T-14 ได้ใน ราคาคันล่ะ 4-5 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งเป็นราคาเท่าๆ กับรถถังยูเครน และ ถูกกว่า M1A2 "เอบรามส์" (Abrams) ของสหรัฐอย่างมาก ถูกกว่ารถถังหลักของยุโรปตะวันตกทุกรุ่นราวครึ่งต่อครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรถถังหลักของเยอรมนี ฝรั่งเศส หรือ อังกฤษ
       
       ถ้าหากราคาส่งออกของ T-14 "อาร์มาตา" ลดลงได้ต่ำขนาดนั้น ก็จะเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวง ในการทำตลาดของรถถังยูเครนที่เก่ากว่า และ ยังดูเป็นรองไม่มากก็น้อย ในด้านประสิทธิภาพการรบ


       การเสริมเขี้ยวเล็บของกองทัพ เป็นเรื่องที่จำเป็น ถึงแม้นักวิเคราะห์หลายคนจะมองว่า ไทยเองไม่มีความขัดแย้งกับใครในภูมิภาคไม่จำเป็นที่จะต้องเสริมกำลังอาวุธ มากมายนัก แต่ด้านความมั่นคงและเสถียรภาพของกองทัพแล้ว ต้องทำ เพราะเราไม่รู้ว่า ความขัดแย้งและ สงครามจะเกิดขึ้นเวลาใด


T-84 \"Oplot-M\" เขี้ยวเล็บของกองทัพไทย

 

เรียบเรียงโดย สถาพร เกื้อสกุล
ขอขอบคุณจาก ผู้จัดการออนไลน์ ภาพจาก พันทิพย์ ดอทคอม,