องค์การอนามัยโลก  ให้ไทย ร่วมผลักดันทุกประเทศทั่วโลกมีหลักประกันสุขภาพ

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เมื่อปี 2555 สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 12 ธ.ค. ของทุกปี เป็นวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก เพื่อให้ทั่วโลกเห็

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เมื่อปี 2555 สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 12 ธ.ค. ของทุกปี เป็นวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก เพื่อให้ทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All) โดยสนับสนุนให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเป้าหมายที่ทุกประเทศสามารถบรรลุได้ เป็นการลงทุนที่ฉลาด ซึ่งรัฐทำเพื่อประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ประเด็นการรณรงค์นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ก็จะยกระดับการรณรงค์เพื่อให้ทุกประเทศมุ่งไปสู่ผลสำเร็จของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น ในปี 2556 ที่ใช้การรณรงค์ว่า การลงทุนของรัฐเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ถึง 24% และการลงทุนด้านสุขภาพทุกๆ 1 ดอลลาร์ จะให้ผลตอบแทนกลับคืนมากกว่า 10 เท่า เป็นต้น
       

 


      

 นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สำหรับประเด็นการรณรงค์ในปี 2559 นี้ คือ “Not IF When” คือ จะไม่ใช้คำว่า ถ้ามีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วจะเป็นอย่างไร แต่จะเปลี่ยนเป็น เมื่อไร ที่แต่ละประเทศจะทำให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งนี่เป็นประเด็นของการรณรงค์ในประเทศที่ยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ประเทศไทยนั้นมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากว่า 15 ปีแล้ว และได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติให้เป็นต้นแบบประเทศไม่รวย แต่สามารถทำให้ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพได้ ซึ่งไทยก็เข้าร่วมเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนนานาชาติ เพื่อเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละประเทศนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศตัวเอง
       

 

       “ปีนี้ประเทศไทย โดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ได้รับเชิญจากองค์การอนามัยโลกร่วมประชุม วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก ประจำปี 2559 Act with Ambition ในวันที่ 12 - 13 ธันวาคมนื้ ที่ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะมีการติดตามว่า การลงทุนแต่ละรัฐบาลด้านสุขภาพนั้นให้ความสำคัญต่อการไปสู่เป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าได้อย่างไร การทบทวนวิธีการให้บริการสุขภาพ และการลงทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการสนับสนุนทางการเมืองเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว


เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์