- 03 ก.พ. 2560
แองเจลินา โจลี นักแสดงชื่อดังและทูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าว แองเจลินา โจลี นักแสดงชื่อดังและทูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) แสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส โดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยตรง ว่า การเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาคือการเล่นกับไฟ นักแสดงหญิงเจ้าของรางวัลออสการ์ ในฐานะแม่ของลูก 6 คน ทุกคนล้วนเกิดในต่างแดนและภาคภูมิใจกับความเป็นพลเมืองอเมริกัน เธอเชื่อเรื่องความจำเป็นสำหรับความปลอดภัยของชาติ แต่การตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงไม่ใช่ความกลัว
นักแสดงดังกล่าวเตือนในตอนท้ายว่า การสื่อนัยว่าชาวมุสลิมมีค่าให้ปกป้องน้อย เท่ากับเติมเชื้อลัทธิสุดโต่งในต่างแดน ปีที่แล้ว แองเจลินา โจลี ได้รับรางวัลออสการ์เกียรติยศจากการทำงานเพื่อมนุษยชน เธอเคยไปเยี่ยมค่ายอพยพทั้งในเลบานอน กรีซ พบปะกับครอบครัวผู้หนีภัยสงครามในตะวันออกกลาง
เมื่อปีที่ผ่านมา ทาง แองเจลินา โจลี ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญในระดับสากลเพื่อให้มีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือยับยั้งในการยุติสงครามกลางเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศซีเรีย ที่ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาแปดปีให้เร็วที่สุด และขอให้ปกป้องคุ้มครองประชาชนนับล้านจากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว
แองเจลิน่า ได้ออกมาพูดเช่นนี้เมื่อช่วงที่เธอได้เดินทางไปเยือนสถานที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยที่เลบานอน
สงครามที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 250,000 คน ซึ่งได้ทำให้หนึ่งในสองของชาวซีเรียต้องกลายเป็นผู้อพยพโดยปริยาย และยิ่งไปกว่านั้นเป็นการก่อให้เกิดปัญหาผู้อพยพตามมา ที่ค่อนข้างเลวร้ายที่มีความเรื้อรังในประเทศแถบยุโรป นับตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
อย่างไรก็ตามการอภิปรายเรื่องประเด็นการแสวงหาทางออกในทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องที่กรุงเจนีวา แต่ถึงกระนั้นความหวังในการบรรลุเป้าหมายนั้นยังคงเป็นประโยคคำถามอยู่ดี
“ฉันหวังว่าโลกจะหยุดโจมตีต่อประเทศซีเรีย ปาเลสไตน์และประเทศอื่นๆ ในขณะที่บรรดาฝ่ายการเมืองต่างๆ ยังไม่สามารถบรรลุผลใดๆ ต่อปัญหาดังกล่าว การแก้ไขปัญหาด้านมนุษยชนจะยังคงถูกขับเคลื่อนต่อไปที่จะยังคงมีลมหายใจ” เธอกล่าว
“เราต้องการเห็นผู้นำจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำในการแก้ไขและรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ อะไรบ้างที่พวกเขาสามารถกระทำได้ ที่สามารถช่วยเหลือผู้อพยพได้จำนวนเท่าใดและอย่างไร”
เกี่ยวกับปัญหาคลื่นผู้อพยพที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลไปยังประเทศใกล้เคียงของซีเรีย ที่มีผู้อพยพจำนวนเรือนล้านคน ท่านทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนนี้ได้กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวคงไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาคลื่นผู้อพยพในประเทศยุโรปแต่อย่างใด”
ประเทศตุรกี และเลบานอน ได้ให้การช่วยเหลือค่อนข้างที่จะมาก นับตั้งแต่สี่ถึงแปดล้านคนที่อพยพจากปัญหาความรุนแรงและสงครามกลางเมืองดังกล่าว ซึ่งในจำนวนหนึ่งล้านคนที่ขึ้นทะเบียนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพในประเทศเลบานอนถือเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้อพยพดังกล่าว
“ซึ่งความกดดันที่ยังคงเกิดขึ้นมีมากขึ้นในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ” เธอกล่าว
บรรดาผู้นำของกลุ่มสหภาพยุโรป ที่กำลังกังวลอยู่กับจำนวนคลื่นผู้อพยพที่มีจำนวนมากถึงหนึ่งล้านคนที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาคดังกล่าว ที่มีประชาชากร 500 คน ที่ได้ร่วมกันร่างข้อตกลงกับรัฐบาลตุรกี ที่อาจส่งงบประมาณไปยังอังการาในจำนวนที่มากพอสมควรในการรองรับผู้อพยพ 2-7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรีย
ทางด้านกลุ่มผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในเลบานอนส่วนใหญ่มีสภาพเป็นอยู่ที่แร้นแค้น เป็นการเปิดเผยโดยแองเจลิน่า ซึ่งเป็นทูตสันถวไมตรีแห่งผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ส่วนใหญ่ต้องติดหนี้หลังจากที่เงินที่ติดตัวมาจากซีเรียได้หมดลงไปแล้ว
ซึ่งความขัดแย้งในประเทศซีเรียได้ก่อให้เกิดคลื่นอพยพไปแล้ว 2-4 ล้านคน เด็กๆ ถูกฆ่าตายและได้ถูกชี้นำให้เข้าสู่ในสมรภูมิเพื่อเป็นนักรบ ซึ่งเรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดยองค์กรยูนิเซฟในวงเสวนา ที่แสดงให้เห็นว่าสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรียนั้นได้มีความยืดเยื้อตลอดระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา
เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์