คิดเองไม่เป็น!! สหรัฐฯ คิดจับมือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น แข่งกับยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ของจีน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 20 ก.พ. 61 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ ดิ ออสเตรเลียน ไฟแนนเชียล รีวิว ว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และญี่ปุ่น หารือแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานร่วมในภูมิภาค เพื่อเป็นทางเลือกแข่งกับยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" (One Belt,One Road) มูลค่ากว่าล้านล้านดอลลาร์ของจีน

 

คิดเองไม่เป็น!! สหรัฐฯ คิดจับมือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น แข่งกับยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ของจีน

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สำหรับแผนการร่วมระหว่าง 4 ชาติพันธมิตรยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น โดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการหารือโปรเจ็กต์นี้อย่างจริงจังกับ นายมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนดังกล่าวระบุอีกว่า ขอให้มองโปรเจ็กต์นี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือก มากกว่าจะมองว่าเป็นคู่แข่งกับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน พร้อมกับยกตัวอย่างว่า จีนอาจจะสร้างท่าเรือขึ้นมาแห่งหนึ่งขึ้นมา ซึ่งยังไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ แต่โปรเจ็กต์ของเราอาจช่วยให้มันคุ้มค่าด้วยการสร้างถนนหรือระบบรางเชื่อมท่าเรือดังกล่าว

 

คิดเองไม่เป็น!! สหรัฐฯ คิดจับมือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น แข่งกับยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ของจีน

นายมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

 

ด้านนายโยชิฮิเดะ สุงะ โฆษกคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เผยว่า ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และอินเดีย มีการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันอยู่เสมอ ซึ่งโครงการนี้จะกลายเป็นคู่แข่งกับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนหรือไม่ ยังไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องพูดถึง

 

คิดเองไม่เป็น!! สหรัฐฯ คิดจับมือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น แข่งกับยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ของจีน

นายโยชิฮิเดะ สุงะ โฆษกคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น

สำหรับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน มีการเปิดตัวให้สาธารณชนรู้จักครั้งแรกเมื่อปี 2013 หลังจากที่ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน ได้กล่าวปาฐกถากับนักศึกษามหาวิทยาลัยในคาซักสถาน และยุทธศาสตร์นี้ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้จีนมีบทบาทมากขึ้นในด้านการให้ทุนและก่อสร้างระบบขนส่งเชื่อมต่อการค้าในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ทั้งภาครัฐและเอกชนของจีนต่างเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนยุทธศาสตร์นี้ด้วยการปล่อยกู้และออกไปลงทุนในต่างประเทศ และในช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา จีนได้เสนอแนวคิดขยายยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางให้ครอบคลุมถึงภูมิภาคอาร์กติก เพื่อพัฒนาเส้นทางเดินเรือใหม่ๆ ในน่านน้ำที่ถูกเปิดเนื่องจากอิทธิพลของภาวะโลกร้อนให้กลายเป็นเส้นทางสายไหมขั้วโลก

 

คิดเองไม่เป็น!! สหรัฐฯ คิดจับมือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น แข่งกับยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ของจีน