- 27 เม.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
เชื่อได้เลยว่าเวลานี้ อิหร่าน ไม่ได้เกรงกลัวอิทธิพลของสหรัฐฯ อีกต่อไป และถือความได้เปรียบเสียด้วยซ้ำ เพราะ 6 ประเทศที่ได้ลงนามร่วมกับอิหร่านนั้นส่วนใหญ่คัดการ การดำเนินการของสหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีจีน และ รัสเซีย ที่กระโดดปกป้องสัญญาดังกล่าวแบบสุดตัว
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าติดตาม ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามที่จะยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์ ที่ทางด้านบารัก โอบามา ได้ทำไว้ในช่วงท้ายของการเป็นประธานาธิบดี ภายใต้ข้อตกลง แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ ที่ทางด้านอิหร่าน ได้ทำเอาไว้กับ 6 ชาติมหาอำนาจ คือสหรัฐฯ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร รัสเซีย จีน และเยอรมนี
ซึ่งล่าสุดทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ กำหนดขีดเส้นตายวันที่ 12 พฤษภาคม นี้ที่จะแก้ไขข้อตกลงปี พ.ศ. นิวเคลียร์ของอิหร่าน แลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก อันเป็นผลพวงจากความพยายามอย่างหนักทางการทูตของสหรัฐฯ ยุโรป รัสเซีย และจีน
นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เผยภายหลังการหารือกับนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 เมษายน 2561 ว่า มีความพยายามแทรกแซงระเบียบระหว่างประเทศที่สหประชาชาติสนับสนุน รัสเซียและจีนจะหยุดยั้งความพยายามบ่อนทำลายข้อตกลงเหล่านี้ ซึ่งผ่านเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) โดยจะมีทางด้าน องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ กลุ่มความมั่นคงในภูมิภาค ที่มีรัสเซีย และ จีนนั้นเป็นแกนนำหลัก
โดยทางด้าน นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ยืนยันว่าข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นหนึ่งในความสำเร็จทางการทูตครั้งใหญ่สุด ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ดังนั้นการแก้ไขเอกสารฉบับนี้จึงเป็นสิ่งที่ ไม่อาจยอมรับได้
ในขณะที่รัสเซีย และจีนแสดงเจตจำนงชัดว่าไม่เอาด้วยกับทางด้านสหรัฐฯ ในครั้งนี้ แต่ทว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวต่อเนื่อง ล่าสุดนั้นทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ แถลง ว่าข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นหลักการระหว่างประเทศที่เสื่อมเสียและเลวร้ายซึ่งต้องมีการทบทวนและแก้ไขเนื้อหาอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยผู้นำสหรัฐฯ เสนอเพิ่มการจำกัดการเคลื่อนไหวทางทหารของอิหร่านในภูมิภาคตะวันออกกลาง ต่อสถานการณ์ในซีเรีย และเยเมน ที่ตลอดจนการควบคุมโครงการขีปนาวุธและนิวเคลียร์
การออกมาเคลื่อนไหวของผู้นำสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องแบบนี้ก็ได้สร้าง ความวิตกกังวลอย่างหนักให้แก่ฝ่ายยุโรป และเป็นหนึ่งในจุดประสงค์การเยือนกรุงวอชิงตันของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครอง ผู้นำฝรั่งเศส เพื่อโน้มน้าวให้โดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงอยู่ในสัญญาฉบับนี้ต่อไป โดยทางด้านผู้นำฝรั่งเศสกล่าวว่า เขาและสหรัฐฯ พร้อมจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่กับอิหร่าน ที่มีแนวทางการจัดการกับโครงการนิวเคลียร์ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้แล้วสองผู้นำไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า แนวทางที่ว่านั้นคืออะไร และจะต่อรองกับอิหร่านอย่างไร ในการให้รัฐบาลอิหร่านลดระดับโครงการพัฒนาขีปนาวุธ การเสริมสมรรถภาพแร่ยูเรเนียม และการลดบทบาททางการเมืองในตะวันออกลางหลังจากปี 2568 หรือเมื่อข้อตกลงฉบับปัจจุบันหมดอายุอย่างเป็นทางการ
ขณะที่ก่อนหน้านี้ทางด้านประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานี ผู้นำอิหร่าน ได้พูดถึงเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 โดยเขาได้กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาจะเสียใจ หากถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ และอิหร่านจะตอบโต้หนักกว่าที่คิด ภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
เชื่อได้เลยว่าเวลานี้ อิหร่าน ไม่ได้เกรงกลัวอิทธิพลของสหรัฐฯ อีกต่อไป และถือความได้เปรียบเสียด้วยซ้ำ เพราะ 6 ประเทศที่ได้ลงนามร่วมกับอิหร่านนั้นส่วนใหญ่คัดการ การดำเนินการของสหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีจีน และ รัสเซีย ที่กระโดดปกป้องสัญญาดังกล่าวแบบสุดตัว ดังนั้น วันนี้ อิหร่านถือไพ่เหนือกว่าสหรัฐฯ หลายขุม ต้องดูว่าไพ่ใบสุดท้ายในมือโดนัลด์ ทรัมป์ คืออะไร? ที่จะจัดการอิหร่านให้อยู่หมัด