- 23 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
สำหรับอาการปวดหัว เชื่อว่าแทบทุกคนต้องเป็นกันทั้งนั้น และคงจะเบื่อหน่ายกับอาการนี้ แต่ทั้งนี้การปวดหัวเราต้องคอยเฝ้าสังเกตตัวเราอยู่เสมอ เนื่องากอาจจะร้ายแรงกว่าที่คิด ดังนั้นเราจึงนำข้อมูลดูแลสุขภาพและวิธีแก้มาบอกกัน
ถ้าปวดหัวรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน, อาเจียนมาก, ตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน, ปวดร้าวมาที่แขน, มือ เท้าชาหรืออ่อนแรง, เดินเซ, หรือก้มคอไม่ลง, หรือปวดถี่และแรงขึ้นทุกวัน, หรือปวดติดต่อกันตลอดเวลาเกิน 3 วัน ต้องไปหาหมอโดยเร็ว
แต่ถ้าไม่มีอาการอย่างที่เอ่ยมานั้น ใช้ยาหม่องทานวด. ถ้าไม่หายให้กินยาแก้ปวด ยาแก้ปวด. ถ้าไม่หายใน 1 สัปดาห์ ควรไปหาหมอ.
ถ้าปวดเพราะเครียด ให้รักษาแบบกังวลหรือเครียด กังวลหรือเครียด ส่วนปวดหัวจากลมตะกัง (ไมเกรน) ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่จะเป็นๆ หายๆ ในช่วง อายุ 15-55 ปี. มักเริ่มด้วยอาการตาพร่า เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้, แล้วเริ่มปวดตุบๆ ตรงขมับข้างเดียว หรือ 2 ข้าง, ปวดรุนแรงขึ้นๆ และนาน 4-72 ชั่วโมง โดยมีประวัติเป็นๆ หายๆ เป็นประจำเวลามีสิ่งกระตุ้น. มักเริ่มปวดครั้งแรกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว
สำหรับการรักษาที่ควรปฏิบัติ ให้กิน ยาแก้ปวด ทันทีเมื่อเริ่มมีอาการปวด (หากปล่อยให้ เป็นนานเกินครึ่งชั่วโมง ยาแก้ปวดอาจใช้ไม่ได้ผล). ถ้าเป็นไปได้ หลังกินยาแล้วควรนอนหลับสักตื่น (ถ้าหลับได้จะหายปวด) หรือนั่งพักในห้องสลัวๆ เงียบๆ และอากาศปลอดโปร่ง หายใจเข้าออกแรงๆ ผ่อนคลายอารมณ์สักครู่
ควรหาสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวด (เช่น ถูกแสงแดดหรือแสงจ้าๆ, ใช้สายตาเพ่งมาก, ได้ยินเสียงดัง, ได้กลิ่นฉุนๆ, เหนื่อยเกินไป, นอนไม่พอ, หิวจัด, อากาศร้อนไปหนาว ไป, ใกล้มีประจำเดือน, อารมณ์ขุ่นมัว, กินยาคุมกำเนิด, เหล้า, เบียร์, ไวน์, ช็อกโกแลต, ถั่วต่างๆ, ยานอนหลับ) แล้วหลีกเลี่ยงเสีย จะได้ไม่ปวดบ่อย แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ หรือปวดหัวข้างเดียวที่เพิ่งเป็นในคนอายุมากกว่า 40 ปี ควรไปหาหมอ นกรณีที่เป็นไมเกรนบ่อยๆ หมออาจใช้ยาช่วยป้องกัน เช่น กินยาอะมิทริปไทลีน ขนาด 10 มก. ก่อนนอนทุกคืนอย่างน้อย 3 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูล : doctor.or.th