- 23 ก.ย. 2563
สืบเนื่องจากกกรณีที่เมื่อวันจันทร์ (21 ก.ย.63) ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ช้างหลายร้อยตัวบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกได้ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก แม่น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ในเขตของประเทศบอตสวานา แอฟริกาใต้
สืบเนื่องจากกกรณีที่เมื่อวันจันทร์ (21 ก.ย.63) ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ช้างหลายร้อยตัวบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกได้ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก แม่น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ในเขตของประเทศบอตสวานา แอฟริกาใต้
ล่าสุด มาดิ รูเบน หัวหน้ากลุ่มงานสัตวแพทย์ของกรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ (DWNP) ประเทศบอตสวานารายงานว่า ไซยาโนแบคทีเรียในน้ำเป็นสาเหตุการตายปริศนาของช้างหลายร้อยตัวบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
โดย มาดิ รูเบน กล่าวว่าเจ้าหน้าที่พบว่านิวโรท็อกซิน หรือสารที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท ที่สร้างขึ้นโดยไซยาโนแบคทีเรีย หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของช้าง 330 ตัว หลังทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านในแอฟริกาใต้ ซิมบับเว สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
“การตายของพวกช้างมีที่มาจากพิษอันเกิดจากไซยาโนแบคทีเรียที่เติบโตในแอ่งน้ำ” รูเบนยังให้ข้อมูลว่ารายงานพบว่าการล้มตายของช้างสิ้นลงช่วงปลายเดือนมิถุนายนปี 2020 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่แอ่งน้ำเหล่านี้เหือดแห้งไป
ซีริล เทาโล รองอธิบดีกรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตัดความเป็นไปได้ที่ประเด็นนี้จะมีสาเหตุมาจากโรคแอนแทรกซ์และการกระทำของมนุษย์ออกไป “เราไม่สามารถพูดได้ว่าการกระทำของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้” เทาโลกล่าว
ปัจจุบัน บอตสวานามีประชากรช้างประมาณ 130,000 ตัว โดยทางการจะศึกษาหาสาเหตุการเกิดแบคทีเรียต่อไป
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล