- 12 ม.ค. 2564
ล่วงเลยมานานกว่าขวบปีแล้วสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกที่ต้องต่อสู้กับเจ้าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด 19 ที่กระจายไปทั่วโลก และได้กลายพันธุ์ทวีความน่ากลัวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งความหนึ่งหนึ่งเดียวที่จะอยู่รอดของมวลมนุษยชาติก็คือวัคซีนป้องกันโควิดที่หลายๆ ประเทศได้คิดค้นจนสำเร็จ
ล่วงเลยมานานกว่าขวบปีแล้วสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกที่ต้องต่อสู้กับเจ้าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด 19 ที่กระจายไปทั่วโลก และได้กลายพันธุ์ทวีความน่ากลัวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งความหนึ่งหนึ่งเดียวที่จะอยู่รอดของมวลมนุษยชาติก็คือวัคซีนป้องกันโควิดที่หลายๆ ประเทศได้คิดค้นจนสำเร็จ
โดยเจ้าวัคซีนที่ว่านี้มีหลากหลายบริษัทได้ผลิตจนสำเร็จและกว่า 30 ประเทศได้เริ่มต้นฉีดวัคซีนให้คนในประเทศแล้ว ซึ่งสหราชอาณาจักรกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่เริ่มการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศ และหลังจากนั้นก็มีอีกหลายประเทศเริ่มการฉีดวัคซีน นี่คือรายชื่อประเทศที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนของตัวเองเป็นที่เรียบร้อย
อ่านข่าว - เปิดรายชื่อกว่า 30 ประเทศทั่วโลกที่มีวัคซีนโควิด 19 ใช้แล้ว
ก่อนหน้านี้ ทางเพจ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า "วัคซีนป้องกันโควิด-19 ล็อตแรก ก.พ. นี้ จะฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนี้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ส ได้รายงานผลทดลองทางคลินิกของวัคซีนต้านโควิด-19 โคโรนาแวค (CoronaVac) โดยบริษัทซิโนแวค (Sinovac) บริษัทด้านชีวเวชภัณฑ์ของจีน ซึ่งทำการทดลองระยะท้ายในประเทศบราซิล พบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีน นั้นน้อยกว่า 60%
โดยรอยเตอร์ส ระบุว่าสำนักข่าว UOL สื่อท้องถิ่นของบราซิล เป็นผู้เปิดเผยรายงานผลทดลองดังกล่าว โดยอ้างข้อมูลจาก 2 บุคคลที่เห็นผลการทดลอง ซึ่งชี้ว่าประสิทธิภาพวัคซีนโคโรนาแวค นั้นอยู่ที่ราว 50% ถึง 60%
ด้านศูนย์ชีวการแพทย์ สถาบันบูตันตัน ในนครเซาเปาโล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Sinovac ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในบราซิล เตรียมที่จะเปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนในวันนี้ (12 มกราคม) ก่อนขออนุมัติการใช้งานในกรณีฉุกเฉินจากหน่วยงานกำกับดูแลวัคซีนของบราซิล
ขณะที่ ก่อนหน้านี้ Sinovac เคยเปิดเผยผลทดลองขั้นต้น จากการทดลองวัคซีนโคโรนาแวค ในคนที่ประเทศตุรกี พบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อได้สูงถึง 91.25%
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น เพิ่งดำเนินการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ในระยะเร่งด่วนจากซิโนแวค เป็นจำนวน 2 ล้านโดส วงเงิน 1,228 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้รับล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
>>Lazada ดีลสุดพิเศษ สนใจคลิก<<