นักวิทย์ฯ พบเชื้อไวรัสโบราณถูกฝังตัวในธารน้ำแข็งทิเบต อายุ 15,000 ปี

ทีมนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ พบเชื้อไวรัสโบราณที่ยังไม่รู้จักอย่างน้อย 28 ชนิด ถูกฝังอยู่ในธารน้ำแข็งทิเบต อายุ 15,000 ปี

ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ และนักจุลชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ได้มีการเจาะทำการศึกษาแกนน้ำแข็งกูลิยา (Guliya) บนที่ราบสูงทิเบตของจีนอายุกว่า 15,500 ปี พบยีนของไวรัสทั้งหมด 33 ชนิดโดย 4 ชนิดเป็นไวรัสที่เคยค้นพบมาก่อนแล้ว และอีก 28 ชนิดเป็นไวรัสพันธุ์ใหม่ไม่เป็นที่รู้จักหรือเคยค้นพบมาก่อนแต่อย่างใด

นักวิทย์ฯ พบเชื้อไวรัสโบราณถูกฝังตัวในธารน้ำแข็งทิเบต อายุ 15,000 ปี

 

โปรโมชั่นลาซาด้า

 

โดย ดร.จื้อผิงจง หัวหน้านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ได้วิเคราะห์แกนน้ำแข็ง 2 ตัวอย่างที่ถูกเก็บตัวอย่างมาจากยอดเขากูลิยาบนที่ราบสูงทิเบตทางตะวันตกของจีน ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 6,705 เมตร โดยใช้วิธีที่ปราศจากเชื้อโรคในการวิเคราะห์แบคทีเรียและไวรัสที่อยู่ในแกนน้ำแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ธารน้ำแข็งเหล่านี้ค่อยๆก่อตัวขึ้นรวมกับฝุ่นและแก๊ส รวมทั้งไวรัส และจุลินทรีย์หลายๆ ตัวก็ทับถมอยู่ภายใต้น้ำแข็งนี้ตามระยะเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าครึ่งหนึ่งของไวรัสที่พบสามารถมีชีวิตรอดจากการมีอยู่ของน้ำแข็ง และน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากในดินหรือพืช มากกว่าจะมาจากสัตว์หรือมนุษย์

ธารน้ำแข็งทิเบต

พวกเขายังระบุอีกว่า สำหรับน้ำแข็งที่เก็บตัวอย่างมานี้ มีอายุอย่างน้อย 14,400 ปี โดยทราบจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และดั้งเดิมผสมผสานกัน เพื่อคำนวณอายุแกนน้ำแข็งนี้ ซึ่งแกนน้ำแข็งดังกล่าวมีขนาด 1,017 ฟุต (310 เมตร) จากนั้นจึงตัดเป็นท่อน ๆ ยาว 3 ฟุต (0.9 เมตร) และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว

ขณะที่ ลอนนี ทอมป์สัน ผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้ ระบุว่า น้ำแข็งเปรียบเสมือนคลังของแช่แข็งเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งต่างๆ ไว้ แม้ในเวลานี้จะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับไวรัสที่สะสมในธารน้ำแข็ง เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องหรือสนใจเกี่ยวกับไวรัสในธารน้ำแข็งมากนัก แต่ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก ทำให้การศึกษาไวรัสที่ถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะหากวันใดน้ำแข็งทั่วโลกละลายขึ้นมา ก็จะได้มั่นใจว่าไม่มีไวรัสหรือโรคปะปนมากับน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งเหล่านี้

 

ขอบคุณ cnn , sci-news

 

โปรโมชั่นลาซาด้า