จับตา ผู้นำตุรกีประกาศกร้าว หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน

ประธานาธิบดีตุรกีเดือด ประกาศกร้าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่ด้านนอกสถานทูตตุรกีในสวีเดน

จับตา ผู้นำตุรกีประกาศกร้าว หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน คุกรุ่นอย่างหนัก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอานในสวีเดนเมื่อหลายวันก่อน ล่าสุดมีรายงานว่า ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน ผู้นำตุรกี แสดงความเห็นครั้งแรกต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "ประเทศใดที่อนุญาตให้เกิดการดูหมิ่นศาสนาที่หน้าสถานทูตของเรา อย่าได้คาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากเราให้เข้าเป็นสมาชิกนาโต"

จับตา ผู้นำตุรกีประกาศกร้าว หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน

และบอกด้วยว่า หากไม่เคารพความเชื่อทางศาสนาของตุรกีหรือชาวมุสลิม ก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี และเปรียบเทียบว่า การเผาอัลกุรอานเท่ากับการทำร้ายต่อพลเมืองตุรกีทั้ง 85 ล้านคน  

 


ตามรายงานระบุว่า คำเตือนจากผู้นำตุรกีมีขึ้นหลังจากหัวหน้าพรรคการเมืองขวาจัดจากเดนมาร์ก ซึ่งตัวเขาถือสัญชาติสวีเดนด้วย ก่อเหตุเผาคัมภีร์อัลอุรอานระหว่างการประท้วงที่ด้านนอกสถานทูตตุรกีในกรุงสต็อกโฮล์มเมื่อวันเสาร์ ซึ่งเป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากตำรวจสวีเดน

 


โดย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจุดกระแสความโกรธแค้นแก่ชาวมุสลิมทั่วตะวันออกกลาง ทำให้มีผู้ประท้วงออกมาชุมนุมชูคัมภีร์อัลกุรอาน ตะโกนสรรเสริญพระเจ้า หรือ เผาธงชาติสวีเดนทั้งในตุรกีและอีกหลายประเทศ เช่น จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย และคูเวต

 

จับตา ผู้นำตุรกีประกาศกร้าว หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน  

ทั้งนี้ ตุรกีและฮังการีเป็น สมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) เพียง 2 ชาติที่ยังไม่ให้สัตยาบันรับรองสวีเดนและฟินแลนด์เข้าเป็นชาติสมาชิก แต่ต่อมานายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ของฮังการี ให้คำมั่นว่า รัฐสภาจะโหวตรับรองทั้งสองประเทศในเดือนหน้า


ขณะที่ผู้นำตุรกี ซึ่งกำลังเตรียมสู้ศึกเลือกตั้งทั่วไปในปลายปีนี้ จึงยังคงแสดงจุดยืนแข็งกร้าวเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากฐานเสียงที่มีแนวคิดชาตินิยม และที่ผ่านมาเขาเสนอเงื่อนไขที่ทำได้ยากแก่สวีเดน เช่น ข้อเรียกร้องให้ส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวเคิร์ดหลายสิบคน ที่ถูกตั้งข้อหา “ก่อการร้าย” หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี 2559 ให้กับตุรกี


และสวีเดนพยายามตอบสนองเงื่อนไข โดยแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้สามารถผ่านกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่เข้มงวดขึ้น แต่บรรยากาศตึงเครียดขึ้นเมื่อเกิดเหตุกลุ่มชาวเคิร์ดแขวนหุ่นจำลองของประธานาธิบดีแอร์โดอันกับโคมไฟถนนแบบห้อยหัวลงที่ด้านนอกศาลาว่าการกรุงสต็อกโฮล์มเมื่อวันที่ 11 ม.ค.

 


อย่างไรก็ตาม ตุรกีเรียกเอกอัครราชทูตสวีเดนเข้าพบ และยกเลิกคำเชิญให้ประธานรัฐสภาสวีเดนเยือนกรุงอังการาเพื่อเป็นการตอบโต้กรณีการเผาหุ่นจำลอง และหลังจากเกิดเหตุเผาคัมภีร์ รัฐมนตรีกลาโหมตุรกีก็ยกเลิกการพบปะกับรัฐมนตรีกลาโหมสวีเดนที่กรุงอังการาในวันที่ 27 ม.ค.

จับตา ผู้นำตุรกีประกาศกร้าว หลังเกิดเหตุการณ์เผาคัมภีร์อัลกุรอาน

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline