- 20 พ.ค. 2566
เจ้าของบ้านระทึก งูเห่าเผือก เลื้อยเข้ามาในบ้าน โผล่ชูคอขู่ ใจอ่อนไม่กล้าตีน้อง ต้องโทรตามเจ้าหน้าที่ให้ช่วยจับวุ่น
เจ้าของบ้านระทึก งูเห่าเผือก เลื้อยโผล่ชูคอขู่ กลัวก็กลัว แต่ไม่กล้าตีน้อง : นับว่ากลายเป็นที่ฮือฮาอย่างมากในโลกออนไลน์ ที่ก่อนหน้านี้ ได้แชร์ภาพ "งูเห่าเผือก" โผล่ชูคอที่บ้านหลังหนึ่งในเขตโปนาดรู ของเมืองโคอิมบาร์ทอร์ รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ซึ่งเจ้าของบ้านพบ "งูสีขาว" ขนาดใหญ่ตัวหนึ่งโผล่เข้ามาอยู่ที่บริเวณหน้าบ้าน สร้างความประหลาดใจและตกใจไม่น้อย จึงรีบแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่หน่วยงานคุ้มครองสัตว์ในพื้นที่ให้เข้ามาช่วยเหลือ
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายหลังจากทางเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปยังบ้านหลังดังกล่าว ก็สามารถช่วยจับงูตัวนี้ได้ในที่สุด จากนั้นเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า เป็นงูเห่าเผือกอินเดีย วัยเจริญพันธุ์ มีความยาวถึง 1.5 เมตร โดยงูชนิดนี้เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง และหาพบได้ยากเป็นอย่างยิ่ง พิษของมันสามารถทำให้มนุษย์เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ แต่โดยปกติแล้วพวกมันมักจะหลีกเลี่ยงมนุษย์ เว้นแต่จะถูกคุกคามเสียก่อน
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่องค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ หรือ WNCT ได้เผยแพร่ภาพถ่ายของงูเห่าเผือกตัวดังกล่าว โดยคาดการณ์ว่า มันน่าจะถูกฝนพัดพามา เนื่องจากเมื่อไม่กี่วันก่อนมีฝนตกหนักในพื้นที่ โดยภายหลังจับมันได้สำเร็จ และตรวจเช็กร่างกายว่ามันแข็งแรงดี ก็นำมันไปปล่อยยังพื้นที่ธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะผิดปกติ หรือภาวะผิวเผือกนี้ไม่เป็นผลดีกับสัตว์ เพราะจะทำให้มันตกเป็นผู้ล่าได้ง่าย ดังนั้นสัตว์ผิวเผือกส่วนใหญ่จึงถูกล่าและกำจัดตั้งแต่พวกมันยังเด็ก
เนื่องจาก ภาวะผิวเผือกเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ของยีนที่ไปขัดขวางขัดขวางสร้างเมลานิน ส่วนใหญ่เกิดกับนก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และพบได้น้อยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ม่านตาของสัตว์ผิวเผือกก็จะขาดเม็ดสีด้วยเช่นกัน ดังนั้นดวงตาของพวกมันจึงมีสีชมพูหรือแดง หรืออาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดสนิทได้
อย่างไรก็ตามในวารสารสัตววิทยา (Zoology) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เผยว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะเผือกของสัตว์ โดยนักวิจัยใช้งูปลอมเพื่อทดสอบว่า งูเผือกมีความเสี่ยงที่จะถูกนกล่าสูงกว่างูสีปกติหรือไม่ ซึ่งพบว่า ภาวะเผือกของงูไม่ได้เพิ่มอัตราการล่าของนก โดยคาดว่า สีขาวของงูเผือกอาจทำให้นกเข้าใจว่าเป็นนกไม่ใช่งู เนื่องจากนกจะใช้สีของหนังงูเพื่อระบุเหยื่อของมัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wildlife & Nature Conservation Trust (WNCT)
ข้อมูลจาก Hk01