ผู้ป่วย 4 ราย 'ค่าตับ' พุ่งสูงผิดปกติ ดื่มน้ำชนิดเดียวกัน

ผู้ป่วย 4 ราย "ค่าตับ" พุ่งสูงผิดปกติ หลังดื่มน้ำชนิดเดียวกัน ตับพังไม่ต่างจากดื่มเหล้า โดยคนไข้ดื่ม "ชาสมุนไพรดีท็อกซ์ลำไส้" เพื่อลดน้ำหนัก

ดร.โดอัน เยอ มั๋ญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจและหลอดเลือดนานาชาติ โรงพยาบาลทั่วไปฟองดง ของเวียดนาม เปิดเผยว่า ในวันเดียวกัน เขาพบผู้ป่วยถึง 4 รายที่มีค่าเอนไซม์ตับสูงผิดปกติ โดยทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน "พวกเขาดื่มเครื่องดื่มชนิดเดียวกัน"

ผู้ป่วย 4 ราย \'ค่าตับ\' พุ่งสูงผิดปกติ ดื่มน้ำชนิดเดียวกัน

หนึ่งในผู้ป่วยคือชายวัย 34 ปีจากฮานอย ซึ่งต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการผ่าตัด เมื่อตรวจครั้งแรก ค่าตับยังปกติ แต่เมื่อใกล้ถึงวันผ่าตัด ตรวจซ้ำกลับพบว่าเอนไซม์ตับพุ่งสูงผิดปกติ ทั้งที่เจ้าตัวยืนยันว่าไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือรับประทานยาใด ๆ ที่มีพาราเซตามอล สิ่งเดียวที่เขาดื่มเป็นประจำคือ "ชาสมุนไพร" เพื่อล้างพิษในลำไส้ โดยคนไข้ซื้อชานี้ตามคำแนะนำบนโลกออนไลน์

อีกกรณีเป็นชายวัย 29 ปี ที่ไปตรวจสุขภาพตามปกติแต่กลับพบค่าตับสูงผิดปกติ โดยเขาไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่กำลังดื่ม "ชาสมุนไพรดีท็อกซ์ลำไส้" เพื่อลดน้ำหนัก

ผู้ป่วยรายนี้ เล่าว่า เขาพยายามลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารและออกกำลังกายแต่ไม่ได้ผล จึงหันไปพึ่ง "ชาสมุนไพรดีท็อกซ์ลำไส้" ที่พบในโฆษณาออนไลน์ โดยคิดว่าทำจากสมุนไพรธรรมชาติและปลอดภัย ถึงขั้นดื่มแทนน้ำเปล่าทุกวัน

ผู้ป่วยยังระบุด้วยว่า "ชาสมุนไพร" ช่วยให้เขาลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว

“ผมไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร แต่การดื่มชาลักษณะนี้ทำให้ค่าเอนไซม์ตับพุ่งสูงไม่ต่างจากการดื่มแอลกอฮอล์” ดร.มั๋ญ กล่าว

ตามที่ ดร.มั๋ญ กล่าว มีผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่มาที่คลินิกและพบว่าเอนไซม์ตับสูง ต่างก็บอกว่าพวกเขาดื่ม "ชาสมุนไพรเพื่อล้างพิษลำไส้"

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้หยุดดื่ม "ชาดีท็อกซ์ลำไส้" และนัดหมายเพื่อติดตามการรักษา

ผู้ป่วย 4 ราย \'ค่าตับ\' พุ่งสูงผิดปกติ ดื่มน้ำชนิดเดียวกัน

ไซบูทรามีน อันตรายต่อหัวใจ ถูกแบนทั่วโลก

ไซบูทรามีน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ และยุโรปจึงเลิกใช้สารนี้ในยาลดน้ำหนักไปแล้ว 

นอกจากนี้ สมุนไพรและพืชสมุนไพรหลายชนิดมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อรา ทำให้ต้องใช้สารกันเชื้อราระหว่างกระบวนการผลิต หากใช้ในปริมาณที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ก็ถือว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่หากผู้ผลิตลักลอบใช้สารต้องห้าม อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ดร.มั๋ญ เตือนว่า ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีแหล่งผลิตและส่วนประกอบชัดเจน ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้ามดื่ม "น้ำสมุนไพร" ที่ขายเกลื่อนบนอินเทอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

ผู้ป่วย 4 ราย \'ค่าตับ\' พุ่งสูงผิดปกติ ดื่มน้ำชนิดเดียวกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat