วันนี้ 84 ปีที่แล้ว!! พระยาพหลพลพยุหเสนา “ยึดอำนาจ” พระยามโนฯ นั่งนายกฯ คนที่ 2 ของประเทศ เป็นนายกฯ 5 สมัย ไม่มีแม้แต่เงินเผาศพตัวเอง

วันนี้วันที่ 20 มิถุนายน 2560 ซึ่ง ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 84 ปีที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญกับประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ...

วันนี้วันที่ 20 มิถุนายน 2560 ซึ่ง ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 84 ปีที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญกับประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นก็คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา “ยึดอำนาจ” การบริหารประเทศจาก ทางด้านรัฐบาลพระยามโนปกรณ์

 

วันนี้ 84 ปีที่แล้ว!! พระยาพหลพลพยุหเสนา “ยึดอำนาจ” พระยามโนฯ นั่งนายกฯ คนที่ 2 ของประเทศ เป็นนายกฯ 5 สมัย ไม่มีแม้แต่เงินเผาศพตัวเอง

“ประกาศของผู้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ

ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญโดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนราษฎร แล้วงดใช้รัฐธรรมนูญ คณะทหารบก ทหารเรือ จึงได้ดำเนินการเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ขอประกาศให้ราษฎรประชาชนทั้งหลายอย่ามีความตระหนกตกใจจงช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

คณะนี้ได้จัดการไปแล้วคือ ได้โทรเลขกราบบังคมทูลพระกรุณาไปยังพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว กับได้ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และได้แจ้งให้กระทรวง ทบวงการ ดำเนินราชการไปเช่นเคย ทั้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลรักษาความสงบเรียบร้อยทั่วไปแล้ว

วังปารุสกวัน วันที่ 20 มิถุนายน พุทธศักราช 2476

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม เลขานุการฝ่ายทหารบก
นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย เลขานุการฝ่ายทหารเรือ

ต้นเหตุอันนำไปสู่การปิดสภาของพระยามนโนปกรณ์ฯ มาจากความขัดแย้งภายในสภา หลังหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เสนอ “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” ที่ให้รัฐออกพันธบัตรซื้อที่ดินทำกินทั้งหมด ทำให้ชาวนาชาวไร่มีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐ ซึ่งถูกโจมตีอย่างหนักว่าเป็นการวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบเดียวกับคอมมิวนิสต์ ดังพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ว่า

“โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐ์ฯจะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่าโครงการทั้ง 2 นี้ เหมือนกันหมด”

และในระหว่างการประชุมสภาวันที่ 31 มีนาคม 2475 พระยามโนปกรณ์และพระยาทรงสุรเดชได้อ้างเหตุว่าในการประชุมก่อนหน้านั้นหนึ่งวันมีสมาชิกบางรายพกอาวุธเข้าที่ประชุม จึงนำกำลังทหารประมาณหนึ่งกองร้อยเข้ามาควบคุมการประชุมของสภา ทำให้มีการโจมตีการใช้อำนาจอย่าง “เผด็จการ” ของพระยามโนปกรณ์



วันรุ่งขึ้น (1 เมษายน 2476 ซึ่งขณะนั้นถือเป็นวันขึ้นปีใหม่) รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เข้าลักษณะเป็นการ “รัฐประหาร” ประการหนึ่ง ทำให้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติมาขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจของกษัตริย์ในรูปของพระราชกฤษฎีกา จนทำให้สื่อล้อเลียนว่าเป็นระบอบ “มโนเครซี่”

วันที่ 2 เมษายน รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ โดยไม่ผ่านการพิจารณาของสภา บีบให้หลวงประดิษฐ์ฯ ต้องเดินทางไปต่างประเทศในวันที่ 12 เมษายน

ในช่วงนี้มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจของพระยามโนปกรณ์ถูกสั่งปิดไปหลายสำนัก เช่น กรุงเทพฯวารศัพท์ ด้วยข้อหาเป็นเสี้ยนหนามต่อแผ่นดิน หลักเมือง ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ ตามมาด้วย ประชาชาติ และไทยใหม่

ถึงวันที่ 18 มิถุนายน พระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยอ้างปัญหาสุขภาพ ก่อนที่ในวันที่ 20 มิถุนายน พระยาพหลฯจะนำกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ โดยอ้างว่ามีเหตุผลสำคัญเพื่อ “ให้เปิดสภาผู้แทนราษฎร” เท่านั้น (คำกราบบังคมทูล 20 มิถุนายน 2476 ลงนามโดย พระยาพหลฯ หลวงพิบูลย์สงคราม และหลวงศุภชลาศัย)

 

 

 

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
คนที่ 2 ของประเทศไทย มีนามเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน"
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนคร

การศึกษา

* โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
* โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
* โรงเรียนนายร้อยทหารบก
* พ.ศ. 2446 โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด
ประเทศเยอรมนี
* พ.ศ. 2455 โรงเรียนช่างแสง ประเทศเดนมาร์ก (1 ปีก็ถูกเรียกตัวกลับ
เนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ)

บทบาททางการเมือง

* วันที่ 24มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้า
คณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณา
ญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จนได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษ
ประชาธิปไตย" จากบทบาทที่มีค่อนข้างสูงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เพราะเป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายทหารบก และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตย
ได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของ
พระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ

* วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1
โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

* วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2

* วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3

* พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

* พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง

* วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

* วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5

* วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี

* พ.ศ. 2487 แม้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่ง
สูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่ง
แม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา


เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490
สิริรวมอายุ 60 ปี ท่านมีเงินเหลืออยู่เพียง 177 บาท เท่านั้น รัฐบาลต้อง
เข้ามาช่วยเหลือจัดการศพให้ท่าน


ท่านจึงสมควรได้รับการยกย่องว่า เป็นคนดีศรีสังคมไทย
ที่คนไทยควรทราบและยกย่องท่านอย่างเต็มความภาคภูมิใจ

ที่มา silpa-mag.com