ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

ยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดสำหรับประเด็นร้อน เนื่องจากวันฟังคำพิพากษา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรวันที่ 25 สิงหาคม


สมชาย แสวงการ สมาชิกสนช ได้โพสต์ข้อความระบุว่า


ความจริงที่นักการเมืองบางกลุ่ม นักปลุกระดมมวลชน นักกฎหมายของบางพรรค และทนายความของคุณยิ่งลักษณ์ไม่ยอมบอกประชาชนที่กำลังถูกชักจูงให้เคลื่อนมาให้กำลังใจหรือเพื่อกดดันศาลฎีกาในวันตัดสินคดีจำนำข้าว 25 ส.ค.2560 ว่า

 

"ไม่ว่าคำพิพากษาของศาลจะออกมาเช่นไร ทั้งตัดสินให้จำหรือปรับหรือรอลงอาญาหรืออื่นใด  คุณยิ่งลักษณ์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามรัฐธรรมนูญใหม่และตามพระราชบัญัตติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สนชเพิ่งผ่านออกมาเป็นกฎหมาย คุณยิ่งลักษณ์จึงไม่มีเหตุที่จะถูกขังคุกโดยไม่ได้รับการประกันตัวใดๆหรือจะมีเหตุหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา เพราะกฎหมายและกติกาใหม่ได้เปิดโอกาสอย่างเที่ยงธรรมในการให้ได้อุทธรณ์สู้คดีได้อีกเต็มที่. กระบวนการยุติธรรมให้ความยุติธรรมมากมายขนาดนี้ ยังไม่ถูกใจหรือแกล้งไม่เข้าใจใดๆอีกครับ หรือต้องการหลอกใช้ประชาชนให้ออกหน้ามาติดคุกหรือมาตายแทนเพื่อประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะกลุ่มตระกูลแบบที่เคยทำมาแล้วได้ผลในอดีต."

แต่เชื่อเถอะครับว่า ถ้าพี่น้องประชาชนได้รับคำอธิบายจนเข้าใจในรัฐธรรมนูญมาตรา195 ว่าด้วยการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์และทราบถึงกติกาใหม่ในพรบประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา62,63,64,65 แล้ว จะไม่เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองที่ซ่อนเร้นเจตนาที่ศาลฎีกาในวันดังกล่าว แน่นอน

จากที่หลายคนออกมาคุยโวว่าจะมีมวลชนมาเป็นล้านเป็นสิบล้านนั้น อาจไม่สมหวังสู้นอนดูทีวีให้กำลังใจอยู่ที่บ้านที่ไร่นา แล้วปล่อยให้นักปลุกระดม นักการเมืองที่แค่หวังลงสส และญาติพี่น้องใกล้ชิดสัก10ถึง100คนมาให้กำลังใจกันก็พอแล้วครับ

 ศาลสถิตย์ยุติธรรมและกฎหมายไทยให้ความยุติธรรมเที่ยงตรงมากมายขนาดนี้แล้ว. ยังไม่พออีกเหรอครับ

หลักกฎหมายนั้นจะให้ถูกใจใครทั้งหมดไม่ได้. แต่จะต้องดำรงไว้ซึ่งความถูกต้อง เพื่อประโยชน์สุของสังคมประเทศชาติโดยรวม

หาใช่เฉพาะแค่บางคนบางกลุ่มบางพรรคบางตระกูลเท่านั้นครับ

สมชาย แสวงการ สมาชิกสภานติบัญญัติแห่งชาติ 26 กค60

@ข้อมูลที่ควรอ่านประกอบตามความเห็นข้างต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2560

มาตรา ๑๙๕ ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะ ผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษา อาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง โดยให้เลือกเป็นรายคดี

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

***คําพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษา

***การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามวรรคสี่ ให้ดําเนินการโดยองค์คณะของศาลฎีกา ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซ่ึงดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาซึ่งไม่เคยพิจารณา คดีนั้นมาก่อน และได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจํานวนเก้าคน โดยให้เลือกเป็นรายคดี และเมื่อองค์คณะของศาลฎีกาดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้ว ให้ถือว่าคําวินิจฉัยนั้นเป็นคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

 **หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ตามวรรคสี่ และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคห้า ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง

@พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.

หมวด 6 อุทธรณ์

***มาตรา 62 คำพิพากษาของศาลให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคาพิพากษา

***มาตรา 63ในกรณีที่จาเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์ จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์

***มาตรา 64 คดีที่ไม่มีอุทธรณ์คาพิพากษา ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือ ถือว่าได้อ่านคำพิพากษาของศาล

***มาตรา 65 การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้ดำเนินการโดย องค์คณะของศาลฎีกาซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวนเก้าคน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก จากผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดารงตาแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือ ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณา คดีนั้นมาก่อน

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

 

ความจริงที่ต้องรู้!!!! "สมชาย" ชี้นี่แหละคือสิ่งที่ "ทนายยิ่งลักษณ์"ไม่ยอมบอกประชาชน !?! เชื่อเถอะอ่านแล้วเข้าใจ

อ้างอิงจาก facebook สมชาย แสวงการ