ชาวบ้านแฉ อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัทเดินหน้าโค่

จากกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ลงนามอนุมัติให้ บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2559 ใช้ที่สาธารณะห้วยเม็ก บ้านหนองแต้ หมู่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ 2 งาน เป็นที่กักเก็บน้ำสำหรับโรงงานน้ำดื่มและเครื่องดื่ม ตามหนังสือของมหาดไทย ที่ มท 0208.4/886 ของสำนักกฎหมาย สป. ซึ่ง บริษัทดังกล่าวนั้นเป็นของทายาทตระกูลอยู่วิทยา ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจกระทิงแดง  ซึ่งเรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นเมื่อ มท.1 เซ็นอนุมัติให้กระทิงแดงใช้ที่ดินสาธารณะที่ขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนเพื่อขยายเขตโรงงาน โดยอ้างสภาพแห้งแล้งชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ซึ่งความเป็นจริงแล้วป่าไม่ได้แห้งแล้งตามที่เอกสารระบุทั้งนี้ยังมีชาวบ้านได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในการเก็บของป่าเพื่อดำรงชีวิต

ชาวบ้านแฉ  อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัท

วันที่ 12 ก.ย ทางผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ได้ลงพื้นที่บ้านหนองแต้ หมู่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของป่าชุมชน โดยมีตัวแทนกรรมการหมู่บ้านได้พาชมป่าที่อ้างว่าแห้งแล้งโดยความจริงแล้วสภาพป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาชนิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ประดู่ โดยตัวแทนกรรมการหมู่บ้านได้ให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าวทีนิวส์ว่าหลังจากที่ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่ากำลังจะสูญเสียป่าแห่งนี้ต่างก็ไม่พอใจและเสียดายเพราะเป็นที่รักที่หวงแหนของชาวบ้าน เป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านอีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำ ซึ่งได้รักษามาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ทราบว่าบริษัทของกระทิงแดงขอใช้พื้นที่ตรงนี้ชาวบ้านก็ไม่สบายใจจึงได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐต่างๆทั้ง อบต. อำเภอ จังหวัดตลอดไปจนถึงสำนักนายกฯ เพื่อให้ตรวจสอบแนวเขตที่ชัดเจน และชี้แจงเกี่ยวกับการที่จะยกผืนป่าให้กับบ.กระทิงแดง เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องการทำประชาคม ตัวแทนกรรมการกล่าวว่า ไม่มีการทำประชาคม ไม่ว่าจะเป็นทาง อบต หรือทางอำเภอ มีเพียงก่อนหน้าเมื่อ ปี 58 ทางอบต.ได้ประชุมชาวบ้านในตอนกลางคืนว่าบ.กระทิงแดงจะได้มาก่อสร้างในพื้นที่แต่ไม่ได้แจ้งว่าเป็นพื้นที่ป่าชุมชนห้วยเม็ก โดยได้สอบความเห็นจากชาวบ้านว่าจะขัดขวางหรือจะยอมรับ แต่ไม่ได้บอกถึงผลดีผลเสียให้ชาวบ้านทราบ ซึ่งในตอนนั้นชาวบ้านก็เห็นด้วยเพราะว่าลูกหลานและชาวบ้านจะได้มีงานทำ เพิ่งมาทราบตอนที่บ.กระทิงแดงได้นำเครื่องจักรมาโค่นป่า จึงได้สอบถามไปยังหลายส่วนว่าทางบ.กระทิงแดงได้ขออนุญาตทางจังหวัดและมท.1ได้เซ็นอนอุมัติไปแล้วตามที่เป็นข่าว และจากกระแสข่าวที่ออกมาว่าทางบ.กระทิงแดงได้เช่าพื้นที่ป่าในราคา 32,000 นั้น ตัวแทนกรรมการหมู่บ้านกล่าวว่า เพิ่งทราบจาก อบต.เมื่อวานนี้(11 ก.ย.)ว่าทางอบต.ได้เก็บค่าเช่าจากการเช่าพื้นที่ป่าแห่งนี้ได้ 2 ปี โดยเช่าไร่ละ 1,000 บาทต่อปี ตัวแทนกรรมการหมู่บ้านยังกล่าวต่ออีกว่าตอนนี้ทางชาวบ้านยังรอการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆว่าจะให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านอย่างไรและที่พึ่งที่ดีที่สุดคือทางสื่อเพราะพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นสมบัติปู่ย่าตายายที่ชาวบ้านหวงแหน  รายละเอียดเพิ่มเติมชมได้จากคลิป

 

 

ชาวบ้านแฉ  อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัท

ชาวบ้านแฉ  อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัท

ด้านนายณัฐภัทร พลอยสุภา นายอำเภออุบลรัตน์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าบริษัทกระทิงแดง ได้ขอเช่าพื้นที่ห้วยเม็กสาธารณะประโยชน์ทั้งหมดเนื้อที่ 31 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2559 ในราคาไร่ละ 1,000 บาท ลงนามโดยนายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น(ปัจจุบันเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว เมื่อต้นปี 2560 ) พร้อมใบอนุญาตให้แผ้วถางป่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 เพื่อประโยชน์กักเก็บน้ำ

ชาวบ้านแฉ  อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัท
ทางด้านนายประทีป กีรติเรขา อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ออกมาชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารที่กระทรวงมหาดไทยเซ็นยกป่าชุมชนในที่สาธารณะห้วยเม็ก 31 ไร่ใน อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ให้กับบริษัทกลุ่มกระทิงแดงว่า การอนุญาตดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543 และที่ผ่านมา โดยทางด้าน บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ดีเวลลอปเมนท์ (กระทิงแดง) จำกัด ได้ยื่นขอนุญาตประกอบกิจการในที่ดินแปลงห้วยเม็กสาธารณประโยชน์ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ขก 2321 หมู่ที่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น เนื้อที่ประมาณ 31-2-63 ไร่นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่เก็บกักน้ำสำหรับประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นลักษณะแหล่งน้ำตามวัตถุประสงค์เดิมของที่สาธารณประโยชน์ ทางจังหวัดขอนแก่นได้รายงานข้อเท็จจริงว่าได้ปฏิบัติตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ครบถ้วนแล้ว ได้ข้อสรุปคือสภาพที่ดินแห้งแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ไม่มีทรัพยากรอันมีค่าในที่ดิน โดยทางอบต.บ้านดงและชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีการประชุมลงมติเห็นชอบให้บริษัทเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณะห้วยเม็กได้ โดยไม่มีการคัดค้านซึ่งขัดกับคำบอกเล่าของชาวบ้าน

ชาวบ้านแฉ  อบต. เรียกประชุมชาวบ้าน ปี 58 ตอนกลางคืน แจ้งเพียง บ.กระทิงแดงจะมาก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ รู้อีกทีว่าเป็นป่าห้วยเม็ก เมื่อบริษัท
ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อ 12 ก.ย. เวลา 08.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงข้อกังขาในการอนุมัติป่าชุมชนในพื้นที่โคกห้วยเม็ก ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น จำนวน 31 ไร่ ให้กับเอกชนว่า ตามหลักเกณฑ์การขอใช้พื้นที่สาธารณะสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน เอกชน หรือหน่วยราชการ แต่หากทำผิดเงื่อนไขสามารถเพิกถอนได้ทันที อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้น ยืนยันว่าการดำเนินการถูกต้องทั้งหมด ถ้าไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย เจ้าหน้าที่ส่วนใดที่ดำเนินการต้องรับโทษทั้งนั้น
“จากการตรวจสอบก็น่าจะเป็นจริงตามที่ประชาชนแสดงความไม่เห็นด้วย แต่เอกสารกรมที่ดินยืนยันว่าไม่มีเอกสารที่เกี่ยวกับความไม่เห็นด้วยของประชาชน ซึ่งเช้าวันนี้รองอธิบดีกรมที่ดินได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลว่าทำไมถึงไม่มีเอกสารที่ประชาชนไม่เห็นด้วย ผมยืนยันแค่มีคนไม่เห็นด้วยแค่คนเดียว ก็ไม่ให้แล้ว  เพราะมันเป็นที่สาธารณะร่วมกัน ทำไมถึงไม่มีเอกสารขึ้นมา ก็ต้องตรวจสอบทั้งหมด ตั้งแต่ระดับจังหวัด รวมถึงคณะกรรมการทั้งหมดได้รู้เรื่องนี้หรือไหม และเมื่อตรวจสอบยืนยันได้ว่ามีประชาชนไม่เห็นด้วย ก็จะดำเนินการเพิกถอนคำสั่งทันที ในเมื่อประชาชนที่ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะได้รับความเดือดร้อน ก็มีเหตุให้ยกเลิกคำสั่ง และต้องหาคนทำผิดให้ได้  เอกสารร้องเรียนไม่มีขึ้นมา ส่วนการทำประชาพิจารณ์จะมีปัญหาหรือไม่ ตนยังไม่ทราบ จึงให้ผู้เกี่ยวข้องลงไปหาข้อเท็จจริง การอนุมัติไปเป็นกฎหมาย เป็นคำสั่งทางปกครอง การยกเลิกต้องอยู่บนกฎหมาย เช่นตรวจสอบแล้วมีคนได้รับผลกระทบ มีเอกสารยืนยัน แต่ผมไม่ทำถึง 90 วัน ผมสั่งไปภายใน 15 วันต้องเสร็จ ถ้าทราบว่ามีการใช้เอกสารที่ไม่ครบส่งขึ้นมาก็จะเพิกถอนเลย การดำเนินการกับข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้อำนาจโดยมิชอบ โทษทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นวินัย อาญา ที่สามารถดำเนินการได้จะดำเนินการ โดยเฉพาะโทษทางวินัยโดน ส่วนโทษทางอาญาถ้ามีหลักฐานว่าไปทำอะไรเกี่ยวกับเอกสารโดยมิชอบก็โดน นอกจากนั้น เรื่องของการทุจริตก็ต้องตรวจสอบด้วย ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ว่ามีประชาชนไม่เห็นด้วยแต่ในเอกสารกลับระบุว่าประชาชนเห็นด้วยเอกฉันท์ ขั้นตอนการส่งเอกสารขึ้นมาเป็นเรื่องหนึ่งที่ตนสงสัย" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว