- 03 ก.ค. 2566
วิธีย้ายเข้าบ้านใหม่ สำหรับมือใหม่พึ่งมีบ้านเป็นของตัวเอง วันนี้เรามีทริคดีๆ มาฝาก วิธีทำบุญบ้าน ย้ายเข้าบ้านใหม่เป็นครั้งแรก ต้องทำอย่างไร
วิธีย้ายเข้าบ้านใหม่ สำหรับคนที่พึ่งมีบ้านเป็นครั้งแรกและไม่รู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง เรามีทริคดีๆ มาฝากค่ะ รวมไปถึง วิธีทำบุญบ้าน ย้ายเข้าบ้านใหม่เป็นครั้งแรก ต้องทำอย่างไร มีครบทุกขั้นตอนในบทความนี้
มีบ้านเป็นครั้งแรกควรทำอะไรบ้าง ต้องสืบเนื่องมาจาก ความเชื่อโบราณ ก่อนค่ะว่า คนไทยสมัยก่อนให้ความสำคัญกับความเชื่อต่างๆ รวมไปถึงประเพณีไทยที่คนไทยสมัยก่อนมักนิยมทำตามกันอย่างเคร่งครัด การสร้างบ้านและการขึ้นบ้านใหม่ก็สำคัญไม่แพ้กัน ฉะนั้นแล้วมาดู วิธีทำบุญบ้าน ย้ายเข้าบ้านใหม่เป็นครั้งแรก ต้องทำอย่างไรบ้าง
วิธีทำบุญบ้าน ย้ายเข้าบ้านใหม่เป็นครั้งแรก ต้องทำอย่างไร?
1. นิมนต์พระ
โดยทั่วไปแล้วจะนิมนต์พระ 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป ขึ้นอยู่กับสถานที่ในการทำบุญบ้าน หากมีพื้นที่มากพอก็มักจะนิมนต์พระ 9 รูป เพื่อความเหมาะสมในการทำพิธี
2. ฤกษ์งามยามดี
ฤกษ์งามยามดีของการทำบุญบ้านนั้นก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นฤกษ์ที่ดีประจำตัว หรือวันหยุด วันที่ญาติสามารถมาร่วมกันทำบุญบ้านได้ หรือจะขอฤกษ์งามยามดีจากพระสงฆ์ ก็ขึ้นอยู่ที่ความสะดวกด้วยนั้นเอง
3. เริ่มการจัดพิธีทำบุญบ้าน
โดยทั่วไปแล้วหากเป็นการถวายเพลช่วงเช้า จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 7.30 น หรือหากเลือกถวายภัตตาหารเพลก็ควรเริ่มพิธีเวลาประมาณ 10.30 น. ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทางเจ้าของบ้านและศาสนกิจของพระวัดที่เชิญท่านมาด้วย
4. สถานที่
สถานที่นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ต้องทำความสะอาดบ้านให้เรียบร้อย จัดวางตำแหน่งของโต๊ะหมู่บูชา และจัดสถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งหากเป็นสถานที่ที่มีข้อจำกัดก็อาจจะนิมนต์พระท่านมาสัก 5 รูป 7 รูป หรือหากมีสถานที่ที่กว้างพอก็ควรจะเป็น 9 รูป ที่เป็นที่นิยมในฤกษ์งามยามดี และความมงคลด้วยนั้นเอง
5. อุปกรณ์
สิ่งที่ต้องเตรียม คือ โต๊ะหมู่บูชา อาสนะพระ ตาลปัตร ขันน้ำมนต์ แป้งเจิม แผ่นทอง สายสิญจน์ เทียนน้ำมนต์ ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม
การวางโต๊ะหมู่บูชาในการทำบุญบ้าน
1. โต๊ะหมู่บูชาพระ จำต้องมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธาน โดยวางไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์องค์ที่ 1 และไม่ควรตั้งอยู่ใต้บันได หน้าห้องน้ำ หรือหันไปในมุมอับ
2. อาสนะ การวางข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์อย่างตาลปัตร พร้อมน้ำดื่ม กระดาษชำระ และกระโถน เป็นต้น
3. อาหาร แบ่งออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดบูชาข้าวพระพุทธ สำหรับพระสงฆ์ตามจำนวน และสำหรับเจ้าที่เจ้าทาง ประกอบด้วยข้าว อาหารคาว ผลไม้ ของหวาน และน้ำดื่ม ชุดสำหรับพระพุทธวางไว้ด้านหน้าโต๊ะหมู่ สำหรับภัตตาหารของสงฆ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 วง (ในกรณีนิมนต์พระ 9 รูป) สำหรับเจ้าที่เจ้าทางจัดเป็นสำรับเช่นกันแล้วนำไปวางไว้นอกชายคาบ้าน อาหารที่เป็นมงคลนิยมถวายได้แก่ ขนมมงคลไทย 5 อย่าง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน และขนมถ้วยฟู ผลไม้มงคลอย่างกล้วย มะพร้าว สาลี่ ทับทิม และส้ม
4. ของถวายสังฆทาน สามารถถวายได้ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค ปัจจัย หรือผ้าไตรที่หลายบ้านนิยมถวายร่วมด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคล
5. อุปกรณ์เพื่อการเจิมและการปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ ที่จะทำเป็นขั้นตอนท้ายสุดของพิธี โดยเจ้าของบ้าน (ฝ่ายชาย) ต้องเดินถือขันน้ำมนต์นำพระสงฆ์ไปตามห้องต่างๆ เพื่อการปะพรม และปิดท้ายที่การเจิมประตู (ส่วนมากนิยมที่ประตูด้านหน้า) โดยอุปกรณ์ประกอบไปด้วยขี้ผึ้งสำหรับติดแผ่นทอง แผ่นทอง หรืออาจใช้เพียงแป้งเจิมหรือดินสอพองก็ได้นั้นเอง
และนี่คือ วิธีทำบุญบ้าน หรือ ย้ายเข้าบ้านใหม่ ที่คนไทยมักจะทำตามขั้นตอนนี้ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน