- 08 ส.ค. 2566
วันขอเงินพระจันทร์ ส.ค. 66 มาเช็ก วันไหว้พระจันทร์ หรือ วันอมาวสี วันขอพร วันขอโชคลาภ และที่สำคัญ ในเดือนสิงหาคม 2566 มีฤกษ์ดีที่สุด 2 วันแต่จะแบบตามรายละเอียด ดังนี้
วันขอเงินพระจันทร์ เดือนสิงหาคม มีเพียง 1 วันเท่านั้น
ใน เดือนสิงหาคม 2566 นี้ มีวันพระจันทร์เต็มดวง 2 วัน โดยปกติใน 1 เดือนจะมีเพียง 1 วันเท่านั้น และสิ่งที่ควรทำเราจะอธิบายแบบละเอียด ดังนี้
วันอมาวสี คืออะไร?
วันอมาวสิ หรือ วันพระจันทร์ดับ เป็นวันที่ฟ้า (สรรค์) โลก (ภพมนุษย์) พื้นภพนาคา (ผืนท้องทะเล) พื้นภพนรก (นรก) จะเปิดออก และทำมุมเชื่อมถึงกัน ทำให้เกิดพลังอันน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นกับมวลมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องของ โชคลาภ วาสนา บารมี และความสำเร็จและในแต่ละเดือนนั้น จะมีวันอมาวสี เกิดขึ้นเพียงเดือนละ 1 ครั้ง เท่านั้น แต่เดือนสิงหาคม จะมีฤกษ์ดี 2 วัน
1. วันขอเงินพระจันทร์
วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 16.38 น. ตรงกับ วันพระ แรม 15 ค่ำ เดือนแปดหลัง(88) ปีเถาะ เป็นวัน จันทร์ดับ (อามาวสี) เวลา 16:38น. หรือ เรียกอีกชื่อว่า วันขอเงินพระจันทร์ นั่นเอง
2. วันจันทร์เพ็ญ (ปูรณมี)
วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 08:36 น. ตรงกับ วันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนเก้า(9) ปีเถาะ เป็นวันพระ ตรงกับวันจันทร์เพ็ญ (ปูรณมี) เวลา 08:36น. เป็นวันที่นิยมใช้ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
วิธีขอเงินพระจันทร์ 2566
1. ทำบุญตักบาตรในวันที่จะขอพร ขอเงินจากพระจันทร์
2. เตรียมเงินจำนวนหนึ่งใส่ไว้ในกระเป๋าและห้ามใช้เงินนั้นเป็นเวลา 2 วัน
3. ห้ามให้ใครรู้ว่าเราอธิฐานขออะไรและควรขอพรพระจันทร์ในวันเวลาที่สงบ
4. ก่อนขอพรกับพระจันทร์ ให้สมาทานศีล 5 ก่อนทุกครั้ง
5. ห้ามให้ใครยืมเงินในวันที่ตั้งใจจะขอพรกับพระจันทร์
บทสวดคาถายันทุน
- ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
- ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
- ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
- ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
- ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
- ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
บทสวดขอพรพระจันทร์
- ให้ท่องนะโม 3 จบ
- โอมจันทรา ศศิประภา นะมะฮา (1 หรือ 15 จบ ตามกำลังดาวจันทร์)
สวดคาถาบูชา คาถามหาลาภ
- นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา
- ระชะตังวา มะณีวา ธะนังวา พีชังวา อัตถังวา ปัตถังวา
- เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง
- สวด 3 จบ