ตำรวจมีเฮ-ประชาชนมี งง?? คณะปฏิรูปฯตำรวจอัดฉีดเต็มที่ชงขึ้นเงินเดือน-ค่าตำแหน่งแก้ตำรวจสายรีดไถ-เก็บส่วย อ้างรายได้ไม่เพียงพอ(รายละเอียด)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

    วันที่ 10 มี.ค.61  นายมานิจ สุขสมจิตร คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการที่มี พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน ได้พิจารณา ถึงประเด็นการเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการตำรวจ ตามที่คณะอนุกรรมการด้านการบริหารบุคคลเสนอให้พิจารณา งานตำรวจเป็นงานที่มีความเสี่ยงมากกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญอยู่ระหว่าง 13.56-22.57เท่า ซึ่งในต่างประเทศนั้นค่าตอบแทนของตำรวจชั้นประทวนกับค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญมีสัดส่วน ความเสี่ยง 1.28 ต่อ 1 ส่วนระดับสัญญาบัตรมีสัดส่วน 1.74 ต่อ 1
 

    นายมานิจ กล่าวต่อว่านอกเหนือจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจยังเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคลที่ให้ปรับอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาหรือที่เรียกว่า ”ค่าทำสำนวน” เพิ่มขึ้นอีก 100% เพราะอัตราที่ใช้อยู่ กำหนดไว้เมื่อ พ.ศ. 2534 และยังมิได้ปรับเพิ่มในขณะที่ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอัตราที่เสนอใหม่จะเป็นดังนี้
(1) กรณีที่เกิดคดีอาญาขึ้นและไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด เดิมไม่จ่าย ส่งผลให้พนักงานสอบสวนไม่อยากทำสำนวนหรือไม่รับคดีจึงเสนอให้จ่ายค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาประเภทที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดไม่เกินคดีละ 500 บาท
(2) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,000 บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 500 บาท)
(3) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 3-10  ปีเสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 2,000บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ  1,000 บาท)
(4) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 10 ปีขึ้นไป เสนอให้จ่่ายไม่กินคดีละ 3,000(ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,500บาท)

“เหตุผลในการเสนอขอปรับอัตราค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาดังกล่าว  ก็เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด” นายมานิจ ระบุ

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ)  กล่าวด้วยว่าในการเสนอของคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคลนั้น ได้เสนออัตรารายได้ของตำรวจในสายงานป้องกันและปราบปราม ให้ต่ำกว่าอัตราที่เสนอโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เพราะไม่อยากให้กระทบต่องบประมาณในภาพรวมของประเทศ แต่เมื่อได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งเหตุผลที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ว่าให้ “มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่้เหมาะสม” ซึ่งเป็นอาชีพเดียวที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

“แสดงว่าปัจจุบันนี้ ตำรวจได้รับค่าตอบแทนที่ยังไม่เหมาะสม จึงอ้างว่ารายได้ไม่เพียงพอต้องหารายได้พิเศษจากการรีดไถ และรับส่วย เมื่อเพิ่มรายได้ให้แล้วควรจะได้กวดขันตำรวจที่ทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไป ที่ประชุมจึงเห้นสมควรให้ปรับค่าตอบแทนของข้าราชการตำรวจในสายงานป้องกันปราบปรามตามผลการศึกษาวิจัยของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และควรมีการพิจารณาค่าตอบแทนดังกล่าวทุกห้าปีด้วย”คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ)   ระบุ