- 06 ม.ค. 2562
ความคิดแบบนี้ก็ค้านต่อไปยาวๆ "นักการเมือง" หรือ "นักค้านอาชีพ" ... ถลกหนัง "นิพิฏฐ์" หลังเหน็บ "เอนก" ตาสว่างกันหรือยัง?
จากกรณีการเสวนาปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ที่ผ่านมา จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ออกอากาศในรายการข่าวค่ำ "มิติใหม่ทั่วไทย" ประจำวันอังคารที่ 25 ธันวาคม 61 ทางช่องสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยช่วงหนึ่ง ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ในฐานะกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้กล่าวสนับสนุนว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับปี2560 ดีกว่าฉบับอื่นๆ เฉกเช่นเดียวกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ล่าสุดวานนี้ (5 มกราคม) เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าทำไม "นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่อาจวางเฉยต่อแนวคิดของ "นายเอนก" ได้ จนต้องออกมาโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กส่วนตัว ทำนองว่าเป็นประชาธิปไตย ไม่ควรชื่นชมเผด็จการ "ฝ่ายค้านที่ออกชื่นชมรัฐบาลก็คงมีแต่ฝ่ายที่รอร่วมรัฐบาลเท่านั้น มิใช่ฝ่ายค้านที่แท้จริง เช่นเดียวกันกับฝ่ายประชาธิปไตยที่ออกมาชื่นชมเผด็จการ ก็คงมีแต่ฝ่ายประชาธิปไตยที่เตรียมผลิดอกออกใบเป็นเผด็จการเท่านั้น”
แต่หากย้อนไปดูสิ่งที่ "เอนก" ให้สัมภาษณ์กับ "มติชน" ถึงการเมืองหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ "นิพิฏฐ์" อดรนทนไม่ไหว กับสิ่งที่ "เอนก" ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตยสะท้อนถึงคุณูปการของรัฐบาลเผด็จการ เมื่อย้อนไปดูถ้อยกระทงความที่ “เอนก”ให้สัมภาษณ์ จะพบว่า “เอนก”พยายามชี้ให้เห็นตั้งแต่ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลถนอม กิตติขจร ที่เริ่มมีการใช้คำว่า “นโยบาย” ซึ่งนโยบายก็เป็นรูปธรรมกว่าภารกิจ เนื่องจากจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขในรายละเอียดของภารกิจได้
ต่อมา ยุคปลายๆ ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เกิด"แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี "แปลว่าเราจะทำอะไรที่เป็นเรื่องหลักๆ ร่วมกัน 5 ปี เพื่อประเทศว่าจะพัฒนาอย่างไร ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สมัยนั้น คนก็บอกว่า จอมพลสฤษดิ์จะเป็นคอมมิวนิสต์หรือ มีการวางแผนการล่วงหน้าไว้ตั้ง 5 ปี แต่ในที่สุดจนถึงปัจจุบันนี้ก็ชินกับ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี" จนมาถึงยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือสปช. และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศ ชื่อว่า "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี" ก็ออกมาแล้ว อย่างน้อยก็จะเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดระเบียบระบบราชการได้ดี ถ้ารัฐบาลหน้าที่จะมาจากการเลือกตั้งเอาความเฉลียวฉลาดมาต่อยอดจาดของเดิมได้ผมคิดว่าเรื่องนี้จะไปได้ดี"
อย่างไรก็ตาม นี่คือสิ่งที่ "เอนก" สะท้อนออกมา เป็น "เอนก" คนเดียวกันที่เดินออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเดียวกับ “นิพิฏฐ์” พรรคผู้ถนัดแต่บทฝ่ายค้าน ห่างเหินจากงานบริหารบ้านเมืองมานาน ในขณะที่แพ็กเกจประชารัฐ ของรัฐบาลคสช. เข้าถึงประชาชนทุกย่อมหญ้าและกำลังทำให้ทุกนโยบายของทุกพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งถูกลืม...