อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

แต่นานนมมา...เห็นจะกล่าวได้ว่าหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็น “ตัวตั้งตัวตี” หาใช่อื่นใด หากมิใช่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ยืนยงอยู่คู่ถนนสายการเมืองไทยมาอย่างลึกซึ้งและยาวนาน ที่มิอาจพลัดพรากหรือฉีกกระชากออกจากกัน

แต่นานนมมา...เห็นจะกล่าวได้ว่าหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็น “ตัวตั้งตัวตี” หาใช่อื่นใด หากมิใช่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ยืนยงอยู่คู่ถนนสายการเมืองไทยมาอย่างลึกซึ้งและยาวนาน ที่มิอาจพลัดพรากหรือฉีกกระชากออกจากกัน

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

ด้วยเหตุผลนานานัปการ หากแต่มิผิดเพี้ยนจุดประสงค์แม้แต่น้อยนิดเมื่อย้อนกลับไปแรกเริ่มแต่เดิมที ตามหลักแนวคิดของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ปรารถนาอย่างแรงกล้าในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนเรื่อง “ประชาธิปไตย” ให้ชนชาวสยามได้ตระหนักรู้ถึงระบอบการปกครองใหม่ทีเพิ่งถูกสนาปนาอย่างกระท่อนกระแท่นแก่พลเมือง สมดังชื่อมหาวิทยาลัย “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ทุกศาสตร์วิชา องค์ความรู้ไม่เว้นแม้แต่ภววิสัยแง่ประวัติศาสตร์และการเมืองถูกส่งต่อถ่ายทอดมาอย่างครบถ้วนกระบวนความ ตกผลึกรุ่นสู่รุ่น...ยังปัจจุบัน ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองที่ขมุกขมัวอึมครึม กับกระแสการเลือกตั้งที่ชวนให้สับสน หลากหลายข่าวสารกระทบกระแทกต่อบริบทการรับรู้ สุดแล้วแต่จะเข้าใจหรือตีความกันไป

อย่างไม่เหนือความคาดหมายเท่าใดนัก...ด้วยพบว่าในสภาวการณ์เหล่านี้เองที่เป็นชนวนก่อให้เกิดกลุ่มก้อน จากความแตกแยกทางทัศนะ ที่หลายคนล้วนทราบดีว่าเหตุที่นำมาซึ่งการ “เลื่อนเลือกตั้ง” นั้นเป็นความสุดวิสัย แต่มิใช่กลับบางคนที่ถือมั่นว่า “การเลือกตั้ง” นั้นคือการเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองในอุดมคติของเหล่านั้น ด้วยเพราะเลือกตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

จะด้วยเหตุผลกลใดแต่เรื่องอันเป็น “ปัจเจก” ก็สลับซับซ้อนยากยิ่งเกินกว่าจะทำความเข้าใจ แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า ยุทธการดื้อดึงดันทุรังทวงคืนวันเลือกตั้งนั้นกำลังเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงมิได้ การรวมตัวของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” นั้นมีให้เห็นอยู่ประปราย เหล่าแกนนำก็ล้วนแต่เป็นคนหน้าเก่าในโคจรเดิม

อย่างไม่ลดละราข้อ...จนอุดมการณ์แพร่ปกคลุมในหลายองค์การนอกแบบ เช่นเดียวกับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ร่วม เรื่อง การแสดงจุดยืนต่อกรณีการ “เลื่อนเลือกตั้ง” สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุความว่า

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

 

“นับแต่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 61 เป็นต้นมา คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศให้วันที่ 24 ก.พ. เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส.ซึ่งต่อมารัฐบาลได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันที่ 3 ม.ค. ว่ามีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวันเลือกตั้ง ส.ส. นั้น สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งได้ติดตาม และสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ขอแสดงความกังวลต่อการกระทำดังกล่าวโดยมองว่าการกระทำดังกล่าวขัดขวางการก่อให้เกิดขึ้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งยังทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนตลอดจนนานาประเทศ ในการนี้เราจึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง และรัฐบาลดำรงคงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี พร้อมทั้งยึดมั่นถือมั่นในระบอบประชาธิปไตย โดยการคืนอำนาจสู่ประชาชนผ่านการจัดการเลือกตั้งตามแผนเดิมที่ได้ประกาศไว้คือวันที่ 24 ก.พ.นี้ โดยเร็ว สุดท้ายนี้ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงจุดยืนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นระบอบที่ประกันสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน โดยคาดหวังให้ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด” พร้อมทิ้งท้ายว่า “เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน”

เป็นความจริงที่มิอาจปฏิเสธว่าบทบาทขององค์การและองค์บุคคลขอมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ปรากฏเด่นชัดและถูกจารึกไว้ครั้งเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ “วันมหาวิปโยค” ที่ต่อมาภายหลังบางตำหรับตำราได้ปริวรรตชื่อเรียกเป็น “ตุลาฯมหาปิติ” ด้วยเจตนาให้ความหมายในเชิงสร้างสรรค์ เพราะทั้งในแง่ลำดับเหตุการณ์หรือผลบั้นปลายนั้นเป็นชัยชนะอันหอมหวานของกลุ่มนักศึกษาและประชาชน

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

แม้ว่าการจัดยุทธศาสตร์จะเป็นการรวมตัวของหลากลายสถาบันทางการศึกษา หลวมรวมขึ้นเป็น “พลังบริสุทธิ์” หวังหักล้างต่ออำนาจของรัฐบาลจอมพลถนอม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือจุดเริ่มต้นก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายเป็นคลื่นมวลชนขนานใหญ่นั้นเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้จะปิดม่านด้วยตัวแปรและปัจจัยอันเป็นอื่น มิได้มาจากการวางกลยุทธ์แต่ถ่ายเดียว

เพราะด้วยการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนนั้น ล้วนถือเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า สำคัญที่ว่าฝ่าย “อธรรม” นั้น มีอันต้องพ่ายจากพลังของสถาบันอื่น เช่น กองทัพ รวมถึง “พระบารมี” ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ที่แก้ไข้วิกฤตของชาติด้วยทรงขอให้ทุกฝ่ายตั้งสติยับยั้งระงับเหตุความรุนแรงและทรงขอให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่เพื่อนำบ้านเมืองกลับสู่สภาวะปกติ

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

อย่างไรก็ตามกระบวนทัศน์ของนักศึกษาที่เสมือนเป็น “ปัญญาชน” ต่อบริบท สังคม การเมืองและเศรษฐกิจก็ควรค่าแก่การทำความเข้าใจเพื่อนำมาอภิปรายว่าเหตุใด “ความตื่นตัวทางการเมือง” ของเขาเหล่านี้จึงตกผลึกและแปรเปลี่ยนเป็นความเคลื่อนไหวที่ทรงพลัง ต่างอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบกับความตื่นตัวของกลุ่มประชากรปัจจุบันทั้งนักศึกษาก็ดี หรือปัญญาชนก็ดี ที่คล้ายว่าแผลงศัพท์แบบตีขลุมกลายเป็น “คนรุ่นใหม่” ดังปัจจุบัน

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในทศวรรษ 2514 เกิดขึ้นพร้อมกับความถดถอยของสิทธิเสรีภาพ และความไม่เสมอภาคของสังคมเมืองและชนบท ทำให้บริบทการรับรู้ของกลุ่มนักศึกษานั้นมาจากการซึบซับอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้มีลักษณะ “ยัดเยียด” หรือ “พวกมากลากไป” เสียส่วนใหญ่ ความตื่นตัวมิได้ถูกกำจัดกรอบอยู่แต่ภายในเทคโนโลยีหรือโลกออนไลน์เช่นปัจจุบัน หากเป็นการแสดงออกอย่างแข็งขัน เป็นต้นว่า การรณรงค์ต่อต้านความหรูหราฟุ่มเฟือย ต่อต้านทุนต่างชาติ เป็นต้น

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

หากทว่าหลังจากได้สัมผัสความหอมหวานจากชัยชนะมาชั่วขณะ จนหลงระเริงเห่อเหิม ชนวนเหตุแห่งความขัดแย่งได้ถูกจุดขึ้นกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรืออีกหนึ่ง “วันมหาวิปโยค” ที่พบว่าไม่มีการบัญญัติศัพท์หรือให้ความหมายเป็นอื่นในเชิงสร้างสรรค์ เพราะเป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่าเป็นความพ่ายแพ้อย่างชวนอดสู กับความไม่ประสาของนักศึกษาและประชาชนที่คาดหวังว่าตนนั้นจะมีพลังมากเพียงพออย่างแต่เดิม แต่ประวัติศาสตร์มอบบทเรียนราคาแพงว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

ต้นสายปลายเหตุและลำดับเหตุการณ์นั้นอาจมีความซับซ้อน ตรงข้ามกับกลยุทธ์ที่ตื้นเขินด้วยหวังใช้รูปแบบเดิมทั้งที่ความจริงบริบทได้แปรเปลี่ยนไปเสียแล้ว เมื่อกลุ่มประชาชนที่อ้างว่าต้องการขับไล่จอมพลถนอม หักเข้ารั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประหนึ่งว่าอธิการบดีเป็น “หัวหลักหัวตอ” เพราะมีการยืนยันมาตลอดจากปากของอธิการบดีในขณะนั้นว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการปลุกระดม

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

หากผ่านความคิดของกลุ่มมวลชนประท้วงอาจเป็นความเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่ ที่มีอิทธิพลมากเพียงพอที่จะทำให้พวกเขาบรรลุเป้าประสงค์ สะท้อนอย่างประจักษ์ชัดว่าเป็นความพร่ำเพรื่อและไม่ให้เกียรติแม้แต่น้อย มองในอีกแง่มุมพฤติการณ์ลักษณะนี้มิอาจตีความเป็นอื่นได้นอกเสียจากเป็นการรุกล้ำก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพ อีกทั้งผลบั้นปลายก็ดูกลายประหนึ่งเป็นการ “คว้าน้ำเหลว” เพราะหลักการและแนวทางเป็นการยืนหยัดต่อต้านการแทรกแซงอำนาจการเมืองโดยทหาร แต่ท้ายสุดกลับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการรัฐประหารเกิดขึ้น รวมถึงการสูญเสียที่มากเหลือคณา

ความพ่ายอย่างน่าอดสูที่ต่างอย่างสิ้นเชิง กับเหตุการณ์ที่เสมือนหนึ่งเหรียญเดียวกันแต่คนละด้านกับเหตุการณ์ “ตุลาฯมหาปิติ” แต่บทเรียนราคาแพงครั้งนี้ก็ควรจะบอกอะไรได้มากเพียงพอให้นักศึกษาและพลังที่หวังปรับเปลี่ยนระเบียบแบบแผนตลอดจนกฏเกณฑ์ให้ต่างจากครรลองแต่เดิม ได้พึงสังวรว่าความไม่ประสาเหล่านั้นเอง มิอาจเป็นหนทางสู่ความสัมฤทธิ์ผลได้โดยง่าย หากขาดแล้วซึ่งวิจารณญาณและวุฒิภาวะที่เพียงพอ

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

 

ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันโค้งสุดท้ายในช่วงคาบลูกคาบดอก และประชาชนวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ กับ “ความตื่นตัวทางการเมือง” และ “อุดมการณ์” ที่สนองต่อใครหรือแก่ตนนั้น อาจก่อให้เกิดคำถามที่ว่า พลวัตรทางการเมืองที่มิเคยหยุดและหมุนวนเปลี่ยนผ่านนั้นจะทำให้บริบทการรับรู้ของเขานั้นเป็นไปในทิศทางใดกันแน่

อย่าให้ “พวกมากลากไป” และไม่ทรยศต่ออุดมการณ์หรือให้ใครต้องมาจูงจมูกก็น่าจะเพียงพอ เพราะบทเรียนจากประวัติศาสตร์ อาจสอนตระหนักรู้อยู่กับปัจจุบันและเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคต...ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน

 

อะไร..อะไรก็ “ธรรมศาสตร์” ออกแถลงวอน “อย่าเลื่อนเลือกตั้ง” ตีแผ่แง่มุมประวัติศาสตร์ “ชัยชนะ” กับ “ความพ่าย” ของปัญญาชน