9 ปีเต็มคนไทยไม่ลืม!!!  26 ก.พ.ศาลฎีกาพิพากษายึดทรัพย์ "ทักษิณ" เจ้าของวาทกรรม "ผมรวยแล้วผมไม่โกง"!???

26 ก.พ. วันครบรอบ9 ปี ศาลฎีกาพิพากษายึดทรัพย์ "ทักษิณ" อดีตนายกรัฐมนตรีไทย จนตัองลี้ภัยต่างประเทศ

ถือเป็นช่วงเวลาทางการเมืองที่มีหลากหลายประเด็นให้ติดตาม  เพราะแต่ละเคสกรณีมีเบื้องลึก  เบื้องหลัง   มีผลกระทบสำคัญต่อสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกับการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562   ซึ่งถูกมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ใช่แค่วัดชี้ผลเรื่องเก้าอี้ผู้นำประเทศ  หรือ รัฐบาลจากพรรคการเมืองไหนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ   แต่มุมสำคัญถือเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มนักการเมืองที่อยากเห็น พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ทำหน้าที่การปฏิรูปประเทศให้เป็นผลสำเร็จ  กับกลุ่มนักการเมืองเดิม ๆ ที่มีพื้นฐานจากสายบังคับบัญชาในระบอบทักษิณ  และอยากคงมีเป้าหมายแฝงในการนิรโทษกรรม ให้กับผู้กระทำผิดคดีอาญาแล้วหนีไปอยู่ในต่างประเทศ

 

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ทักษิณ ชินวัตร

 

ด้วยเหตุกรณีนี้ต้องไม่ลืมว่าในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์  หรือ  เมื่อวันที่  26 ก.พ. 2553   ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา   ประเทศไทยเคยมีการพิพากษาคดีประวัติศาสตร์  ว่าด้วยการทำหน้าที่ขององค์คณะตุลาการ  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ได้ขึ้นนั่้งบัลลังกตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยึดทรัพย์สินจำนวน 76,261.6 ล้านบาท ของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดิน  เนื่องจากมีสถานะร่ำรวยผิดปกติ  เพราะทรัพย์สินได้มาจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม  จึงฟ้องร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

โดยเหตุกรณีดังกล่าวอัยการสูงสุดได้สรุปคำฟ้องความผิดของจำเลย หรือ  ทักษิณ ชินวัตร  ไว้เป็นประเด็นสำคัญ ๆ  เริ่มต้นจาก  ขณะที่ นายทักษิณ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี   ได้ปกปิดการถือหุ้น บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน 1,419,490,150 หุ้น เป็นเงิน 76,621,603,061.05 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มากจากการขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคลและประโยชน์ส่วนรวม   เป็นกรณีได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร   สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติคิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงโดยปกปิดและอำพรางหุ้นไว้ ในชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร น.ส.พิณทองทา ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ เป็นผู้ถือหุ้นแทน

 

 

ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสามารถแยกประเด็นข้อเท็จจริงได้เป็น  2 ประเด็น คือ  นายทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี   ได้ปกปิดอำพรางการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ   และบริษัทชินคอร์ปฯ ถือเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานในกิจการโทรคมนาคมจากรัฐ   ตามคำตรวจสอบของคตส.เรื่องการถือครองหุ้น  พบว่า  บริษัทชินคอร์ปฯ ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมจากรัฐตามสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2543  และบริษัทชินคอร์ปฯ  เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 42.90 ในบริษัทเอไอเอส   นอกจากนั้น  บริษัทเอไอเอส   ยังเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทดิจิตอลโฟน และ บริษัทชินคอร์ปฯ ยังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ชินแซทเทลไลท์  ซึ่ง  นายทักษิณ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรียังคงไว้ซึ่งหุ้น บริษัทชินคอร์ปฯ

 

 

กล่าวคือในวันที่ 10 เมษายน 2541  หรือก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี   นายทักษิณ  ได้ถือหุ้น 32,920,000 หุ้น  ขณะที่ นางพจมาน ชินวัตร(ภรรยาขณะนั้น)  ถือหุ้น 34,650,000 หุ้น  จากนั้นในปี 2542  ได้มีการเพิ่มทุน  ทำให้ปริมาณหุ้นในวันที่12 เมษายน 2542  นายทักษิณ มีหุ้นเพิ่มเป็น 65,840,000 หุ้น  ขณะที่ นางพจมาน มีหุ้น 69,300,000 หุ้น  รวมหุ้นที่บุคคลทั้งสองถือไว้คิดเป็น 48.75 %  ของจำนวนหุ้นทั้งหมด  จากนั้นทั้งสองได้มีการโอนหุ้นให้กับบุคคลใกล้ชิด  ดังนี้

 

 

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542  นายทักษิณ โอนหุ้น  32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช อินเวสท์เมนท์ จำกัด , 1 กันยายน 2543  นายทักษิณ โอนหุ้นให้แก่ นายพานทองแท้  บุตรชาย จำนวน 30,920,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์  น้องสาว จำนวน 2,000,000 หุ้น  ขณะที่ในวันที่  1 กันยายน 2543  คุณหญิงพจมาน โอนหุ้นให้พานทองแท้  42,475,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้ นายบรรณพจน์  26,825,000 หุ้น  เมื่อรวมกับที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทำให้ นายบรรณพจน์ มีหุ้นทั้งสิ้น 33,634,150 หุ้น

 

3 พี่น้อง ตระกูลชินวัตร 

3 พี่น้อง ตระกูลชินวัตร 

 

ต่อมา วันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัทชินคอร์ป  จดทะเบียนลดมูลค่าหุ้นลงจากหุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท  ทำให้ผู้ถือหุ้นแทนดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ดังนี้ นายพานทองแท้ ที่ถือหุ้นแทน 733,950,000 หุ้น  และในวันที่ 9  กันยายน 2545 และ 17 พฤษภาคม 2546  นายพานทองแท้ โอนหุ้นต่อให้แก่  น.ส.พิณทองทา ถือหุ้นแทน  440,000,000 หุ้น  คงเหลือหุ้นในนามของนายพานทองแท้ 293,950,000 หุ้น , นายบรรณพจน์ ถือหุ้นแทน 336,340,150 หุ้น ,  นางสาวยิ่งลักษณ์ ถือหุ้นแทน 20,000,000 หุ้น  บริษัทแอมเพิลริชฯ ถือหุ้น 329,200,000 หุ้น  จากนั้นในวันที่ 20 มกราคม 2549  บริษัทแอมเพิลริชฯ โอนหุ้นให้ น.ส.พิณทองทา ถือหุ้นแทน 164,600,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้ นายพานทองแท้ ถือหุ้นแทนอีก 164 ,600,000 หุ้น

 

สรุปได้ว่า ขณะที่นายทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ภรรยา มีผู้ถือหุ้นแทน ดังนี้ 1.นายพานทองแท้ 458,550,000 หุ้น , 2.น.ส.พิณทองทา  604,600,000 หุ้น , 3.นายบรรณพจน์ 336,340,150 หุ้น และ 4. น.ส.ยิ่งลักษณ์  20,000,000 หุ้น รวมทั้งสิ้น 1,419,490,150 หุ้น

โดยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนายบรรณพจน์   รวมถึงการโอนหุ้นให้แก่นายพานทองแท้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ นายบรรณพจน์ นั้น  คณะทำงานอัยการเชื่อว่า  ไม่มีการซื้อขายกันจริง  แต่เป็นเพียงการทำให้บุคคลอื่น  เชื่อว่ามีการซื้อขายเท่านั้น และตั๋วสัญญาใช้เงินเชื่อว่าเป็นการจัดทำขึ้นภายหลัง  โดยจำนวนหุ้นดังกล่าวยังคงเป็นของ  นายทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน  ส่วนบริษัทแอมเพิลริชฯ  ที่ นายทักษิณ ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว  ระบุว่า ได้ขายหุ้นของบริษัทให้แก่นายพานทองแท้ ในราคา 1,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543  ก็มีเพียงหนังสือของนายพานทองแท้ โดยลำพังเท่านั้น  ที่แจ้งต่อ ก.ล.ต.  ซึ่งก็เป็นระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี จึงมีการมาแจ้ง  กระทั่้งเมื่อ ก.ล.ต.ตรวจสอบ  ได้พบข้อเท็จจริงว่า  นายพานทองแท้   ได้ซื้อและเข้าถือหุ้นแทน นายทักษิณ  

 

สอดคล้องกันกับการตรวจสอบของ ดีเอสไอ และ ก.ล.ต. ที่มีหลักฐานว่า บริษัทวินมาร์ค จำกัด  เป็นนิติบุคคลอำพราง  โดยการถือหุ้น หรือเป็น นอมินี ของนายทักษิณและคุณหญิงพจมาน   ซึ่งเมื่อหุ้นชินคอร์ปฯ ที่ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชฯ และ หุ้นชินคอร์ป ที่ถือโดยบริษัทวินมาร์ค   มาฝากรวมกันที่ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากทม. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544  จึงทำให้หุ้นมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว  แสดงว่า ในเดือนสิงหาคม 2544  นายทักษิณ ยังเป็นเจ้าของบริษัท แอมเพิลริชฯอยู่  ส่วนข้ออ้างว่ามีการโอนขายให้แก่ นายพานทองแท้  เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม  2543 นั้น ฟังไม่ขึ้น  ด้วยการชำระเงินค่าซื้อขายหุ้นเป็นการจ่ายเงินผ่านบัญชีของคุณหญิงพจมานทั้งสิ้น

 

ดังนั้นหลักฐานจากการไต่สวนหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ จำนวนกว่า ร้อยละ 48 ที่จำหน่ายได้ ยังเป็นของ  นายทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน  ที่มีผู้มีชื่อดังกล่าวถือหุ้นไว้แทน การที่ นายทักษิณ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี 2 วาระ นั้นก็เสมือนยังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ  1,419,490,150 หุ้น  คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้น และ นายทักษิณเลือกที่จะไม่แสดงรายการหุ้นดังกล่าวแก่ ป.ป.ช.

 

ขณะที่ต่อมา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549  นายทักษิณก็ประกาศขายหุ้นทั้งหมดให้แก่  กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศ สิงคโปร์  โดยมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และ บริษัทแอสแพน โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นผู้ซื้อ 69,722,880,932.05 บาท และตั้งแต่ปี 2546-2548 บริษัทชินคอร์ปฯ ได้จ่ายเงินปันผลเป็นเงิน 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นทั้งหมด 76,621,603,061.05 บาท  จึงเท่ากับว่าาทรัพย์สินทั้งหมดในช่วงการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการได้มาโดยไม่สมควร

 

นอกจากนี้ จากพยานหลักฐานยังฟังได้ว่า บริษัท วินมาร์ค และบริษัทแอมเพิลริช เป็นของ นายทักษิณ โดยการให้บุตรและเครือญาติถือหุ้นแทน  เนื่องจากการซื้อขายกันนั้นเป็นราคาต้นทุนที่ซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดเป็นอันมาก และการซื้อขายจะไม่มีการชำระเงินจากผู้ซื้ออย่างแท้จริง แต่จะใช้วิธียืมเงินผู้ขายหรือ ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยเงินปันผลทั้งหมดต้องส่งคืนให้กับ พ.ต.ททักษิณ และคุณหญิงพจน์มาน ทั้งหมด

 

 

ไม่เท่านั้นมูลฐานความผิดระหว่างที่นายทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ยังพบว่ามีการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ปฯและบริษัทในเครืออีก 5 กรณีคือ

1. กรณีการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบเอื้อประโยชน์ชินคอร์ปหรือไม่

2. การแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษี สรรพสามิต

3. การแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ฉบับลงวันที่ 27มีนาคม 2533(ครั้งที่7) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม(Roaming) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับและ กรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปฯและบริษัทเอไอเอส

4. ละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการ ดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปฯและบริษัทชินแซทฯ

5.กรณีอนุมัติให้รัฐบาลพม่า กู้เงิน 4,000,000,000 บาท จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชินแซทฯ

 

 

โดยการพิจารณาของคณะทำงานอัยการ เห็นว่ามาตรการเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปฯทั้ง 5 ประการล้วนแต่มีลักษณะไม่สมเหตุผล  บิดเบือนหลีกเลี่ยงขั้นตอนการตรวจสอบของกฎหมาย  สร้างความเสียหายต่อส่วนรวมอย่างร้านแรง จนทำให้วินิจฉัยได้ว่า เป็นประโยชน์โดยมิชอบที่ฝ่ายบริหาร ที่ นายทักษิณดูแลรับผิดชอบ จงใจเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนโดยเฉพาะ

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงรายละเอียดคำฟ้องของอัยการสูงสุดต่อประเด็นความผิดของนายทักษิณ  อดีตนายกรัฐมนตรี   ซึ่งเกี่ยวโยงกับการใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมือง  แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเพื่อตนเอง  จึงขอให้มีคำพิพากษายึดทรัพย์จำนวน  76,261.6 ล้านบาท กลับคืนสู่แผ่นดิน  ก่อนในที่สุดองค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก  จะมีคำวินิจฉัยให้ยึดทรัพย์  นายทักษิณ  ชินวัตร  !!!  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระชากความจริงเบื้องหลัง​ "พลังบริสุทธิ์" คนรุ่นใหม่​ของ​ธนาธร​ คือ​ เครือข่าย​ IO​ จัดตั้งของธนาธรและแนวร่วมทักษิณ

"ทักษิณ"เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข??

พูดได้..แต่ทำไม่ได้! ขรก.คลัง เผย นโยบายอนค.เพ้อฝัน ชี้ "ธนาธร" อันตรายกว่า "ทักษิณ"

ใครกันแน่ เป็นปฏิปักษ์การปกครอง.."บิ๊กตู่-ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ?

"สนธิญาณ"ฟันธง!! "ทักษิณ"หลอก "หญิงหน่อย"เพื่อไทยหลอกประชาชน...คนไทยเชื่อไหม ?