ใครอยากเป็นนายกฯ ฟังไว้! ปชช.ส่วนใหญ่ เลือกพรรคการเมืองที่ถูกใจ-นโยบายต้องทำได้จริง ไม่ใช่ดีแต่พูด...!

นิด้าโพล สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “คุณสมบัติของ ส.ส. และ พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ” ผลสำรวจพบส่วนใหญ่ต้องการพรรคการเมืองที่ถูกใจ และมีนโยบายที่ทำได้จริง

วันนี้ 24 กุมภาพันธ์  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณสมบัติของ ส.ส. และ พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณสมบัติ (ลักษณะ) ของ ส.ส. และ พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ 

 

หาเสียง


 
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ท่านจะตัดสินใจลงคะแนนโดยการเลือกบุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.) หรือพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.39 ระบุว่า พรรคการเมือง รองลงมา ร้อยละ 32.64 ระบุว่า ทั้งบุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.) และพรรคการเมือง และร้อยละ 30.97 ระบุว่า บุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.) 

เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะเลือก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.71 ระบุว่า มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รองลงมา ร้อยละ 22.46 ระบุว่า ส.ส. ที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน ร้อยละ 20.45 ระบุว่า มีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 10.66 ระบุว่า ไม่มีประวัติด่างพร้อย ร้อยละ 9.16 ระบุว่า เป็นคนรุ่นใหม่ ร้อยละ 5.65 ระบุว่า มีประสบการณ์ทางการเมือง (เคยเป็น ส.ส./ส.ว./ส.จ./นักการเมืองท้องถิ่น) ร้อยละ 3.26 ระบุว่า สังกัดพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายที่ถูกใจ ร้อยละ 3.14 ระบุว่า สังกัดพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ ร้อยละ 1.38 ระบุว่า เป็นลูกหลานของคนในพื้นที่/อยู่ในท้องถิ่นเดิม และร้อยละ 0.13 ระบุว่า เป็นทายาทนักการเมือง/ผู้มีชื่อเสียง 

 

หาเสียงเลือกตั้ง

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงคุณสมบัติของพรรคการเมือง ที่จะเลือก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.97 ระบุว่า นโยบายพรรค รองลงมา ร้อยละ 38.50 ระบุว่า ผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ประจักษ์ ทำได้จริง ร้อยละ 7.63 ระบุว่า จุดยืนของพรรค ร้อยละ 6.47 ระบุว่า หัวหน้าพรรค ร้อยละ 3.01 ระบุว่า มีผู้สมัคร ส.ส. ที่ชื่นชอบอยู่ในพรรค ร้อยละ 1.50 ระบุว่า เป็นพรรคที่ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐบาลหลายครั้ง และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในพรรค 

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.46 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.18 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.27 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.35 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.49 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.27 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.96 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.74 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.72 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.67 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.38 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.83 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุศาสนา 

 

พรรคประชาธิปัตย์หาเสียง

ตัวอย่างร้อยละ 21.55 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.22 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.39 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 30.49 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.65 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.26 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.22 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุการศึกษา 

 

พรรคอนาคตใหม่หาเสียง

 

ตัวอย่างร้อยละ 10.21 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.85 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.56 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.84 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุอาชีพ 

 

พลังประชารัฐหาเสียง

ตัวอย่างร้อยละ 13.97 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.94 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.81 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.22 ไม่ระบุรายได้


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"" หาเสียงขาขวิด แซะหนักคนอยากเป็นนายกฯ หน้าด้าน?...ชี้ ปชช. เจ็บแล้วต้องจำ    
เตือนมาเพื่อทราบ! เลือกตั้งปีนี้ ปชช. ขอนโยบายทำได้จริง พูดจริง ทำจริง ไม่ขี้โม้!

รอบก่อนจะยกเลิกเกณฑ์ทหาร..ครั้งนี้ลามมา รด.? "อนาคตใหม่" เอาอีก บุกเมืองย่าโม อ้างปชช.เห็นด้วย ถาม "ทำไมต้องเรียนรด."