- 20 มี.ค. 2562
วันนี้ 20 มี.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานข้อสรุปหลังการประชุมครม. วานนี้ ว่า นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ 2,922 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกร ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา
วันนี้ 20 มี.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานข้อสรุปหลังการประชุมครม. วานนี้ ว่า นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ 2,922 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกร ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62 รายละ 600 บาท ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 4.87 ล้านไร่ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมโอนเงินของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 2.27 ล้านบาท และงบบริหารโครงการฯ วงเงิน 8.15 ล้านบาท ซึ่งจะใช้งบของกรมส่งเสริมการเกษตร
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62 ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าสูบน้ำ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องสูบน้ำ และการบริหารจัดการศัตรูพืชสูงกว่าฤดูกาลปกติ โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นๆ ในนา เช่น พืชไร่ พืชผัก พืชใช้น้ำน้อย ยกเว้นอ้อยและสับปะรด
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. อนุมัติงบช่วยเหลือตามโครงการฯ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี ที่ปลูกพืชใช้น้ำน้อยระหว่าง 1 พ.ย. 2561-31 มี.ค. 2562 ต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 31 พ.ค. 2562, พื้นที่นอกเหนือจากพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่งและภาคใต้ ทำการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยระหว่าง 1 พ.ย. 2561-31 มี.ค. 2562 ต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2562 และพื้นที่ภาคใต้ ทำการเพาะปลูก 1 มี.ค.-15 มิ.ย. 2562 และต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 15 ส.ค. 2562
"กระทรวงเกษตรฯ ได้ของบประมาณ 7,433.11 บาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกร ครอบคลุมไปถึงชาวนาที่ทำนาปรัง แต่ด้วยสถานการณ์ที่ขณะนี้น้ำแล้ง ไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการ สำนักงบประมาณจึงมีการท้วงติงว่า ขณะนี้ผลผลิตข้าวในระบบก็เกินความต้องการอยู่แล้ว และที่สำคัญชาวนาได้รับการช่วยเหลือในเรื่องของค่าครองชีพไปแล้วเมือการทำนาปี จึงได้ตัดงบประมาณในส่วนการช่วยเหลือชาวนาออกไป กว่า 4.4 พันล้านบาท" นายณัฐพร ระบุ
และกล่าวเพิ่มเติมว่า ฤดูแล้งหลังนาปี 2561/62 กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังและพืชฤดูแล้งที่สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยได้กำหนดแผนการ เพาะปลูกที่เป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้ จำนวน 16.08 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 11.21 ล้านไร่ และพืชไร่ พืชผัก จำนวน 4.87 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกพืชหลังฤดูกาลทำนาดังกล่าว เกษตรกร ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าสูบน้ำ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องสูบน้ำ
และการบริหารจัดการศัตรูพืชสูงกว่าฤดูกาลปกติ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ กระทรวงเกษตรฯ จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีการเสริมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62 ให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเป็นการลดภาระค่าครองชีพควบคู่ไปกับการสร้างความ เข้มแข้งให้กับเกษตรกรให้สามารถรักษาศักยภาพการผลิตให้ต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเยียวยา ความเดือดร้อนดังกล่าว ที่จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรมีความมั่นคงเข้มแข็งในการประกอบอาชีพต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชาวบ้านเฮ...ผลงานชิ้นโบว์แดงรัฐบาลคสช.! กขป.5 ปล่อยคลิป "ยุคลุงตู่" ปลดใบเหลืองได้แล้ว!
- "รัฐบาล" อนุญาตให้หา-กินของป่าในเขตอนุรักษ์ได้ (รายละเอียด)
- รวมเล่มเตรียมแจกประชาชน ผลงานรัฐบาล 4 ปี 6 ด้าน ระบายข้าว 16 ล้านตัน!