- 06 เม.ย. 2562
ก๊วนนักวิชาการแถลงการณ์หนุนพรรคอนาคตใหม่ พบเป็นสมาชิกพรรคอยู่แล้ว แถมอึ้ง!ได้อีกมีพวกลงชื่อแก้ม.112หลายคน
จากกรณีเฟซบุ๊ก “ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ได้เผยแพร่แถลงการณ์จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยหลายแห่งและนิสิต - นักศึกษาระดับปริญญาเอก รวม 69 คน เรื่อง “การแทรกแซงการเลือกตั้งและการคุกคามพรรคการเมือง คือการบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย” ดังนี้
“หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม คนไทยและประชาคมโลกย่อมคาดหมายว่าทุกฝ่ายในสังคมไทย รวมทั้งกองทัพจะร่วมมือกันในการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อเป็นกลไกในการปกครองประเทศตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย แต่กลับปรากฏว่าได้เกิดกระแสกดดันต่อพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 3 ในการเลือกตั้ง โดยนำเอาหน้าที่ในการปกป้องสถาบันหลักของชาติมาเป็นข้ออ้าง และสร้างความรู้สึกโกรธเคืองและเกลียดชังต่อพรรคการเมืองดังกล่าว ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519”
“การสร้างความเกลียดชังที่คนไทยกระทำต่อกัน สามารถที่จะนำไปสู่การนองเลือดและการสูญเสียทางจิตใจอย่างใหญ่หลวง และยังทำให้สังคมไทยถูกประณามจากสังคมโลก กลายเป็นอุปสรรคของการลงทุนและการท่องเที่ยว จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศต้องทรุดโทรมลงจนยากจะเยียวยาด้วย ทุกฝ่ายทุกสถาบันในสังคมไทยจึงควรปล่อยให้การจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภาดำเนินไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยโดยไม่เข้าไปแทรกแซง และไม่ใช้วิธีการโจมตีคู่แข่งทางการเมือง แต่ควรแข่งขันกันในเชิงนโยบายและการเสนอโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน”
“แท้ที่จริงแล้วในระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองทุกคนและพรรคการเมืองทุกพรรค มีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเสนอนโยบายให้ประชาชนพิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องปรกติที่แต่ละฝ่ายจะมีความเห็นแตกต่างกัน และบทบาทในอดีตของนักการเมืองที่นำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ในฐานะที่เป็นนักวิชาการ ก็ไม่ควรถูกนำมาเป็นข้อโจมตีในปัจจุบัน เพราะเป็นการทำหน้าที่ของนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักการของเสรีภาพทางวิชาการโดยมิได้ละเมิดกฎหมายใดๆ”
“นักวิชาการที่มีรายนามข้างล่างนี้ จึงใคร่ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายรวมทั้งกองทัพ เคารพกติกาของระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย 1.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4.กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5.กังวาฬ ฟองแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา”
“6.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7.เกษม จันทร์ดำ นักวิชาการอิสระ 8.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 9.โกสุมภ์ สายจันทร์ นักวิชาการอิสระ 10.ขจิตา ศรีพุ่ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 11.ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก 12.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13.ชยันต์ วรรธนภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 14.ชัยณรงค์ เครือนวน ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา”
“15.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 16.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 17.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 18.ดรุณี ไพศาลพาณิชกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19.ดารุณี อยู่ยัง นักวิชาการอิสระ 20.ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 21.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 22.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา”
“23.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 24.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25.นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 26.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27.นันท์ชญา มหาขันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 28.เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 29.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30.ประภาส ปิ่นตกแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
“31.ปราการ กลิ่นฟุ้ง นักวิจัยอิสระ 32.ปวงชน อุนจะนำ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 33.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 34.ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 35.พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 36.พลอยศรี โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 37.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร 38.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ 39.มนต์ชัย ผ่องศิริ นักวิจัยอิสระ 40.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา”
“41.มานะ นาคำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 42.มาลี สิทธิเกรียงไกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 43.รจเรข วัฒนพาณิชย์ นักวิชาการอิสระ 44.เรวัตร หินอ่อน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45.วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 46.วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ 47.วราภรณ์ เรืองศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 48.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”
“49.วีระพงศ์ ยศบุญเรือง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 50.ศราวุฒิ วิสาพรม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 51.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 52.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 53.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 54.สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 55.สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”
“56.สิริพร สมบูรณ์บูรณะ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 57.สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 58.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 59.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 60.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
“61.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 62.อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 63.อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 64.อัจฉรียา สายศิลป์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 65.อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์”
“66.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 67.โอฬาร อ่องฬะ นิสิตปริญญาเอก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 68.Craig Reynolds The Australian National University 69.Robert Dayley The College of Idaho”
อย่างไรก็ตามพบว่ารายชื่อดังกล่าวมีคนที่เป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ด้วยรวมทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายปิยบุตร แสงกนกกุลเป็นอย่างดี เช่น นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ นายเกษียร เตซะพีระ อุเชนทร์ เชียงเสน และนอกจากนี้ยังพบอีกว่า นายอนุสรณ์ อุณโณ ยังเป็นหนึ่งในเครือข่ายนักวิชาการกลุ่มคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งนายชาญวิทย์และนายเกษียร ก็เป็นกลุ่มนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อให้แก้ไขมาตรา112ด้วยเช่นกัน