เปิดข้อมูลยศ "นายกองใหญ่" ที่ "ทักษิณ" โดนถอดยศ  มีความสำคัญแค่ไหน?

เปิดข้อมูลยศ "นายกองใหญ่" ที่ "ทักษิณ" โดนถอดยศ มีความสำคัญแค่ไหน?

วันที่ 8 เมษายน ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระราชทานพระราชานุญาตถอดยศ 'นายทักษิณ ชินวัตร' พ้นจาก 'นายกองใหญ่' กองอาสารักษาดินแดน หลังมีพระราชโองการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา เหตุต้องคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดให้จำคุกและหลบหนีออกนอกประเทศ 

ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศ พระราชทานพระราชานุญาตถอดยศกองอาสารักษาดินแดน เนื้อหาใจความว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  -ด่วน!ถอดชื่อ ทักษิณ ออกจาก ศิษย์เก่าดีเด่น รร.เตรียมทหาร เรียกคืนรางวัลเกียรติยศ!

 

 

ตามที่ทรงมีพระราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา นายทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ลงโทษจำคุก และยังมีข้อหาฐานอื่นๆ อีกหลายคดี อีกทั้ง ได้หลบหนีออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นพฤติการณ์การกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ประกาศลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๒ แล้วนั้น

บัดนี้ กระทรวงมหาดไทยขอพระราชทานถอดยศกองอาสารักษาดินแดน นายทักษิณ ชินวัตร ออกเสียจากยศ นายกองใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เนื่องจากมีการกระทำความผิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำคุก และเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาแล้วหลบหนีไป ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติ ยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.๒๔๙๗

อย่างไรก็ตาม ... ความสำคัญของยศ "นายกองใหญ่"  จากข้อมูลพบว่า ตำแหน่งดังกล่าวถือเป็นลำดับยศสูงสุดของ'ผู้บังคับบัญชา' และ 'เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน' ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก “ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ” ระบุลำดับยศ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)

ยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ระบุชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนไว้ตามลำดับดังนี้

 

เปิดข้อมูลยศ \"นายกองใหญ่\" ที่ \"ทักษิณ\" โดนถอดยศ  มีความสำคัญแค่ไหน?

 

1.นายกองใหญ่ 2.นายกองเอก 3.นายกองโท  4.นายกองตรี  5.นายหมวดเอก 6.นายหมวดโท  7.นายหมวดตรี  8.นายหมู่ใหญ่  9.นายหมู่เอก 10.นายหมู่โท 11.นายหมู่ตรี

 
ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้ที่จะได้รับยศผู้บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดนตั้งแต่ชั้นยศนายหมวดตรีขึ้นไป จะต้องกระทำโดยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศ เช่นเดียวกับการพระราชทานยศทหารและตำรวจ เมื่อจะถอดยศผู้ที่ได้รับชั้นยศนายกองตรีขึ้นไป ก็ต้องกระทำโดยพระบรมราชโองการเฉกเช่นกัน ....

 

ขณะเดียวกันทางด้านของชั้นยศตั้งแต่ชั้นยศนายหมู่ใหญ่ลงมานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้รับผิดชอบ เป็นผู้แต่งตั้งยศได้ และในกรณีที่ถอดยศผู้ที่ได้รับชั้นยศตั้งแต่ชั้นยศนายหมู่ใหญ่ลงมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เป็นผู้สั่งถอดยศได้


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

-ผบ.สส.แจงแล้วริบรางวัลเกียรติยศจักรดาวทักษิณ จาบจ้วงไม่รู้ที่สูงที่ต่ำ

-เรียกคืนเครื่องราชฯจาก "ทักษิณ ชินวัตร"

กองอาสารักษา เกิดขึ้นมาอย่างไร

ในวารสารครบรอบ 63 ปี วันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ระบุว่า กองอาสารักษาดินแดนมีประวัติความเป็นมาเคียงคู่กับการกอบกู้เอกราช และการรักษาอธิปไตยของประเทศชาติมาโดยตลอด สามารถพิจารณาได้เป็น 5 ยุค ได้แก่

ยุคแรก : ยุคประวัติศาสตร์กอบกู้เอกราชและรักษาแผ่นดินไทย ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ศึกบางระจัน ศึกถลาง (ท้าวเทพกษัตรีย์ท้าวศรีสุนทร) ศึกเมืองนครราชสีมา (ท้าวสุรนารี) ฯลฯ


ยุคที่สอง : ยุคกองเสือป่าในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยุคที่สาม : ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง จนถึง พ.ศ. 2497 ที่ได้มี พ.ร.บ. จัดตั้งกองอาสารักษาดินแดนขึ้น
ยุคที่สี่ : ยุคสงครามเย็น หรือยุคการต่อสู้ทางแนวความคิดกับ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์


ยุคที่ห้า : ยุคปัจจุบัน ที่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ทั่วโลกมุ่งไปที่ภัยก่อการร้ายการขัดแย้งทางความคิดอันเนื่องมาจากการเปลี่ยน ผ่านทางการเมือง และปัญหายาเสพติด

 

ทั้งนี้ พล.ต.ถนอม ปัทมานนท์ อดีตเจ้ากรมยุทธการทหารบก กรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นมาและเหตุผลความจำเป็นในการมีกองอาสารักษาดินแดนไว้ในวารสารดังกล่าวว่า

 

"ในขณะที่การรบกำลังติดพันกันอยู่นั้น กำลังทหารส่วนใหญ่มักจะถูกส่งไปทำการรบอยู่ข้างหน้า อาจจะเป็นในดินแดนของฝ่ายข้าศึก หรือไม่ก็เป็นบริเวณชายแดนภายในประเทศ เราจึงจะมีปัญหาเกิดตามขึ้นมาอีกปัญหาหนึ่งว่า จะใช้กำลังส่วนใดทำการรักษาเขตภายในหรือเขตหลังแทนทหารประจำการที่ได้ส่งออกไปนั้น จะใช้ตำรวจก็มีกำลังไม่พอ และการจัดตำรวจขึ้นก็เพื่อจะดูแลความเรียบร้อยในหมู่ประชาชนภายในบ้านเมืองมากกว่า"


นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ. กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ภายหลังการแก้ไขตามฉบับที่ 2 พ.ศ. 2505 ได้ระบุถึงภารกิจของกองอาสารักษาดินแดนไว้มาตรา ดังนี้

1) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก
2) ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
3) รักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม


4) ป้องกันการจารกรรม สดับตรับฟังและรายงานข่าว
5) ทำความช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการและตัดทอนกำลังของข้าศึก
6) เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น

 

อย่างไรก็ดี ยศนายกองใหญ่ เป็นยศที่สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ เช่นที่ปรากฏในวารสารครบรอบ 63 ปี วันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ซึ่ง 'พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน โดยตำแหน่ง ได้ลงชื่อว่า 'นายกองใหญ่ อนุพงษ์ เผ่าจินดา'

 

อีกทั้ง ที่ผ่านมายังมีการพระราชทานยศ นายกองใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ แก่นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลด้วย ... จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตถอดยศกองอาสารักษาดินแดน นายทักษิณ ชินวัตร ออกเสียจากยศ นายกองใหญ่

 

เปิดข้อมูลยศ \"นายกองใหญ่\" ที่ \"ทักษิณ\" โดนถอดยศ  มีความสำคัญแค่ไหน?


ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน