ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

ดูเหมือนจะยุ่งยากมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเส้นทางการเมืองของ นาธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ที่ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องการโอนหุ้น บริษัท  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”  เพราะเจ้าตัวอ้างว่ามีการขาย-โอนหุ้นให้ นางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ ไปตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562  ก่อนจะสมัครรับเลือกตั้ง

แต่กลายเป็นว่าเอกสารหลักฐานที่ปรากฏออกมา โดยการตีแผ่ของสื่อมวลชน  เห็นชัดเจนว่าผลอย่างเป็นทางการที่สามารถนำใช้อ้างอิงได้จริง ตามคำพิพากษาศาลฎีกา โดยการนำเสนอของ “สนข.ทีนิวส์” จะต้องถือว่าการโอนหุ้นเกิดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2562 หรือไม่

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

ย้ำอีกครั้งว่า ในกรณีที่ใกล้เคียงกับการโอนหุ้น  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”  ของนายธนาธร  ซึ่งกำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ เคยมีตัวอย่าง  คำพิพากษาฎีกาที่ 5873/2546 (การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกได้)   ระบุว่า   การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

โดยสาระความของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1129  เขียนไว้ดังนี้

   

มาตรา 1129  อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย

       

การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

ย้ำอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ที่ “สนข.ทีนิวส์” ตั้งเป็นข้อสังเกตก่อนหน้า   ก็คือ  กรณีการขาย-โอนหุ้น  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”   ของนายธนาทร กับนางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ทำไมไม่ดำเนินการตั้งแต่ที่ตัดสินใจจะเดินเข้าสู่ถนนการเมือง  ด้วยการประกาศลาออกจากกรรมการบริษัท บมจ.มติชน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561 

 

แต่กรณีนี้กลับปล่อยให้เลยเถิดมาจนถึงวันที่ 8 มกราคม 2562  แถมยังไม่มีการนำแจ้งนายทะเบียน  กระทรวงพาณิชย์ ให้เสร็จเรียบร้อย แต่ทอดเวลามาจนถึงวันที่ 21  มีนาคม 2562  ให้เกิดเป็นข้อสงสัย ด้วยคำตอบจากนายธนาธร  ครั้งแล้วครั้งเล่า  แค่ว่าเรื่องของขาย-โอนหุ้นพอหลังจากวันที่ 8 มกราคม 2562 แล้วก็จบ ที่เหลือเป็นเรื่องของ  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”   

 

มิหนำซ้ำการโพสต์อธิบายยาวเหยียดในวันที่ 2  เมษายน 2562  ที่เจ้าตัวใช้เวลารวบรวมข้อมูลถึง 10 วันหลังจากออกมาตอบโต้ข้อสังเกตเรื่องการขาย-โอนหุ้นครั้งแรก เมื่อวันที่  23 มีนาคม   2562  ว่า” กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน ตนและภรรยาโอนหุ้นไปตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562  ที่ผ่านมา  1  เดือนก่อนการยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาทางกฎหมายในเรื่องนี้ ขอให้มั่นใจว่าคะแนนที่กาให้กับพรรคอนาคตใหม่จะไม่สูญเปล่า”    กลับยิ่งทำให้ประเด็นข้อสงสัยกลายเป็นเงื่อนปมผูกมัดการกระทำของนายธนาธร  และ นางสมพร   ผู้เป็นแม่ให้รัดแน่นยิ่งขึ้นไปด้วยซ้ำ

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 


 

เรื่องนี้ต้องย้ำให้ชัดเจนว่า  พฤติการณ์ของนายธนาธรที่ระบุว่ามีการซื้อ-โอนหุ้น  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย” ในวันที่ 8 มกราคม 2562  หรือ ก่อนจะยื่นเอกสารสมัครรับเลือกตั้ง ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562   โดยหลักการก็เพื่อให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง  ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98  และ  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42  

ซึ่งระบุถึงข้อห้าม  บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   โดยเฉพาะเนื้อความในวงเล็บ  (3)  ระบุชัดเจนถึงข้อห้าม สำหรับบุคคลที่เข้าข่าย   การเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

ขณะที่กระบวนการเตรียมการสมัครรับเลือกตั้งของนายธนาธร  ในฐานะหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ต้องถือว่าถูกจัดการมาเป็นลำดับ   ด้วยเจ้าตัวหรือทีมกฎหมายพรรคอนาคตใหม่ ก็รู้อยู่แล้วว่ามีข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญเรื่อง  การถือครองหุ้นสื่อ   นับจากนายธนาธรนำส่งจดหมายถึง คณะกรรมการ บริษัท มติชน (มหาชน)  จำกัด  แสดงเจตจำนงลาออกจากกรรมการบริษัท   โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม  2561 

 

จุดไฮไลต์หลักเช่นที่กล่าวไว้ตอนต้น คำอธิบายของนายธนาธรล่าสุดกลับยิ่งทำให้ข้อสงสัยมีน้ำหนักมากขึ้น  แยกเป็นแต่ละประเด็น  ประกอบด้วย

 

1.เช็คธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาถนนบางนา-ตราด (เซ็นทรัลซิตี้) ขีดคร่อมผู้ถือ (A/C PAYEE ONLY) ฉบับลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562  สั่งจ่าย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเป็นเงินจำนวน 6,750,000 บาท เป็นกระบวนการทางธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่  ถึงขั้นมีการตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่  เนื่องจากมีคำกล่าวอ้างว่าการโอนหุ้นในวันดังกล่าว  มีการลงลายมือชื่อต่อหน้าพยาน 2 คน

 

“สนข.อิศราตรวจสอบพบว่า ในวันที่ 8 มกราคม 2562 การโอนหุ้นในวันดังกล่าวตามคำชี้แจงของนายธนาธรแล้ว พบข้อมูลเพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนอย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่ ข่าวสด (โพสต์ข่าวเมื่อ 14.55 น.) ไทยรัฐ (โพสต์ข่าว เมื่อ 15.11 น. ) แนวหน้า โพสต์ข่าวเมื่อ 18.22 น. และช่อง 7 (เจาะสนามเลือกตั้ง 62 วันที่ 8 ม.ค.62) รายงานว่า วันที่ 8 มกราคม 2562 นายธนาธรเดินทางไปเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดบุรัมย์ ทั้ง 8 เขต”

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

2.กรณีการประชุมผู้ถือหุ้น  บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด  ในวันที่ 19  มีนาคม  2562  ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตุถึงจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน ทั้ง ๆ ที่ควรจะเหลือแค่ 8 คน ในกรณีที่นายธนาธร และ ภรรยา ลาออก  ตามข้อมูลของสำนักข่าวอิศรา

 

บริษัทฯได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น  ครั้งที่ 1/2562  เมื่อวันที่ 19  มีนาคม  2562   ณ สนามไดร์ฟกอล์ฟเบอร์ดี้ไฟว์  ห้องประชุมชั้น 2 เลขที่ 43/10 ม.6 ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ   ยังคงมีกรรมการ/ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน   ทั้ง ๆ  ที่ควรจะเหลือกรรมการ/ผู้ถือหุ้น  8  คน  เข้าร่วมประชุม  เนื่องจากนายธนาธรและภริยา ไม่ได้เป็นกรรมการ” 

 

3.กรณีการโอนหุ้นไปมาระหว่างนางสมพร กับหลาน 2 คนที่ถูกกล่าวอ้างโดยนายธนาธร  ภายหลังถูกซักค้านอย่างหนักเรื่องจำนวนผู้เข้าประชุมผู้ถือหุ้น  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”   จนเป็นที่มาคำถามมากมายถึงความจำเป็นในการโอนหุ้นดังกล่าว ซึ่งจำนวนหุ้นส่วนหนึ่งก็เป็นหุ้นที่นายธนาธรถือครองอยู่เดิม  และก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยปรากฏในคำชี้แจงต่อสาธารณชน

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

“เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562  นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้โอนหุ้นจำนวน 675,000 หุ้น เลขหมายใบหุ้น ตั้งแต่ 1350001 ถึง 2025000 ให้แก่คุณเอ (หลานชายคนที่ 1) โดยทำเป็นหนังสือตราสารโอนหุ้น ระหว่างนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้โอน กับคุณเอ ฉบับลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน พร้อมนี้ ผู้โอนและผู้รับโอน กับพยานทั้งสองคน ได้ลงลายมือชื่อในตราสารโอนหุ้นดังกล่าวต่อหน้าทนายความผู้ทำคำรับรอง (ทนายความโนตารี)

 

และในวันเดียวกัน ( 14 มกราคม 2562)  นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ  ยังโอนหุ้นจำนวน 225,000 หุ้น เลขหมายใบหุ้น ตั้งแต่ 3150001 ถึง 3375000 ให้แก่คุณบี (หลายชายคนที่ 2) โดยทำเป็นหนังสือตราสารโอนหุ้น ระหว่างนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้โอน กับคุณบี ผู้รับโอน ฉบับลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน พร้อมนี้ ผู้โอนและผู้รับโอน กับพยานทั้งสองคน ได้ลงลายมือชื่อในตราสารโอนหุ้นดังกล่าวต่อหน้าทนายความผู้ทำคำรับรอง (ทนายความโนตารี)

ส่งผลทำให้ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2562  เป็นต้นมา บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด จึงมีผู้ถือหุ้นคงเหลือจำนวน 10 คน 

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

ก่อนในวันที่ 21 มีนาคม   2562   คุณเอ (หลานชายคนที่ 1) และคุณบี (หลานชายคนที่ 2) จะโอนหุ้นจำนวน 675,000 หุ้น  เลขหมายใบหุ้น ตั้งแต่ 1350001 ถึง 2025000 และโอนหุ้นจำนวน 225,000 หุ้น เลขหมายใบหุ้น ตั้งแต่ 3150001 ถึง 3375000  กลับคืนให้แก่คุณสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ตามลำดับ โดยทำเป็นหนังสือตราสารโอนหุ้น ฉบับลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

 

เพียงบางส่วนของคำถามคาใจที่ถูกเปิดประเด็นโดยสำนักข่าวอิศรา  และนายธนาธรพยายามค้นหาข้อมูลมาชี้แจง แต่กลับทำให้เกิดข้อสงสัยมากขึ้น  จนกลายเป็นที่มาของการตั้งประเด็นสรุปประเด็นนำสืบข้อเท็จจริง  เพื่อรอคอยการชี้แจงนายธนาธร   รวมถึงเป็นข้อพิจารณาส่งไปถึงคณะกรรมการเลือกตั้งพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อกรณีดังกล่าว 

 

อาทิเช่น  ข้อคำถามบางประเด็นของสำนักข่าวอิศรา  ในลักษณะเดียวกับ “สนข.ทีนิวส์” ก่อนหน้า  คือ  ทำไม  นางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ไม่จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นให้แล้วเสร็จ นับจากวันที่นายธนาธร  อ้างว่า 8 มกราคม 2562 คือ วันขาย-โอนหุ้น แต่มาปรากฏว่าเป็นเอกสารจดแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 21 มีนาคม 2562

 

มิหนำซ้ำในวันขาย-โอนหุ้นระหว่างนายธนาธร  และ ภรรยา กับนางสมพร ผู้เป็นมารดา  ซึ่งนายธนาธรอ้างว่าถือเป็นสิ้นสุดสภาพการถือหุ้น  เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562  กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่า  นางรวิพรรณ  จึงรุ่งเรืองกิจ  ภริยานายธนาธร  เพิ่งมีการยื่นจดทะเบียนลาออกจากการเป็นกรรมการ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2562  และรวมถึงมีการดำเนินการยื่นต่อนายทะเบียน  เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562     โดยไม่มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันที่ 8 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันขาย-โอนหุ้นตามข้อกล่าวอ้าง  นี่จึงเป็นที่มาของข้อสงสัยในสถานะที่แท้จริงของนายธนาธร  แม้ว่าจะมีความพยายามอ้างข้อเท็จจริงเพื่อมาหักล้างข้องสงสัยหลายครั้ง

 

รวมถึงข้อสงสัยต่อข้อกล่าวอ้างเรื่องการโอนหุ้นให้หลาน  นายธนาธรก็เลือกใช้วิธีปกปิดชื่อบุคคล โดยใช้สรรพนามแทนว่า “เอ และ บี”  และทำไมต้องดำเนินการโอนหุ้นไปมา   นับเนื่องจากวันที่ 8 มกราคม 2562   จากนายธนาธรไปยังนางสมพร   และวันที่ 14 มีนาคม 2562 จากนางสมพร ไปยัง “เอและบี”   ก่อนในวันที่ 21 มีนาคม 2562   “เอและบี”  จะโอนหุ้นกลับมาให้นางสมพรอีกครั้ง    จนถูกมองว่าเป็นการทำธุรกรรมทางธุรกิจที่น่าสงสัยยิ่ง   เพราะหุ้นจำนวนดังกล่าว นางสมพรย่อมถือครองไว้เองแต่เพียงผู้เดียวก็ได้ 

 

รวมถึงก่อนหน้านั้น  นายธนาธรก็ชี้แจงด้วยตัวเองว่า  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”  ประสบปัญหาทางธุรกิจ  จึงเลือกตัดสินใจขายหุ้นจำนวน 675,000 หุ้นให้แก่นางสมพร   แต่ด้วยเหตุผลเดียวกัน ทำไมนางสมพรยังใช้วิธีการโอนหุ้นให้หลานอีกทอดหนึ่ง   ทั้งไม่ได้แสดงรายละเอียดอื่นใดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนหุ้นระหว่างนางสมพร กับหลานทั้งสองคน  

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

นี่จึงเป็นที่มาของการถูกตั้งคำถามว่าการเพิ่มชื่อหลานขึ้นมาเป็นผู้รับโอนหุ้น เจตนาเพียงเพื่อต้องการให้เป็นไป   ตามเอกสารการประชุมผู้ถือหุ้น ในวันที่ 19 มีนาคม 2562  และมุ่งแก้ต่างข้อซักถามของสื่อมวลชนใช่หรือใม่  ??

 

ถึงตรงนี้ประเด็นการถือครองหุ้น  “บริษัท วี-ลัค มีเดีย”   ยังมีอีกหลายประเด็นให้สืบค้นต่อไป  ด้วยวิธีการปฏิบัติในหลายเรื่องที่  นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ในฐานะวิญญูชน  นำชี้แจงไม่อาจทำให้สังคมหายเคลือบแคลงสงสัย 

 

ทั้งการเลือกแสดงเอกสาร หลักฐาน เพียงบางส่วนประกอบการชี้แจง  และขั้นตอนการโอนหุ้นที่ถูกตั้งข้อสังเกตุว่า  ยังไม่เป็นผลทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1129  ซึ่งอาจเท่ากับว่านายธนาธร กระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98  และ  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42  หรือไม่ อย่างไร ... ?

 

ชี้แจงเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น! วิญญูชนอย่าง “ธนาธร” ไม่สงสัยบ้างหรือ  ทำไมแม่โอนหุ้น ”วี-ลัค มีเดีย”ไปมาให้หลาน  แถมอ้างหลักฐานยังคลุมเครือ?

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ธนาธร ถูกทักษิณหลอกใช้ ระวังจบไม่สวย ไม่มีแผ่นดินจะอยู่เหมือนกัน
-ศรีวราห์ชี้ธนาธร ยื่นขอศาลทหารโอนคดีมาศาลพลเรือนได้ เหมือนคดีเสือดำ
-ตำรวจส่งธนาธรขึ้นศาลทหาร โดนแจ้งข้อหาเพิ่ม! เจ้าตัวยอมรับอยู่ในพื้นที่จริง