- 13 เม.ย. 2562
ประเด็นที่น่าสนใจและกำลังกลายที่ talk of the town สนั่นโซเชียล สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำ และได้เกิดกระแสข่าวลือ พรรคเศรษฐกิจใหม่ของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าพรรค
ประเด็นที่น่าสนใจและกำลังกลายที่ talk of the town สนั่นโซเชียล สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำ และได้เกิดกระแสข่าวลือ พรรคเศรษฐกิจใหม่ของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าพรรค ตอบตกลงจะมาเข้าร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ โดยก่อนหน้านี้ ทางฝ่ายของพรรคเพื่อไทย พร้อมพรรคแนวร่วม รวม 6 พรรค ประกอบด้วย 1. เพื่อไทย 2. อนาคตใหม่ 3. เสรีรวมไทย 4. ประชาชาติ 5. เพื่อชาติ และ 6. พลังปวงชนไทย ได้ร่วมแถลงชิงตั้งรัฐบาลอ้างฝ่ายประชาธิปไตยพร้อม "ลงสัตยาบรรณ" ที่ รร.แลงคาสเตอร์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แม้นายมิ่งขวัญหรือตัวแทนจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ จะไม่ได้มาร่วมในงานดังกล่าว แต่ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ก็ได้ยืนยันที่พรรคเศรษฐกิจใหม่จะร่วมอุดมการณ์เดียวกัน เมื่อวันที่27 มี.ค. 62
ล่าสุด13 เม.ย. 62 รายงานข่าวจากพรรคพลังประชารัฐ แจ้งว่า สำหรับความคืบหน้าการรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐนั้น ระบุว่าขณะนี้การรวบเสียงมีความคืบหน้าไปมาก โดยนอกจากพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังท้องถิ่นไทย พรรครักษ์ผืนป่า และพรรคเล็กที่ได้ ส.ส. 1 ที่นั่ง 12 พรรค ที่ไม่น่ามีปัญหาอะไรแล้ว ล่าสุดยังได้เพิ่มอีก 5 เสียงจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ ของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่ตอบตกลงจะมาเข้าร่วม เพราะเห็นว่า หากต้องการแก้ปัญหาให้ประชาชนจำเป็นต้องเป็นรัฐบาลเพื่อมาขับเคลื่อนตามที่ได้หาเสียงไว้
ส่วนตัวนายมิ่งขวัญนั้น ยังเจรจาเงื่อนไขกันอยู่ โดยให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พูดคุย ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ 52 เสียงนั้น จะไม่มายกพรรค เนื่องจากสมาชิกทางฝั่งนายชวน หลีกภัย และคนรุ่นใหม่ในพรรคไม่เห็นด้วยกับการมาร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ว่าที่ ส.ส.ที่นำโดยนายถาวร เสนเนียม ยืนยันว่า จะมาและพร้อมสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เบื้องต้นมีจำนวน 35 คน โดยถึงขณะนี้มั่นใจว่า มีเสียงมากกว่าฝั่งพรรคเพื่อไทยแล้ว
ทั้งนี้แม้เรื่อดังกล่าวจะยังไม่เป็นที่ชัดเจน และยังไม่ได้รับการยืนยันจากพรรคเศรษฐกิจใหม่หรือจากปากของนายมิ่งขวัญเองตาม แต่ขณะนี้ได้เกิดกระแสกล่าวหาและโจมตี พรรคเศรษฐกิจใหม่-นายมิ่งขวัญ อย่างดุเดือด
อาทิ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ “บก.ลายจุด” นักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยระบุว่า "ขอเตือนคุณมิ่งขวัญถ้าคุณไปร่วมชูประยุทธ์กลับคำทรยศสิ่งที่รับปากประชาชนไว้ คุณจะเปลี่ยนจากม้ามืดในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นสิ่งอื่น"
ขณะที่นางสาวพรรณิการ์ วาณิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึงว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน คงต้องรอทางพรรคเศรษฐกิจใหม่ ออกมาแถลงยืนยันอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี สำหรับพรรคอนาคตใหม่เอง เรามองว่า การนำเสนอนโยบายและประกาศแนวทางปฏิบัติ ในช่วงการหาเสียงเปรียบเป็นสัญญาที่นักการเมืองให้ไว้กับประชาชน เมื่อพวกเขาได้รับความไว้วางใจ โดยการได้รับเลือกตั้งมาเป็นตัวแทนของประชาชน จึงต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้ให้เป็นไปตามนั้น หากต้องการให้ภาคประชาชนตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะบรรดาพรรคการเมืองที่หวังจะเล่นการเมืองในระยะยาว เว้นเสียแต่คุณจะเป็นพรรคเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาตามโอกาสฉาบฉวยเท่านั้น ทั้งนี้พรรคอนาคตใหม่เองยืนยันว่าจะทำตามแนวนโยบายที่ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งอย่างแน่นอน
“การทำตามสัญญาที่ให้ไว้ช่วงหาเสียง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ สถาบันที่เป็นพรรคการเมืองนั้นมีความเข้มแข็ง จากความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อ ระบอบประชาธิปไตยผ่านตัวแทนแบบที่ประเทศไทยเป็นอยู่ เราหวังว่าพรรคการเมืองทุกพรรคในประเทศไทย จะทำตามคำสัญญาและแนวนโยบายที่ประกาศตอนหาเสียง เพราะ การที่ประชาธิปไตยจะเข้มแข็งขึ้นได้ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม และทำด้วยความซื่อตรง” โฆษกพรรคอนาคตใหม่ระบุ.
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปพิจารณา แถลงการณ์ของพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่ออกประกาศเมื่อวันที่23 มี.ค.62 แม้จะประกาศชัดเจน ว่าจะไม่ร่วมงานจับมือกับพรรคพลังประชารัฐ แต่พรรคเศรษฐกิจใหม่ หรือนายมิ่งขวัญ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะร่วมรัฐบาลกับฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็น “ประชาธิปไตย” โดยไม่พิจารณาถึงสถานการณ์ทางการเมืองนั้นๆ หากพบว่า มีการทำงานโดยไม่ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อพี่น้องประชาชนชาวไทย และยังประกาศอีกด้วย ว่าพร้อมที่จะถอนตัวทันที (เนื้อหาของแถลงการฉบับดังกล่าวตามภาพประกอบด้านล่าง)
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผานมา ภายหลังจากการ "ลงสัตยาบรรณ 6 พรรค" ในช่วงค่ำของวันเดียวกัน นายมิ่งขวัญ แถลงข่าวยืนยันเกี่ยวกับจุดยืนทางการเมืองผ่านทาง THE STANDARD Daily ย้ำจุดยืน เจตนารมณ์จะอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีเงื่อนไข ฝ่ายประชาธิปไตย ที่ซื่อสัตย์สุจริต โดยระบุว่า..
ยืนยันสถานภาพทางการเมืองมีเงื่อนไขนิดเดียว ใครก็ตามที่บอกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ถ้าคุณไม่ซื่อสัตย์สุจริต ผมจัดการเอง นี่คือคำพูดของนายมิ่งขวัญ ชัดเจนแบบไม่อ้อมค้อม
"ผมจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นี่ก็คือจบแล้วไง จะให้ผมพูดอะไรมากกว่านี้อีก" ตอบคำถามพิธีกรที่ถาม และเมื่อถามว่า ยืนยันว่าจะเข้าร่วมกับ 7 พรรคใช่หรือไม่ นายมิ่งขวัญ ตอบว่า “ครับ อยากได้แค่นี้ใช่ไหม ก็ตอบแล้วไง” ก่อนที่นายมิ่งขวัญ จะพูดต่อว่า จัดตั้งรัฐบาลได้แน่นอน จะเงื่อนไขอะไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน นับคะแนนไม่เสร็จให้ประกาศคะแนนก่อน
และไม่แค่นั้นสำหรับความชัดเจนของหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่ยังพูดถึงการลงสัตยาบันว่า เซ็นหรือไม่เซ็นหรือไม่ ถ้าคุณเซ็นและคุณไม่รักษาคำพูดจะมีประโยชน์อะไร จุดยืนทางการเมืองก็สำคัญ ไม่อย่างนั้นวันหลังยี่ห้อนี้จะเชื่อถือได้อย่างไร วันหนึ่งบอกได้ วันหนึ่งบอกไม่ได้ ผมไม่เป็นคนอย่างนั้น
“การแถลงข่าวของ 6 พรรค คุณภูมิธรรม จู่ๆก็มีคนมา ต่อโทรศัพท์ให้พูด คุณอ้วนบอกว่าพรุ่งนี้แถลงข่าว ผมบอกไปไม่ได้ นัดผู้ใหญ่ไว้ บอกตรงๆนะผมไม่คิดว่าเขาแถลงข่าวแล้วจะประกาศชื่อพรรคผมไป ผมเกรงใจคนเขาโทรมาเมื่อคืน ไม่อยากให้เสียความรู้สึก แต่เป็นการแจ้งที่กะทันหันเมื่อคืนเลย บอกว่ายังไม่ไป มีธุระ แต่เมื่อตอนเช้าเขาไปแถลงบอกว่ามีชื่อเราอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่าอะไรไม่อยากโกรธ แต่เรายังไม่ได้ไปอยู่ด้วย” นายมิ่งขวัญ กล่าว
“การแถลงข่าวของ 6 พรรค คุณภูมิธรรม จู่ๆก็มีคนมา ต่อโทรศัพท์ให้พูด คุณอ้วนบอกว่าพรุ่งนี้แถลงข่าว ผมบอกไปไม่ได้ นัดผู้ใหญ่ไว้ บอกตรงๆนะผมไม่คิดว่าเขาแถลงข่าวแล้วจะประกาศชื่อพรรคผมไป ผมเกรงใจคนเขาโทรมาเมื่อคืน ไม่อยากให้เสียความรู้สึก แต่เป็นการแจ้งที่กะทันหันเมื่อคืนเลย บอกว่ายังไม่ไป มีธุระ แต่เมื่อตอนเช้าเขาไปแถลงบอกว่ามีชื่อเราอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่าอะไรไม่อยากโกรธ แต่เรายังไม่ได้ไปอยู่ด้วย” นายมิ่งขวัญ กล่าว
นอกจากนี้เมื่อถามถึงการจะชูใครเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น นายมิ่งขวัญ ตอบว่า ไม่รู้เรื่องพวกนี้ และยังไม่ได้ตกลงอะไรกับใคร พร้อมอธิบายถึงเงื่อนไขหรือจุดยืนของตนและพรรคว่า
“เจตนารมณ์ของผมและพรรคเศรษฐกิจใหม่ชัดเจนตั้งแต่ต้น เราก็บอกอยู่แล้วว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมพูดคำไหนคำนั้น และมีเงื่อนไขเพียงว่าใครก็ตามที่บอกว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ถ้าไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ต้องรอคนอื่นๆ ผมจะจัดการเอง ไม่ต้องฝั่งไหนทั้งนั้น เงื่อนไขและจุดยืนของตน คือ 1. ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2.ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็ต้องเปลี่ยนแปลง 3.ระบบกติกาเป็นอีกเรื่อง และ 4. ฝั่งเดียวกันถ้าพูดแล้วไม่รักษาคำพูด ตนไม่ยอม ตนเป็นคนรักษาคำพูด เคยพูดอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่กลับไปกลับมา”
อย่างไรก็ตามยังมีคำพูดที่เชื่อเหลือเกินว่าเมื่อประชาชนได้ฟังแล้วย่อมรู้สึกยินดี และเห็นด้วยกับนายมิ่งขวัญ ที่บอกว่า รัฐบาลจะมีเสถียรภาพหรือไม่ เราทะเลาะกันมา13ปีแล้ว แต่เราก็อยู่กันมาได้ เรามีพระสยามเทวาธิราชคอยคุ้มครองดูแล มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขจัดคนไม่ดี เราเน้นว่าเราอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับคนไทยเรามาอย่างช้านานนี่เป็นเรื่องสำคัญ
ก่อนที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จะขยายความต่อว่า นี่เป็นธรรมเนียมที่ร่วมสร้างหลายปี นั่นคือการเปิดโอกาสให้พรรคลำดับหนึ่งเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ส่วนอนาคตใหม่จะร่วมกับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่อนาคตใหม่วางไว้ 3เงื่อนไขในการร่วมรัฐบาลคือ 1.ต้องแก้รัฐธรรมนูญแล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน แล้วทำประชามติใหม่ เช่นที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับรัฐธรรมนูญ 2534 สู่รัฐธรรมนูญ 2540
2. จัดการมรดกบาปของคสช. เช่น แผนปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยวิธีการปลดมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ความคุ้มกัน รับรอง ประกาศ คำสั่งของหัวหน้า คสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปตลอดกาล
3.ปฏิรูปกองทัพให้สอดคล้องกับประชาธิปไตย อยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน เพื่อไม่ให้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพ
จะเห็นว่าเงื่อนไขของพรรคอนาคตใหม่ น่าจะมีหลายคนกังวลใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะมีการรื้อหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ จะเอาใครมาเป็นคนร่างใหม่ นี่คือจุดสังเกตที่น่ากังวลใจเป็นอย่างยิ่ง ยังไม่ต้องพูดถึงพรรคภูมิใจไทยที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคเคยประกาศชัดถึงเงื่อนไขเข้าร่วมรัฐบาล พรรคนั้นจะต้องเคารพเทิดทูนสถาบัน ระบอบประชาธิปไตยจะต้องอยู่ภายใต้การปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะเห็นชัดว่าทั้งนายมิ่งขวัญ ทั้งนายอนุทิน มีจุดยืนไปในทิศทางเดียวกัน!!!
และจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ทางนายมิ่งขวัญนั้นอาจจะมองว่า การกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นหาใช่ “การสืบอำนาจ”แต่อย่างใด กลับไปการเดินตามครรลองตามวิธีประชาธิปไตย จากเสียงข้างมากของประชาชนโดยผ่านกลไกลการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุน โดยการยอมรับการถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเทดนายกรัฐมนตรี ของพรรคพลังประชารัฐ จนได้รับคะแนนแบบป๊อปปูล่าโหวต อย่างไม่เป็นทางการมากเป็นอันดับหนึ่ง แซงทุกพรรคการเมือง ไม่ได้มาจาก”นายกฯคนกลาง”
ท้ายที่สุด ก็ต้องรอฟังคำยืนยันจากปากของนายมิ่งขวัญว่าจะเข้าควรกับพรรคการเมืองใด ระหว่างพรรคเพื่อไทย หรือ พรรคพลังประชารัฐ