เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

จากกรณีการสถาปนาพระยศใหม่ ทุกพระองค์ แห่งพระราชวงศ์จักรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 10 เมื่อผลัดแผ่นดิน... ซึ่งการสถาปนาชั้นยศดังกล่าว นำมาซึ่งการตั้งข้อสังเกตคู่ควรแก่การศึกษาในแง่มุมประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจยิ่ง ถึงพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (พระนามเดิม) ทั้งนี้บนเฟซบุ๊กของผู้ใช้รายหนึ่งได้แสดงความคิดอย่างน่าสนใจว่าแท้จริงแล้ว ชั้นยศดังกล่าวมีที่มาที่ไป อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

รัชสมัยรัชกาลที่ 10

 

"สมเด็จพระกนิษฐา​ธิราช​เจ้า อยู่เหนือระบบเจ้าฟ้าต่างกรม พระองค์เจ้าต่างกรม มาตั้งแต่ 2520 แล้ว ฉะนั้นแม้จะมีคำว่า #กรมสมเด็จพระ ก็ไม่ใช่การควรจะไปเทียบกับ กรมพระยา, สมเด็จพระ, หรือกรมสมเด็จพระ เพราะทรงเหนือระบบเจ้าต่างกรมไปแล้ว เนื่องจากระบบเจ้าต่างกรม ถึงเจ้าฟ้าจะเป็น "สมเด็จฯ กรมพระยา" ก็ได้แค่ฉัตร 5 ชั้น

 

พระราชอิสริยยศของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระนามเดิม

 

ระบบเจ้าต่างกรม เพดานแค่ฉัตร 5 ชั้น แต่ฉัตร 5 อาจเพิ่มเป็น 7 ก็ได้ แต่หลักการคือได้ 5 ต่าง 7 แต่มิใช่ได้ 7 (ได้แค่เทียบเท่า)​ เพราะพื้นฐานยังอยู่ในระบบเจ้าต่างกรม ต่างจากระบบเจ้าฉัตร 7 ชั้น เพราะท่านได้รับสถาปนาจากชั้นไหนไม่รู้หละ ให้ลอยไปกิน 7 ชั้นเลย และเป็นอิสริยยศ​ที่ขาดจากระบบเดิมที่ต่ำกว่า

ดังนั้นหลักการที่กล่าวข้างต้น อาจเทียบได้กับหลักของการที่พระองค์เจ้าได้เป็น สมเด็จฯ กรมพระยา ก็จะได้ฉัตร 5 ซึ่งปกติฉัตร 5 คือชั้นเจ้าฟ้า แต่พระองค์เจ้า ที่สมเด็จฯ กรมพระยา พื้นฐานไม่ใช่เจ้าฟ้า ถึงจะได้ฉัตร 5 ก็เป็น 5 แบบเทียบเท่า ย่อมใช้ฉัตร 5 คนละชนิด กล่าวคือเจ้าฟ้าได้ฉัตรขาวมีระบายขลิบทองแผ่ลวดซ้อน 2 ชั้น แต่สมเด็จฯ กรมพระยาที่เป็นพระองค์เจ้า​ ได้ฉัตรขาวลายทอง

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

 

ระบบเจ้าฟ้าต่างกรม กับระบบพระองค์เจ้า​ต่างกรม ก็ไม่เท่ากัน เจ้าฟ้าขึ้นที่กรมขุน เพราะถือว่าเจ้าฟ้าเสมอด้วยกรมหมื่นไปแล้ว หลักนี้สำคัญ​นะครับเพราะไม่ใช่การข้ามชั้น แต่ทรงถือว่าเจ้าฟ้าได้ทรงกรมอยู่แล้ว แม้จะไม่มีคำว่ากรม แต่พระองค์เจ้ามีเพดานตันเพียงกรมพระ และไม่ขึ้นเป็นกรมพระยา จะมีอุทาหรณ์​ก็ครั้งกรมดำรงได้เป็น

สมเด็จฯ กรมพระยา เพราะจะมีหลักอีกว่าถ้าเจ้าฟ้าทรงกรม จะเป็น สมเด็จฯ กรม ได้ และกรมพระยาเคยมีแต่ชั้น สมเด็จฯ กรมพระยา ไม่มีหรอกที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์​เธอ กรมพระยา (แต่กรมดำรงเป็นข้อยกเว้น  และย้ำหลักนะ ข้อยกเว้นมีได้ ภายใต้หลักมีเพิ่มไม่มีลด -​ ถึงตันแล้วก็ขึ้นได้อีก)

สมเด็จพระกนิษฐ์​ท่านลอยเหนือระบบที่ว่านี้แล้ว และลอยมาตั้งแต่ 2520 ได้รับพระราชบัญชา ได้ฉัตร 7 ชั้น มีพระนามาภิไธย​ว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา" โดยไม่ต้องนำหน้าว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอแล้ว ทำนองเดียวกันกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และจะว่าท่านไม่ทรงกรมก็ไม่ใช่ หากแต่กรมของท่านมีฐานะแตกต่างจากระบบเจ้าต่างกรมเท่านั้นเอง

 

คำสั่งพระราชินีคือ พระเสาวนีย์​ พระบรมคือ พระบัณฑูร​ วังหน้าเนี่ยยังแบ่งเป็นพระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย อีกต่างหาก ส่วนวังหลังเป็นพระบัญชา ที่กล่าวมานี้คือคำสั่งของเจ้าฉัตร 7 เกียรติยศ​ของคำสั่งอยู่ในชั้นเดียวกัน แต่ความเป็นผู้น้อยผู้ใหญ่ก็ลดหลั่นกันไป ซึ่งระบบที่ว่าเนี่ย สมเด็จพระเทพรับพระราชบัญชา เป็นลำดับเกียรติยศที่อาวุโสน้อยที่สุดของชั้น เทียบเท่ากรมพระราชวังหลัง

 

หลักพื้นฐานเลยนะครับ ยศเจ้านาย มีเพิ่มไม่มีลด ถึงตันแล้วก็เพิ่มจนทะลุได้อีก และถ้าเพิ่มจนสุดแล้วเพิ่มอีกไม่ได้ก็ต้องแก้ ถ้าแก้ต้องแก้ให้วิเศษ​กว่าเดิมแล้วจะแก้ให้ทอนของเก่าก็ไม่ได้อีกด้วย ตัวอย่างการเพิ่มคลาสสิคคือสมเด็จพระศรีพัชรินทร์​ ท่านเป็นพระราชินีนาถ เกียรติยศท่านทะลุฟ้าไปแล้ว แก้สุดทางแล้ว จึงต้องเพิ่มเป็น พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ทำนองเดียวกัน สมเด็จพระเทพเนี่ยตันแล้ว ของเก่าก็แก้ไม่ได้ ถ้าไม่เพิ่มหน้าก็ต้องเพิ่มหลัง ซึ่งสุดท้ายเติมสมเด็จพระกนิษฐา​ธิราช​เข้าไป จึงกลายเป็นว่าเป็น "สมเด็จฯ สมเด็จฯ" ซ้อนกัน ดังนั้นต้องทำให้ไม่ซ้อนด้วยการเติมคำว่ากรม จึงเป็น "สมเด็จฯ กรมสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ" อย่าลืมนะครับ ในพระนามาภิไธย​มีเจ้าฟ้าต่อด้วย ตามปกติเจ้าฟ้าทรงกรม ต้องมีเจ้าฟ้าพระนามเดิม แล้วต่อพระนามกรม อันนี้ไม่ใช่หลักนั้น เพราะเป็นพระนามใหม่เป็นเอกเทศไปเลย

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

 

สมเด็จพระ​กนิษฐา​ธิราช​ จะทรงกรมหรือไม่ทรงกรมไม่ใช่สาระสำคัญ​อะไร แต่เราต้องเข้าใจว่า
- ระบบเจ้าต่างกรม ทั้งเจ้าฟ้าและพระองค์ ​ตันที่ฉัตร 5  - พื้นฐานของสมเด็จพระ​เทพ คือ ได้ฉัตร 7 เต็มคัน  - ไม่ใช่ฉัตร 5 ต่าง 7 ที่เพิ่มเป็นเกียรติยศ  - ย้ำ! พื้นฐานคือฉัตร 7 ไม่ใช่ฉัตร 5 แล้วเพิ่ม

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

 

หลักการเฉลิมพระนามาภิไธย​ อาจไม่ทำให้ลำดับขั้นเปลี่ยนแปลง​ แต่ว่าการเพิ่มเติม​พระนามาภิไธย​ก็คือการบำรุงพระเกียรติยศ​ให้เจิดจรัสวิ้งๆ ได้ยิ่งกว่าเก่า  บางทีเราก็อาจจะเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูก ก็ว่ากันไป แต่ว่าอยากให้ตระหนักถึงหลักการทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพื้นฐาน หรือแม้แต่บางทีหลักการที่ผมพูดถึงเนี่ยก็อาจเข้าใจผิดก็ได้ แต่มีอย่างหนึ่งที่แน่นอนคือ เรื่องกรมของสมเด็จพระ​กนิษฐา​ธิราชเจ้า​ เอาไปเทียบกับ กรมพระยา, สมเด็จพระ, หรือ​กรม​สมเด็จพระ​ ไม่ได้ อย่างแน่นอน เป็นคนละเรื่องกัน

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

 

* ผมลืมไปอีกประเด็น​คือ ตามธรรมเนียมมาแต่เดิม พระเจ้าแผ่นดินไม่ตั้งพี่หรือน้องสูงไปกว่ากรมพระ ยกเช่น ร.5 มีน้องร่วมอุทร 2 พระองค์ ก็ตั้งเพียงกรมพระ ส่วน ร.7 ตั้งกรมพระนครสวรรค์​ และก็พระเจ้าแผ่นดินจะตั้งอา หรือลุง หรือป้า อาจถึงชั้น กรมพระยา แต่ว่าทั้งนี้พระเจ้าแผ่นดินอาจตั้งน้องให้เป็นวังหน้าหรือวังหลัง ซึ่งเป็นเจ้าระบบฉัตร 7 ชั้นก็ได้

 

เปิดความหมาย- ที่มา พระอิสริยยศสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมเด็จฯเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโพสต์ภาพเซลฟี่ร่วมเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนฯและพระอนุชา

ราชกิจจาฯแพร่พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ

สมเด็จพระเทพฯนำพระบรมวงศานุวงศ์ถวายสัตย์ จงรักภักดี

สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงกราบพระบาทสมเด็จพระเทพฯ ฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯทรงเป็นสักขีพยาน ราชาภิเษกสมรส

ขอบคุณที่มา เฟซบุ๊ก Boriphat Sangpakorn