- 15 พ.ค. 2562
ต้องขอแสดงความยินดีกัย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ขึ้นเป็นผู้นำคนที่8 ของค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคที่เก่าแก่ที่สุดบนประวัติศาสตร์การเมืองของไทย
ต้องขอแสดงความยินดีกัย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ขึ้นเป็นผู้นำคนที่8 ของค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคที่เก่าแก่ที่สุดบนประวัติศาสตร์การเมืองของไทย
วันนี้ (15 พ.ค. 62 ) ที่โรงแรมมิราเคิล พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จัดประชุมใหญ่วิสามัญพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค โดยมีผู้เสนอตัวทั้งสิ้น 4 คน ประกอบด้วย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้าพรรค และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยแต่ละคนจะต้องแสดงวิสัยทัศน์ คนละ 15 นาที โดยการจับสลากเพื่อลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรค ปรากฎว่า
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เบอร์ 1 , นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เบอร์ 2 ,นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เบอร์ 3และ นายกรณ์ จาติกวณิช เบอร์ 4
โดยผลการนับคะแนนเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ จากโหวตเตอร์ 309 คน ในสัดส่วนของ ส.ส. จำนวน 52 คน ซึ่งคิดเป็นคะแนน 70% ปรากฎว่า นายจุรินทร์ ได้คะแนนนำเป็นอันดับ 1 คือ 25 คะแนน หรือ 33.6538 % ตามด้วย นายพีระพันธุ์ 20 คะแนน หรือ 26.9231 % นายกรณ์ 5 คะแนน หรือ 6.7308 % และนายอภิรักษ์ 2 คะแนน หรือ 2.6923 %
ส่วนกลุ่มที่สอง 257 คน ซึ่งคิดเป็นคะแนน 30% ประกอบด้วย รักษาการกรรมการบริหารพรรค 22 คน, อดีตหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค 2 คน, อดีต ส.ส. 125 คน, อดีตรัฐมนตรี 2 คน, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 คน, สมาชิก อบจ. 4 คน, สมาชิกเทศบาล 1 คน, หัวหน้าสาขาพรรค 8 คน, ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด 63 คน, ตัวแทนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) 2 คน, ตัวแทนสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) 2 คน และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ชุดล่าสุด 25 คนนั้น ผลคือ นายจุรินทร์ ได้คะแนนนำเป็นอันดับ 1 คือ 135 คะแนน หรือ 16.9456 % ตามด้วย นายพีระพันธุ์ 82 คะแนน หรือ 10.2929 % นายกรณ์ 14 คะแนน หรือ 1.7573 % และนายอภิรักษ์ 8 คะแนน หรือ 1.0042 %
โดยเมื่อนำคะแนนเสียงทั้ง 2ส่วนมารวมกัน ผลปรากฏว่า อันดับ1 นายจุรินทร์ ได้คะแนน 50.5995 % ตามมาอันดับ2 คือ นายพีระพันธุ์ ได้คะแนน 37.2160 อันดับ 3 นายกรณ์ ได้คะแนน 8.4881 % และ อันดับ4 นายอภิรักษ์ ได้คะแนน 3.6965 % ส่งผลให้ นายจุรินทร์ สามารถคว้า ตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 8 ต่อจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นผลสำเร็จ
ดังนั้นจากการแข่งขันในครั้งนี้จะเห็นว่า ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า นายกรณ์จะได้รับการสนับสนุนจากนายอภิสิทธิ์ แต่ผลกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่นายกรณ์ ต้องถือเป็นคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายอภิสิทธิ์มาอย่างยาวนาน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากคะแนน ในสัดส่วนของ ส.ส. จำนวน 52 คน จะเห็นว่า นายกรณ์ได้รับเสียง มาเพียง 5 เสียง นั้นน่าจะเป็นเสียงในกลุ่มของนายกรณ์เพียงกลุ่มเดียว ไม่ได้รับแรงสนับสนุน ขณะที่เสียงในกลุ่มส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ในมือของนายอภิสิทธิ์ กว่า10 เสียง หากเทมาที่นายกรณ์ก็เป็นตัวแปรสำคัญ ส่งผลให้นายพีระพันธุ์พลิกกลับมาชนะได้
เพราะหากนายกรณ์ ได้ 15 เสียง นายจุรินทร์ได้ 15 เสียง เมื่อคิดกลับเป็น เปอร์เซ็น จะได้ คนละ 28.8462 % ขณะที่คะแนนของนายพีระพันธุ์ ที่ได้ 20เสียง เมื่อคิดกลับเป็น เปอร์เซ็น จะได้เพิ่มขึ้นเป็นละ 38.4615 % และนายอภิรักษ์ ที่ได้ 2 เสียงจะได้ 3.8461%
และเมื่อไปร่วมกับ กลุ่มที่สอง 257 คน นั้นจะทำให้ คะแนนของนายพีระพันธุ์ ขึ้นมาเป็นอำดับ1 ที่ 48.7544 % และนายจุรินทร์ จะได้เป็นอันดับ 2 ที่ 45.7917 % ตามด้วย นายกรณ์ ที่ 30.6034 % และนายอภิรักษ์ ได้ ที่ 4.8503%
นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ กลุ่มของนายอภิสิทธิ์เทคะแนนเสียงให้นายจุรินทร์ ในวินาทีสุดท้ายเพื่อสกัดนายพีระพันธุ์ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สอดคล้องกับการตั้งข้อสังเกตของนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์" ผู้สื่อข่าวอาวุโส แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าว ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Sermsuk Kasitipradit ระบุว่า.. “น่าจะเบียดกันสนุกระหว่าง จุรินทร์กับพีระพันธ์..ตัวแปรฟังมาว่าเป็นกลุ่มของนายมาก ปากดี ที่รับปากจะหนุนกรณ์ หากเห็นสถานการณ์พลิกพีระพันธ์ เข้าป้ายแน่นวล อาจเปลี่ยนใจมาเทให้จุรินทร์....”
...และท้ายสุดก็ต้องจับตามที่ทิศทางการเมืองของพรรค ภายใต้การนำทัพของนายจุรินทร์ แต่ภาพสะท้อนให้เห็นพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ภายใต้แนวทางของ นายชวน หลีกภัย-นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ต่อไป นั้นก็คือการไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสืบทอดอำนาจของคสช. หรือหากจะตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลกับพลังประชารัฐ จะมีคำอธิบายที่ดีอย่างไร
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ คนที่เข้ามาเป็นเลขาพรรคของนายจุรินทร์ก็คือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยนายอภิสิทธิ์ ต่อจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กลับมาท้าชิงแม่บ้านพรรคอีกหน ซึ่งมีเสียงสนับสนุนของกลุ่มส.ส.ภาคใต้ อาทิ นายนิพิษฏ์ อินทรสมบัติ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายวิรัช ร่มเย็น และภาคกลางบางส่วนในสายของนายสาธิต ปิตุเตชะ รวมถึงทีมผู้อาวุโสในกรรมการที่ปรึกษาพรรค ทั้งนายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายกนก วงษ์ตระหง่าน เป็นต้น