- 27 พ.ค. 2562
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่าเศร้าของพี่น้องชาวไทย ของการจากไปของ “ป๋าเปรม” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน ถึง อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเช้าของวันที่ 26 พค.2562 นับเป็นการสูญเสียผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งประเทศชาติ แม้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ร่วมไปถึงนานาชาติ ต่างพากันแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียในครั้งนี้
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่าเศร้าของพี่น้องชาวไทย ของการจากไปของ “ป๋าเปรม” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน ถึง อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเช้าของวันที่ 26 พค.2562 นับเป็นการสูญเสียผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งประเทศชาติ แม้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ร่วมไปถึงนานาชาติ ต่างพากันแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียในครั้งนี้
แม้จะตกเป็นผู้ต้องหาในคดีสำคัญทางการเมือง สำหรับการก่อเหตุบุกรุกบ้านสี่เสาเทเวศน์ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2550 รวมถึงยังจัดการชุมนุมคนเสื้อแดง ปลุกระดมมวลชนสนับสนุนนายทักษิณ ชินวัตร ถึงขั้นมีการปราศรัยโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ แต่ล่าสุดในการถึงแก่อสัญกรรมของพล.อ.เปรม แกนนำนปช. คนสำคัญต่างพูดแสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ระหว่างเข้ารับฟังการพิจารณาคดี สืบเนื่องจากศาลอาญานัดตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำ อ.968/2561 ที่อัยการ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ,นายจตุพร พรหมพันธุ์ ,นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กับพวกรวม 10 คน ร่วมกันปลุกปั่นสร้างความวุ่นวาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ,มาตรา215 และฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กรณีเมื่อวันที่ 31 ม.ค.-14 เม.ย52 กลุ่ม นปช. จัดการชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตประธานนปช. กล่าวถึง พล.อ.เปรม ว่า ที่ผ่านมาพวกตนได้ประกาศตั้งแต่ต้นเรื่องคุณูปการของ พล.อ.เปรม มีหลายเรื่องที่คนไทยต้องไม่ลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการยุติการต่อสู้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลไทย สามารถลดความตายในแต่ละปีเป็นจำนวนนับพัน
พล.อ.เปรม ได้ประกาศคำสั่งยุติความตาย นำคนไทยที่เข้าป่าไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ประชาชน กลับมาร่วมพัฒนาชาติไทย ต่อมาคือเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นแบบอย่างหนึ่ง สุดท้ายก็คือคำว่าผมพอแล้ว เป็นสัจธรรมทางอำนาจที่ผู้มีอำนาจในยุคหลังควรที่จะเอาเป็นแบบอย่าง ส่วนเรื่องความเห็นที่แตกต่างกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตนในฐานะคนพุทธก็กราบขออโหสิกรรมท่าน ด้วยเราเป็นคนไทยย่อมต้องสามารถแยกแยะทุกอย่างได้ในทุกเรื่อง
ขณะที่ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ระบุว่า โดยส่วนตัวรู้สึกเสียใจเป็นธรรมดา เพราะป๋าเป็นที่เคารพนับถือตั้งแต่แรก แต่ก็ถือเป็นสัจธรรม ชีวิตเกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ก็ต้องทำใจว่าเป็นธรรมชาติ ซึ่งส่วนตัวก็จะเดินทางไปฟังสวดศพด้วย
ส่วนข้อคำถามว่าจากเหตุการณ์ในอดีตมีโอกาสจะได้ขอขมาหรือไม่ นายวีระกานต์ กล่าวตอบว่า เป็นเรื่องที่จะต้องพูดกันในโอกาสหลัง เป็นเรื่องยาวต้องใช้เวลาอธิบาย ไม่สามารถพูดสั้นๆได้ แต่บอกได้ว่าวันนี้เสียใจอย่างสุดซึ้ง ต้องอโหสิกรรมอยู่แล้ว อะไรที่เป็นบทเรียนก็ต้องเก็บไว้ไม่ให้มันเกิดต่อไป
ทางด้าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์ในประเด็นเดียวกันว่า ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง และด้วยวาระที่ท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ต้องแสดงความเสียใจและแสดงความอาลัย อย่างไรก็ตามโดยกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ของพวกเราที่ผ่านมา เราพูดชัดมาตลอดว่าไม่ได้มีประเด็นส่วนตัวกับใคร เป็นเรื่องของหลักการและสถานการณ์ ซึ่งต้องแยกให้ชัดว่าเป็นมิติของการต่อสู้ทางการเมืองและหลักการประชาธิปไตย แต่ในทางส่วนตัวในวาระที่ท่านถึงแก่อสัญกรรม ประชาชนก็พึงจะต้องแสดงความอาลัยกับการสูญเสียครั้งสำคัญยิ่งในครั้งนี้