กว่า 4 ปีเต็ม "บิ๊กตู่" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป "ธงแดง" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

ถ้านับเป็นหนึ่งผลงานสำคัญทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ที่นักการเมืองฟากฝั่งอ้างตัวเป็นประชาธิปไตย จะปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การแก้ปัญหามาตรฐานการบินของไทยที่ตกต่ำ ถึงขั้นทำให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ประกาศติดเครื่้องหมายธงแดง

ถ้านับเป็นหนึ่งผลงานสำคัญทางการเมืองของรัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี   และหัวหน้าคสช. ที่นักการเมืองฟากฝั่งอ้างตัวเป็นประชาธิปไตย จะปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การแก้ปัญหามาตรฐานการบินของไทยที่ตกต่ำ ถึงขั้นทำให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  หรือ ICAO  ประกาศติดเครื่องหมายธงแดง แสดงให้ทั่วโลกเห็นว่ามีมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านการบินอยู่ในระดับต่ำ  หรือ มีข้อบกพร่องบ่งชี้ให้เห็นว่าต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข  ก่อนจะขยายขอบเขตไปสู่ระดับปัญหารุนแรง  กลับมาเป็นที่ยอมรับขององค์กรระดับโลกได้

 

ล่าสุด   พล.อ. ประยุทธ์    แจ้งความคืบหน้าสำคัญ    ภายหลังคณะทำงานสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเข้าพบ   รายงานรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการบินของไทย  ว่า   ภายหลังได้การนำมาตรฐาน ICAO มาใช้บังคับในประเทศไทย  ปัจจุบันทำให้มาตรฐานการบินของไทย  นอกจากจะปลดธงแดงได้สำเร็จ  ยังทำให้ประสิทธิผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.7   ซึ่งถือเป็นระดับสูงที่เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามกฎกติกา ICAO  จึงขอให้ทุกคนที่ภาคภูมิใจไปกับตนด้วย  ถึงแม้จะมีผลกระทบบ้างแต่ต้องช่วยกันในหลายๆเรื่อง ทั้งการแก้ไขประมงที่ผิดกฎหมายหรือไอยูยู  รวมถึงการค้ามนุษย์  พร้อมยืนยันชัดเจนรัฐบาลไม่ได้มุ่งหวังดูเพียงแต่สถิติหรือคะแนนเพียงอย่างเดียว

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

ขณะที่ข้อมูลของสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย  ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562   แสดงรายละเอียดตามลำดับขั้นตอนของการดำเนินการแก้ไขวิกฤตด้านการบิน ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดต่อเนื่องในช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้  สรุปใจความเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้

 

1.วันที่ 18  มิถุนายน 2558  องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO  ได้ติดธงแดงประเทศไทย เนื่องจากตรวจพบว่ามาตรฐานการบริหารความปลอดภัย ด้านการบินของประเทศไทย มีข้อบกพร้อง จำนวน 572 ข้อ และมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย  (Significant  Safety  Concern  : SSC)  อยู่  33 ข้อ  โดยขณะนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ และกำกับดูแลด้านการบินพลเรือน  คือ กรมการบินพลเรือน

 

2.จากกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีก่อนหน้า  ประเทศไทยมีการแก้ปัญหาโดยการปรับโครงสร้างหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนใหม่  ส่งผลให้มีการยุบเลิกกรมการบินพลเรือน และจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย  หรือ CAAT  เป็นหน่วยงานของรัฐ  ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัยและกิจการการบินพลเรือน  ส่วนภารกิจด้านสนามบินโอนให้กรมท่าอากาศยาน  และภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย และการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับอากาศยาน ให้เป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

 

3.ต่อมามีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC)  ทั้ง 33 ข้อ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ICAO  กำหนด

 

4.จากนั้นเมื่อวันที่  20-27  กันยายน  2560  ทางด้าน ICAO  ได้ส่งคณะผู้ตรวจสอบ ICAO Coordinate  Validation  Mission  หรือ  ICVM เข้ามาตรวจสอบยืนยันความก้าวหน้าและความครบถ้วนของการแก้ไข SSC 33 ข้อ จนทำให้ประเทศไทยสามารถปลดธงแดงได้สำเร็จ  

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

5.ลำดับต่อมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย  หรือ CAAT ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องส่วนที่เหลืออย่างต่อเนื่อง  จน ICAO  ยอมรับความก้าวหน้าและกำหนดเข้ามาตรวจสอบยืนยันเต็มรูปแบบ  ในช่วงระหว่างวันที่ 13-22  พฤษภาคม 2562 โดยมีการดำเนินการตรวจสอบ ทั้ง  7 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมายและระเบียบ , ด้านการจัดการองค์กรกำกับดูแล ,  ด้านการออกแบบใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่  ,  ด้านการปฏิบัติการบิน  , ด้านความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน , ด้านบริการการเดินอากาศ  และ ด้านสนามบิน  ( ยกเว้นด้านการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน เนื่องจากข้อจำกัดด้านผู้ตรวจสอบของ ICAO)

 

6.ผลการตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary) ของคณะผู้ตรวจสอบ  Full ICVM พบว่าระดับประสิทธิผลของการนำมาตรฐาน ICAO มาบังคับใช้ในประเทศ  ( EI) ของไทย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65.07  สูงกว่าค่ามาตรฐานที่ ICAO กำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 

 

7.ผลการตรวจสอบดังกล่าว สามารถชี้ชัดว่าในระยะเวลาเกือบ 4 ปี นับแต่ที่ประเทศไทยได้รับธงแดงเมื่อปี  2558  ระดับประสิทธิผลของการนำมาตรฐาน ICAO มาบังคับใช้ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว จากร้อยละ 34.20 เมื่อได้รับธงแดงเป็นร้อยละ 41.46  ในระยะ  2 ปี  3 เดือน  และเป็นร้อยละ 65.07 ในอีก 1  ปี 7 เดือนต่อมา ซึ่งถือเป็นค่ามาตรฐานความปลอดภัย  ด้านการบินของไทยทัดเทียมกับมาตรฐานเฉลี่ยของประเทศสมาชิก ICAO รวม  193  ประเทศแล้ว

 

8.จากระดับประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นสามารถยืนยันได้ถึงความสำเร็จของการแก้ปัญหา ด้านการบินพลเรือนอย่างจริงจังและเป็นระบบ  โดย  สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย  หรือ CAAT ยังคงเดินหน้าสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการบินของไทย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิผลในการทำให้มาตรฐานของไทยดีขึ้น เป็นที่ยอมรับของทุกชาติต่อไป

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

จากประเด็นดังกล่าวต้องย้ำอีกครั้ง ว่าปัญหาทั้งหมดเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลการเลือกตั้งสร้างและปล่อยทิ้งคาราคาซัง จนมาถึงยุครัฐบาลคสช.ปัญหาจึงบานปลายเข้าสู่ระดับวิกฤต  และมีเบื้องหลังซับซ้อนในหลายมิติ  ดังข้อมูลบางส่วนที่จำเป็นต้องอธิบาย

 

เริ่มต้นจากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา  รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์   จันทร์โอชา  ต้องพยายามอย่างหนักในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการที่ประเทศไทยถูก องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  (International Civil Aviation Organization :ICAO)  ขึ้นธงแดงประกาศปัญหาที่เกิดขึ้นกับมาตรฐานการบินของประเทศไทย   ถึงขั้นต้องออกเป็นคำสั่ง  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๗/๒๕๕๘  เรื่อง การแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลและพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย  จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน” (Command Center for Resolving Civil Aviation Issues) เรียกโดยย่อว่า ศบปพ. (CRCA) เป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้นตรงกับ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการ แก้ไขปัญหาการบินพลเรือน เรียกโดยย่อว่า ผบ.ศบปพ.

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

จากนั้นจึงมีความเปลี่ยนแปลงในระดับสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานควบคุมดูแลระบบการบินของไทย แยกเป็น

1.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)  มีฐานะเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีกฎหมายเฉพาะรองรับการทำงาน ทำหน้าที่กำกับดูแล (Regulator) มาตรฐานการบินและการออกใบอนุญาต จะอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม

2.กรมท่าอากาศยาน จะเป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Operator) อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ รับผิดชอบบริหารท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง อยู่ในความดูแลของกรมการบินพลเรือนเดิม หรือที่จะมีเพิ่มเติมในอนาคต

3.สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของเรือและอากาศยานที่ประสบภัย

4.สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต มีบุคลากรประมาณ 70 คน

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

สำหรับปัญหาระบบการบินของไทยถูกระบุว่าเป็นวิกฤตที่ถูกทิ้งคาราคาซังมาตั้งแต่ปี  2548   หรือ ตั้งแต่ยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร   และทำให้ภาพลักษณ์ธุรกิจการบินของประเทศเสียหายอย่างร้ายแรง  เนื่องจากหลายประเทศมีคำสั่งห้ามสายการบินประเภทเหมาลำของไทยเข้าประเทศในช่วงที่ผ่านมา

 

โดยกรณีดังกล่าว   กัปตันโยธิน  ภมรมนตรี   อดีตกัปตันสายการบินไทย    เคยนำเสนอข้อมูลผ่านคอลัมน์   “เปลว สีเงิน”    ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์   ฉบับวันที่   2 เมษายน  2558   ระบุถึงปัญหาที่  ICAO  (ไอเคโอ)      เข้ามาเข้มงวดกับมาตรฐานการตรวจสอบสายการบินของไทย  ว่าส่วนหนึ่งของเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบาย “Open Sky Policy"    สนับสนุนให้เกิดสายการบินของเอกชนรายย่อยๆ โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนตํ่า Low Cost Airlines    ขึ้นมาใหม่อย่างมากกมายนับตั้งแต่ช่วงปี 2548    

 

ประเด็นสำคัญ คือ   นโยบาย  "Open Sky Policy"  หรือการเปิดน่านฟ้าเสรีดังกล่าว   ได้เริ่มขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร   ที่นำเอาเรื่อง  "Open Sky Policy"  ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อการลงทุนกับสายการบิน  AirAsia  ในขณะนั้น โดยรัฐบาลนายทักษิณได้เปลี่ยนกฎหมายการร่วมทุนการจัดตั้งสายการบินของประเทศไทยจากสัดส่วนเดิม 70/30   สมัย TG/SAS   มาเป็น 51/49    เพื่อรองรับการลงทุนใน  AirAsia   และมี   "บริษัท กุหลาบแก้ว"    ที่มี  คุณพงศ์ สารสิน เป็นประธานอยู่ไม่กี่วัน เป็นผู้ถือส่วนต่าง 2%   นอกเหนือจากสัดส่วน 49/49 ระหว่างทักษิณและ AirAsia

 

ต่อมา  “คุณพงศ์  สารสิน"    ได้ลาออก    เพราะคงเห็นแล้วว่า "อาจผิดกฎหมาย"   และอาจเห็นประเด็นการขายชาติ       จากการใช้เครื่องบิน B737  ธงชาติมาเลเซีย และนักบินสัญชาติมาเลเซียมาบินภายในประเทศไทย   ที่สำคัญทุกรัฐบาลในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา   ได้ให้การสนับสนุนการเกิดของสายการบินต้นทุนตํ่าของเอกชน ทําให้ "กรมการบินพลเรือนไทย" ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยตามหลักสากล ICAO

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

ทั้งนี้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับปัญหาของกรมการบินพลเรือน  ที่   กัปตันโยธิน  ภมรมนตรี  นำเสนอ     ยังระบุด้วยว่า   ใน 10 ปีของการสนับสนุนนโยบาย "Open Sky Policy" เปิดน่านฟ้าเสรี    กรมการบินพลเรือนได้เร่งออกใบอนุญาตให้สายการบินสัญชาติไทยมากมายถึง 46 สาย   ใครมีทุนหน่อยก็สามารถจัดตั้งสายการบินใหม่ได้ไม่ยาก  ชวนต่างประเทศมาหุ้นหาประโยชน์ในประเทศไทยก็ยังทําได้  เช่น "นกสกู๊ต"  ของนกแอร์ ที่มีต่างชาติสิงคโปร์ถือหุ้นอยู่  49%  และมีไลเซนพร้อมนักบินสัญชาติสิงคโปร์และเครื่องบินเก่าใช้แล้ว 14 ปี จากสิงคโปร์แอร์ไลน์ เป็นต้น

 

โดยเฉพาะ "กลุ่มทุนนักการเมือง" และ "ทุนสีเทา" ที่มีอิทธิพล จนกรมการบินพลเรือนต้อง "หลับหูหลับตา" ออกใบอนุญาตให้แถวดอนเมือง เพราะอิทธิพลกดดันในนาม "นโยบายสนับสนุนเอกชน" ของทุกรัฐบาลตามนโยบาย  "Open Sky Policy" "กรมการบินพลเรือน"   จึงละเลยการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยสากลของ  ICAO   เพราะขาดงบประมาณและขาดกำลังคน ไม่สามารถตรวจสอบสายการบินต้นทุนตํ่าใหม่ๆ ที่มาขอใบอนุญาตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาและผลกระทบของปัญหา  ICAO  ในปัจจุบัน

 

 ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจากความเห็นของ    อดีตกัปตันการบินไทย      ซึ่งพยายามชี้ให้เห็นต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  จากแนวนโยบายภาครัฐ ในยุครัฐบาลทักษิณที่เดินหน้าเปิดเสรีการบิน   จนเกินขีดความสามารถในการตรวจสอบของกรมการบินพลเรือน  ขณะเดียวกันรัฐบาลต่อ ๆ มาก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น   ก่อนท้ายสุด ICAO (ไอเคโอ)  จะตัดสินใจใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อระงับยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

กว่า 4 ปีเต็ม \"บิ๊กตู่\" ฝ่าวิกฤตทักษิณ จุดชนวนบาป \"ธงแดง\" ICAO ล่าสุดปี 62  มาตรฐานการบิน(ไทย)พุ่งทัดเทียม 193 ชาติโลกแล้ว!!

 

ที่สำคัญข้อมูลดังกล่าวก็เป็นประเด็นที่สนข.ทีนิวส์เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วว่า    ปัญหาทั้งหมดเป็นผลจากการละเลยในความรับผิดชอบของรัฐบาลแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา    เพราะจากข้อมูลมีการยืนยันว่า  ICAO  (ไอเคโอ)    เคยมีการทำหนังสือเตือนกรมการบินพลเรือนมาแล้วอย่างน้อย  2  ครั้งในปี  2552 และ ปี 2554    แต่กลับไม่มีสัญญาณในเชิงตอบรับเพื่อดำเนินการแก้ไข     ขณะที่การละเลยปัญหาตั้งแต่ต้นจึงยิ่งทำให้วิกฤตการณ์บานปลาย   เนื่องจากช่วงปี  2548    ประเทศไทยเคยมีสายการบินทุกประเภทเพียง  12  สายการบิน    แต่ปัจจุบันมีสายการบินเกิดใหม่มากถึง  41  สายการบิน   โดยมีการดำเนินบินจริงประมาณ  28 สายการบิน

 

และการที่ประเทศไทยมีการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจการบินแบบก้าวกระโดด  ก็นำมาซึ่งปัญหาการตรวจสอบที่ไร้คุณภาพของกรมการบินพลเรือน   เพราะมีการเปิดเผยว่ากรมการบินพลเรือนมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ    ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและออกใบอนุญาตการบินเพียง  12  คนเท่านั้น      ท่ามกลางความหวั่นวิตกของ  ICAO  (ไอเคโอ)   มาโดยตลอดเช่นกัน    ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการบินพลเรือนในการตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้กับแต่ละสายการบิน   จะมีคุณภาพหรือมีมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน 

 

รวมทั้งกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่าง พ.ร.บ.เดินอากาศไทย  พ.ศ.2497  ก็เป็นกฎหมายที่ใช้มานานถึง  61  ปี  โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  จนท้ายสุดจึงนำมาซึ่งการประกาศขึ้นธงแดงให้กับมาตรฐานการบินของประเทศไทย กลายเป็นประเด็นฉาวโฉ่ไปทั่วโลก และรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ต้องมารับผิดชอบแก้ไข

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ได้ทีขี่แพะไล่!! "ภูมิธรรม" หยาม จัดตั้งรัฐบาลลำบาก ชี้โพรง "นักการเมือง" หาผลประโยชน์กลับลำยังทัน!!

ญาติสุดทน!ศิลปินแห่งชาติโพสต์ชายป่วยจิตเคยชกป๋าเปรมถูกจับกดน้ำ

ชูชาติกางตัวเลขชัด!ปชป.ไม่หนุนประยุทธ์ก็เป็นนายก เสร็จยุบสภา

ส่อดีลล่ม! ประชาธิปัตย์ หม้ายขันหมากเลื่อนประชุม ถกร่วม พปชร. เหตุไม่ตอบกลับข้อเสนอ