“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการขยับตัวทางการเมืองโดย เฉพาะทางฝั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่สนับสุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง หลังจากที่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐได้เดินทางส่งขันหมากไปเทียบเชิญ 2พรรคตัวแปรสำคัญ อย่างพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมรัฐบาล ผลปรากฏว่า พรรคภูมิใจ ได้ตอบรับร่วมรัฐบาลทันที ภายหลังจากการเจรจาจบลงตามวิถีปฏิบัติ

ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการขยับตัวทางการเมืองโดย เฉพาะทางฝั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง   หลังจากที่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐได้เดินทางส่งขันหมากไปเทียบเชิญ 2พรรคตัวแปรสำคัญ อย่างพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมรัฐบาล  ผลปรากฏว่า พรรคภูมิใจ ได้ตอบรับร่วมรัฐบาลทันที ภายหลังจากการเจรจาจบลงตามวิถีปฏิบัติ

 แต่ที่ต้องจับตา ก็คือท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเมื่อวานนี้ (28 พ.ค.) พรรคประชาธิปัตย์ มีกำหนดการประชุมกรรมการบริหารพรรค เพื่อหารือเรื่องการประสานงานทางการเมืองและพิจารณาร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ต้องถูกยกเลิกไป ไม่สามารถร่วมประชุม  โดยตามเกำหนดการเดิม 17.00 น. แต่ต้องเลื่อนออกไปเป็น 18.00 น.

 

และจนกระทั้งเมื่อเวลา 18.30 น. นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรค แถลงชี้แจง เหตุผลในการเลื่อนประชุม ระบุว่า ตามที่พรรคพลังประชารัฐขอเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้า ร่วมทำงานและมีการคุยหลักการทำงานร่วมกันไว้หลายประเด็น คือ การแก้รัฐธรรมนูญ และการนำนโยบายพรรคที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติ เช่น การแก้จน สร้างคน สร้างชาติ และการประกันรายได้ของเกษตรกร ซึ่งพรรคก็มีแนวทางในการขับเคลื่อนไปสู่ภาคปฏิบัติ และพรรคพลังประชารัฐจะให้ข้อมูลกลับมาภายใน 17.00 น. วันนี้ แต่ปรากฎว่าพรรคพลังประชารัฐยังไม่ได้ให้คำตอบมาภายในเวลาที่กำหนดว่าจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไร

 

“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

 

จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ มีการล้มดีล แย่งชิงตำแหน่งเจ้ากระทรวง อย่างไม่สิ้นสุดของบรรดานักการเมือง โดยเฉพาะกระทรวงเกรดเอ อย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เชื่อว่าขณะนี้กำลังเป็นปัญหาระหว่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์

 

ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา ทางฝั่ง พรรคพลังประชารัฐ โดย นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมแกนนำคนสำคัญ อาทิ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค ร่วมกันแถลงข่าวว่า ขณะนี้การเดินหน้าเจรจากับพรรคแนวร่วมที่มีอุดมการณ์เดียวกันยังไม่ยุติ โดยมีหลักการใหญ่ คือ การจับมือร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย และการจัดสรรตำแหน่งตามนโยบายของแต่ละพรรคที่สอดคล้องกับเนื้องาน ยังไม่มีการกำหนดเก้าอี้หรือตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับพรรคการเมืองใด

 

บางช่วงบางตอน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวอีกว่า พรรคพลังประชารัฐยังไม่ยืนยันว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ยังเป็นปัญหาความไม่ลงตัว จะยังคงอยู่กับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และพรรคไม่ได้เสียเปรียบ เพราะการต่อรองเป็นเรื่องปกติของการเมือง พร้อมให้ทุกพรรคยึดมั่นประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่เรื่องการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกัน

 

“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

 

“ยืนยันว่าการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลยังมีเวลา และไม่ได้ล่าช้ากว่ากำหนด แต่ยังไม่สามารถให้ความชัดเจนเรื่องกรอบเวลาได้ โดยหลังจากนี้จะประสานไปยังพรรคแนวร่วมอื่นๆ เพื่อพูดคุยกันอย่างเป็นทางการ อาทิ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานเวลา ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเห็นภาพการแถลงข่าวจับมือจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองแนวร่วมเมื่อไร” นายอุตตม กล่าว

 

ดังนั้นจนถึงขณะนี้ขอสรุปเวลาการจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์ จึงยังไม่เกิดขึ้นและหากอนุมานว่า พรรคพลังประชารัฐ สามารถจัดรัฐได้สำเร็จ ซึ่งมีเสียงสนับสนุน 254 เสียง ต่อ 246 เสียง ตามการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยรูปการเช่นนี้ทางการเมืองเรียกว่า “รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ”  อีกทั้งการรวมตัวของหลายพรรคการเมืองทั้งใหญ่-น้อย จะทำให้กลายเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมากประมาณกว่า 10 พรรค  ทำให้เสถียรภาพรัฐบาลอ่อนแอ และที่สำคัญมักมีปัญหาเรื่องการต่อรองทางการเมือง และการคบคุมเสียงส.ส.ในสภาเป็นไปได้ยาก ตามที่เกิดขึ้นในการเลือก ประธานสภา และรองประธานสภา

การโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาฯ ถึงแม้ว่า จะเป็นไปตามเป้าที่ "พรรคพลังประชารัฐ" ได้ตกลงกับบรรดาพรรคร่วมไว้ก็ตาม แต่ดูเหมือนเส้นทางก็ไม่ได้ราบรืนเสียเท่าไหร่ โดยเฉพาะการชิงกันในตำแหน่งประธานสภา

 

“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

 

 หากย้อนกลับไปในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการโหวตเลือกประธานสภา นั้นก็คือในวันที่ 24  พ.ค. ซึ่ง ณ.เวลาต้องเรียกได้ว่า อยุ่ในช่วงที่กำลังสับสนอย่างหนักความไม่แน่นอนของฝั่งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยขณะนั้นพรรคพลังประชารัฐ ได้มีมติส่งชื่อแคนดิเดทประธานสภา คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเทริงเทรา แต่เพียงผู้เดียว และพรรคประชาธิปัตย์ก็ยืนยันที่จะส่งนาย  นายชวน หลีกภัย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ  ซึ่งพิจารณาจากท่าทีทั้ง2พรรคแล้ว ดูไม่เหมือนท่าทีของมิตรสหาย ที่จะมาร่วมรัฐบาลในอนาคตอันใกล้ แต่อย่างใด

 

จนกระทั้งช่วงเช้าของวันที่ 25ถึงเวลาการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดแรก และมีวาระอันสำคัญยิ่ง นั้นก็คือการเลือกตำแหน่ง ประธานสภา แม้เหมือนว่าทั้ง2พรรค จะไม่ได้ข้อสรุป ที่ลงตัว แต่ทว่าอย่างไรเสียการประชุมกก็ต้องเกิดขึ้น และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้วาระการเลือกประธานสภาส่อเค้ายืดเยื้อ มีการเสนอญัตติให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน

 

ในเวลาเดียวกัน ตัดมาที่ความเคลื่อนไหวภายในพรรคพลังประชารัฐที่เร่ง เดินหน้าเจรจาข้อสรุป ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ โดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รับหน้าที่ในการเจรจา จนได้ข้อสรุป โดยนายณัฏฐพล เสนอชื่อนายชวน เป็นชิงตำแหน่งประธานสภาฯ แทนที่นายสุชาติ ที่ยอมถอย นั่งรองประธานสภานคนที่ 1แทน

 

สำหรับผลการโหวต นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ชนะนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ จากพรรคเพื่อไทย ด้วยมติ 258 ต่อ 235 เสียง

 

ขณะที่ การโหวตเลือกรองประธานสภาฯ คนที่1 นายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ชนะ นางสาวเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อนาคตใหม่ อย่างเฉียดฉิวเพียง2คะแนนเสียง  ด้วยมติ 248 ต่อ 246

“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

 

ส่วนการโหวตรองประธานสภาฯ คนที่2 นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย ชนะ นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ด้วยคะแนน ที่ทิ้งห่าง17 คะแนน  ด้วยมติ 256 ต่อ 239

 

ถึงแม้ว่า จะเป็นไปตามเป้าที่ "พรรคพลังประชารัฐ" ได้ตกลงกับบรรดาพรรคร่วมไว้ก็ตาม แต่เสียงที่โหวตนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนของคะแนน

 

ท่ามกลางความขัดแย้ง และกำลังเดินหน้าเข้าสู่เดดล็อกทางการเมืองนั้น  ยังมีอีกหนึ่งทางออกสุดท้ายในการผ่าทางตัน คือ พล.อ.ประยุทธ์ประการศยุบสภา  ภายหลังจากโหวตนายกรัฐมนตรีแล้ว  พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกฯด้วยเสียงสนับสนุนจากพรรคพลังประชารัฐ บวกพรรคแนวร่วม อาทิ พรรคร่วมพลังประชาชาติไทย ประชาชนปฏิรูป  10พรรคเล็ก เป็นต้น ผนึกกับเสียงสนับสนุนจาก สว. จะทำให้พล.อ.ประยุทธ์ ได้เสียง เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือประมาณ 350 +เสียง จากนั้นทำการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย  ประกาศยุบสภา คืนอำนาจสู่ประชาชนอีกครั้ง กลับไปเริ่มต้นกันใหม่ โดยการเลือกตั้งอีกรอบ และที่นี้จะเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยออกไปใช้สิทธิ์เลือกฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ให้ถล่มทลายไปเลย 

 

“ยุบสภา” ทางออกสุดท้าย อาจเป็น “ทางเลือกแรก” ดัดหลังนักการเมือง

 

ในสถานการณ์ปกติ การประกาศยุบสภา แต่หากสถานการณ์บีบคั้นมากๆ พล.อ.ประยุทธ์ อาจตัดสินใจ “ยุบสภา”หาทางออกให้ประเทศ เป็นทางเลือกแรกก็เป็นได้  ที่ได้ขอแถมเป็นการดัดนิสัยนักการเมือง เห็นแก่ตัว แย่งชิงตำแหน่ง

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เฮือกสุดท้ายของพวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย!! "เพื่อไทย" ขายฝันดัน "ชัชชาติ" เป็นนายกฯ แท้จริงแค่ปั่นกระแสหวังเรียกเรตติ้ง!?

อนุทินตอบถ้าปชป.ไม่ร่วมพปชร.?และหากมียุบสภาภท.พร้อมลต.ใหม่

34ปีที่ป๋าเปรมให้อภัยหนุ่มป่วยเคยชกหน้า ทั้งฝากดูแลรักษาอย่างดี

ปูเสื่อรอ! "พลังประชารัฐ" แถลงยืนยัน ยังไม่จบดีลตั้งรัฐบาล ย้ำไม่ได้เบี้ยว"ปชป." ชิงโหวตเลือกนายกฯ และไม่คิดตั้งรบ.เสียงข้างน้อย!