อย่าตีความข้างเดียว!! "นักเขียนซีไรต์" ถอดความหมายอีกด้าน "Animal Farm" ชี้ไม่ได้เสียดสี "เผด็จการ" แต่เป็นการใช้ "อำนาจ"

อย่าตีความข้างเดียว!! "นักเขียนซีไรต์" ถอดความหมายอีกด้าน "Animal Farm" ชี้ไม่ได้เสียดสี "เผด็จการ" แต่เป็นการใช้ "อำนาจ"

(30 พฤษภาฯ)  ปรากฎบทวิจารณ์วรรณกรรมอย่าน่าสนใจ บนเพจเฟซบุ๊ก 'วินทร์ เลียววาริณ' ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และเป็นนักเขียนที่ได้รับ รางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้ง   โดยบทความดังกล่าวดังกล่าว มีเนื้อหาใจความดังนี้   "Animal Farm เป็นยอดนวนิยายเรื่องหนึ่งของโลก เขียนโดย จอร์จ ออร์เวลล์ มาตั้งแต่ปี 1945  เนื้อเรื่องเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่อ่านแล้วเหมือนโดนเฆี่ยนด้วยแส้หนังกลางหลัง โรยด้วยเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์อย่างละสองช้อนโต๊ะ

 

อย่าตีความข้างเดียว!! \"นักเขียนซีไรต์\" ถอดความหมายอีกด้าน \"Animal Farm\" ชี้ไม่ได้เสียดสี \"เผด็จการ\" แต่เป็นการใช้ \"อำนาจ\"

 

แซ่บแสบและแสบแซ่บ  นี่เป็นหนังสืออะไรกันแน่? ลองอ่านเรื่องย่อก่อน แอนิมัล ฟาร์ม มีชื่อจริงว่า แมนเนอร์ ฟาร์ม เจ้าของคือนายโจนส์ผู้ขี้เมา วันหนึ่งสัตว์ต่าง ๆ ในฟาร์มของนายโจนส์ก่อการปฏิวัติ เพราะรับการปกครองแบบโหดเหี้ยมของนายโจนส์ไม่ได้ หลังจากนายโจนส์เข้านอนแล้ว พวกสัตว์ในฟาร์ม นำโดยหมู 'ผู้พันแก่' ประชุมกัน ผู้พันแก่บอกว่าถึงเวลาปลดแอกแล้ว ผู้นำฟาร์มคนนี้เป็นจอมเผด็จการ หากินบนหลังสัตว์ สัตว์ทั้งหลายควรอยู่ในโลกที่สวยงาม ยุติธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

 

เหล่าสัตว์ฟังสุนทรพจน์แล้วเกิดอาการฮึกเหิมยิ่ง ร้องเพลงปลุกระดม นายโจนส์ตื่นขึ้นมาเพราะหนวกหู ยิงปืนขึ้นฟ้านัดหนึ่ง บรรดาสัตว์ก็เงียบเสียง สามวันต่อมาผู้พันแก่ตาย และถูกฝัง แต่ความฝันของมันไม่ได้ตายไปด้วย หมูสองตัวชื่อ สโนว์บอล กับ นโปเลียน ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้า วางแผนโค่นนายโจนส์ โดยความช่วยเหลือของหมูอีกตัวหนึ่งชื่อ สควีลเลอร์ ซึ่งเป็นหมูนักพูด


 

หมูสามตัว (ที่ไม่ใช่ชื่อยี่ห้ออาหาร) สร้างระบบใหม่ที่เรียกว่า Animalism ให้ผู้ที่ฉลาดนำกลุ่ม สัตว์ที่โง่กว่าเช่น แกะ ม้า เป็นผู้ตาม การปฏิวัติเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด วันหนึ่งนายโจนส์เมามากจนไม่ได้ออกมาให้อาหารสัตว์ เมื่ออดอาหาร สัตว์ก็ลุกฮือ ขับไล่เจ้าของบ้านไป เหล่าสัตว์เฉลิมฉลอง สำรวจสมบัติในบ้าน  สโนว์บอลเปลี่ยนป้ายชื่อ มานอร์ ฟาร์ม เป็น แอนิมัล ฟาร์ม เขากับนโปเลียนตั้งกฎใหม่ขึ้นมา เป็นบัญญัติเจ็ดประการ คือ

 

1 สองขาคือศัตรู
2 สี่ขาคือมิตร
3 สัตว์ห้ามสวมเสื้อ
4 สัตว์ห้ามนอนบนเตียง


5 สัตว์ห้ามดื่มของเมา
6 สัตว์ห้ามฆ่าสัตว์อื่น
7 สัตว์ทุกตัวเสมอภาคกัน

 

พี่น้องผองสัตว์ยินดีปรีดากับการปกครองตนเอง ทำงานหนักเพื่อปรับปรุงฟาร์ม มีการเคารพธงชาติทุกวันอาทิตย์ซึ่งถือเป็นวันพักผ่อน สโนว์บอลตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพัฒนาสังคม มีสโลแกน "ข้าจะทำงานหนักขึ้น" จัดตั้งระบบการศึกษา แต่สัตว์บางชนิดเรียนรู้ช้า สโนว์บอลจึงย่อบัญญัติเจ็ดประการเป็นกฎสั้น ๆ ว่า "สี่ขาดี สองขาไม่ดี"

 

หลังจากเก็บเกี่ยวแอปเปิ้ล พวกหมูยึดแอปเปิ้ลเป็นของตน เพราะว่าพวกตนจัดการดูแลฟาร์มเป็นอย่างดี สัตว์อื่น ๆ ได้แต่เงียบเสียง  วันหนึ่งนายโจนส์พาพวกมายึดฟาร์มคืน แต่ไม่สำเร็จ พวกสัตว์ต้านสุดฤทธิ์ สโนว์บอลกับบอกเซอร์ได้รับเหรียญกล้าหาญจากการรบ  

แอนิมัล ฟาร์ม แบ่งออกเป็นสองค่าย นโปเลียนไม่เห็นด้วยกับสโนว์บอลเกือบทุกเรื่อง นโปเลียนแอบเลี้ยงหมาดุไว้ฝูงหนึ่ง สั่งให้หมาขับสโนว์บอลออกไป จากไร่ และตนเองกลายเป็นหัวหน้าฟาร์ม  'ฝ่ายบริหาร' วางแผนสร้างกังหันเพื่อเพิ่มผลผลิต สัตว์อื่น ๆ ยกเว้นหมูกลายเป็นทาสแรงงาน

………………………..

 

อย่าตีความข้างเดียว!! \"นักเขียนซีไรต์\" ถอดความหมายอีกด้าน \"Animal Farm\" ชี้ไม่ได้เสียดสี \"เผด็จการ\" แต่เป็นการใช้ \"อำนาจ\"

 

เมื่อนโปเลียนประกาศว่า แอนิมัล ฟาร์ม จะทำธุรกิจกับพวกคน เหล่าสัตว์จำคำพูดของหมูผู้พันแก่ที่ว่า "การค้าเป็นความชั่วร้ายของพวกคน" สควีลเลอร์จึงต้องโน้มน้าวสัตว์อื่นว่า คิดมากไปต่างหาก  พวกหมูย้ายไปอยู่ในตัวบ้าน นอนบนเตียง ซึ่งผิดบัญญัติข้อที่ 4 แต่เมื่อพวกสัตว์กลับไปดูป้ายบัญญัติ ก็พบคำที่เติมขึ้นมา ความว่า  4 สัตว์ห้ามนอนบนเตียง ที่มีผ้าปู  ฤดูหนาวที่โหดร้ายมาถึง เหล่าสัตว์พบความหิวโหยอย่างหนัก นโปเลียนขายไข่ไก่ที่มีเพื่อไปซื้อข้าวเปลือก เหล่าแม่ไก่ต่อต้าน นโปเลียนจึงตัดส่วนอาหารไก่ หลายตัวอดจนตาย จนในที่สุดพวกไก่ก็ยอมแพ้

 

ต่อมานโปเลียนประกาศว่า มีผู้พยายามก่อกบฏในฟาร์ม สัตว์หลายตัวถูกประหาร สัตว์ที่เหลือกลัวจนไม่กล้าต่อต้าน แอนิมัล ฟาร์มกลายเป็นอาณาจักรแห่งความกลัว ไม่นานบัญญัติก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เช่น   6 สัตว์ห้ามฆ่าสัตว์อื่น โดยไร้สาเหตุ  5 สัตว์ห้ามดื่มของเมา มากเกินไป  การปันส่วนอาหารยังคงดำเนินต่อไป ยกเว้นพวกหมูที่กินดื่มเต็มที่

 

เมื่อสัตว์ตัวหนึ่งชื่อ บ็อกเซอร์ ล้มป่วย นโปเลียนสัญญาว่าจะส่งมันไปที่โรงพยาบาล แต่รถที่มารับบอกเซอร์คือรถของโรงฆ่าสัตว์ เวลาผ่านไปอีกหลายปี สัตว์หลายตัวตายไป สควีลเลอร์เริ่มหัดเดินสองขา เปลี่ยนสโลแกนใหม่เป็น "สี่ขาดี สองขาดีกว่า" ในที่สุดบัญญัติเจ็ดประการก็เหลือสั้น ๆ ว่า "สัตว์ทุกตัวเสมอภาคกัน แต่บางตัวเสมอภาคกว่าตัวอื่น"

 

วันหนึ่งเมื่อผองสัตว์มองดูพวกหมู ก็เริ่มเห็นว่าใบหน้าพวกหมูช่างเหมือนพวกคนเสียจริง... บอกแล้วว่าอ่านแล้วเหมือนโดนเฆี่ยนด้วยแส้หนังกลางหลัง โรยด้วยเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์อย่างละสองช้อนโต๊ะ...

.…………………

เอาละ มาถึงบรรทัดนี้ เชื่อว่าผู้อ่านร้อยละ 99 คงเห็นว่านวนิยายเรื่องนี้เสียดสีระบอบเผด็จการ ถูก แต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะเผด็จการยังไม่ใช่หัวใจของเรื่อง นิยายเรื่องนี้เสียดสี 'อำนาจ' ต่างหาก  มันบอกว่าอำนาจนั้นมักฉ้อฉล  ประโยคที่ชาวโลกคุ้นกันดีคือ "Power corrupts; absolute power corrupts absolutely."

เป็นประโยคที่ถูกทอนมาจากจดหมายที่นักประวัติศาสตร์ ลอร์ด แอคตอน เขียนถึง บิชอบ แมนเดลล์ ไครตัน เมื่อปี 1887 ว่า "Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely. Great men are almost always bad men."

 

แปลว่า อำนาจมักจะฉ้อฉล และอำนาจสูงสุดมักฉ้อฉลสูงสุด ผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นคนเลวเกือบเสมอ โปรดสังเกตว่าประโยคเต็มมีคำว่า 'tends to' (มักจะ) บอกว่าไม่ทุกๆ อำนาจเลวร้าย แต่ส่วนใหญ่มักจะเลวร้าย  Animal Farm สะท้อนสันดานมนุษย์ว่า เมื่อไรที่มีอำนาจในมือ ไม่ว่าเดิมทีมีนิสัยดีอย่างไร จะเปลี่ยนไปเสมอ (นี่ก็คือคอนเส็ปต์ของประชาธิปไตยบนเส้นขนาน)  ยิ่งมีอำนาจมาก ก็จะยิ่งเปลี่ยนมาก

 

เขื่อไหมว่า จอร์จ ออร์เวลล์ เขียนเรื่อง Animal Farm เพื่อสะท้อนเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ที่เปลี่ยนระบอบเป็นคอมมิวนิสต์ พวกบอลเชวิกผู้ก่อการสัญญาชาวบ้านเสียดิบดี แต่ลงท้ายก็ฆ่ากันเองเพื่อแย่งอำนาจ  จอร์จ ออร์เวลล์ เขียนนวนิยายแรงๆ แบบนี้สองเรื่องคือ Animal Farm กับ 1984 สองเรื่องนี้ควรอ่านคู่กัน ขอแนะนำอย่างสูง

 

อย่าตีความข้างเดียว!! \"นักเขียนซีไรต์\" ถอดความหมายอีกด้าน \"Animal Farm\" ชี้ไม่ได้เสียดสี \"เผด็จการ\" แต่เป็นการใช้ \"อำนาจ\"

 

ขณะที่นักอ่านส่วนมากเห็นว่า Animal Farm เสียดสีเผด็จการ ผมกลับเห็นว่า Animal Farm สะท้อนความอ่อนแอของมนุษย์มากกว่า เรื่อง 1984 ต่างหากที่สะท้อนระบบเผด็จการชัดเจนกว่ามาก คือตัวละคร Big Brother ควบคุมทุกอย่าง อีกเหตุผลหนึ่งเพราะอำนาจไม่ได้หมายถึงบริบททางการเมืองอย่างเดียว ในองค์กรธุรกิจ ก็มีอำนาจฉ้อฉล ในครอบครัวก็มีอำนาจฉ้อฉล

 

ลูกน้องที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้านายแล้วเปลี่ยนเป็นชอบกดขี่ ก็คือ Power corrupts เจ้านายด่าคนใช้เป็นหมูเป็นหมา ก็คือ Power corrupts (ส่วนภรรยากดขี่สามีไม่ใช่ Power corrupts เป็นแค่เทคนิคฝึกสัตว์ให้เชื่องเท่านั้น) แม้กระทั่ง 'เผด็จการรัฐสภา' และการแทรกแซงองค์กรอิสระก็คือ Power corrupts  Animal Farm ชี้ให้เห็นว่าอำนาจเปลี่ยนคนธรรมดาเป็น Power addict และลงท้ายด้วย Power corrupts อย่างไร

 

อำนาจก็เหมือนไฟ แรกๆ คนแสวงหามันเพื่อความอบอุ่น แต่เมื่อได้มาแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะใช้เผาตัวเอง เป็นอย่างนี้แทบทุกคน บางทีความเป็นมนุษย์เป็นอย่างนี้เอง นั่นคืออ่อนแอ ตกอยู่ใต้ตัณหาที่เรียกว่าอำนาจได้ง่ายดาย  ยิ่งมีอำนาจ ก็ยิ่งอ่อนแอ จึงต้องกดหัวคนอื่น"

.…………………

 

"วินทร์ เลียววาริณ"
ขอบคุณบทความดีๆ : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/winlyovarin/

 

อย่าตีความข้างเดียว!! \"นักเขียนซีไรต์\" ถอดความหมายอีกด้าน \"Animal Farm\" ชี้ไม่ได้เสียดสี \"เผด็จการ\" แต่เป็นการใช้ \"อำนาจ\"