นิสิตเก่าจุฬาฯ เขียนจม.ถึงอัยการปรเมศวร์ พฤติกรรม "ช่อ" ไม่ใช่เด็ก!

นางสาวศุภมาส เสนะเวส แกนนำกลุ่ม “ขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง” หรือ  WeMove  ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้ เรียน ท่านรองอธิบดีอัยการ ในทุกสังคมมีบุคคล มีสัญลักษณ์ มีรูปเคารพ มีอนุสาวรีย์ มีสิ่งสักการะบูชา ไม่ว่าจะโดยคุณงามความดีต่อประเทศชาติ โดยความศรัทธาตามหลักศาสนา ฯลฯ หากใครมาหมิ่นหยาม ย่อมนำมาซึ่งความขุ่นแค้นโกรธเคือง

จากการโลกออนไลน์ แชร์ภาพในอดีตของ "ช่อ" พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ตอนรับปริญญา รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2553 และเพื่อนร่วม6คน โดยได้ทำทำท่าลบหลู่ขำขัน ถือเป็นกิริยาที่มิบังควร พร้อมใส่แคปชันว่า "ภาพนี้ไม่ควรมีคำบรรยาย ต่อมา พรรณิการ์ ออกมา กล่าวโทษ "เพจเฟซบุ๊กที่ทำงานปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารทางจิตวิทยา หรือ เพจ IO ให้แก่ คสช. กับสื่อมวลชนนำภาพที่ช่อถ่ายเล่นๆมาโจมตีช่ออย่างรุนแรงโดยพยายามเชื่อมโยงกับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์"

 

 

กระทั่งนายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีสำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ถึงกรณี นางสาวพรรณิการ์ ตามที่มีกระแสกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมทั้งในโลกโซเชียลฯและสังคมภายนอกถึงภาพการกระทำในเฟซุบุ๊กเมื่อ9ปีที่แล้วว่า

 

 ตอนเราเด็กเราก็คิดอย่างเด็ก พอเราโตเราคิดอย่างผู้ใหญ่ ทำไมต้องถอยหลังไปเล่นงาน ตอนเขาเป็นเด็กเมื่อ9ปีที่แล้ว เพื่ออะไร??

 

นิสิตเก่าจุฬาฯ เขียนจม.ถึงอัยการปรเมศวร์ พฤติกรรม \"ช่อ\" ไม่ใช่เด็ก!

นางสาวศุภมาส เสนะเวส แกนนำกลุ่ม “ขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง” หรือ  WeMove  ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้ เรียน ท่านรองอธิบดีอัยการ

 

ในทุกสังคมมีบุคคล มีสัญลักษณ์ มีรูปเคารพ มีอนุสาวรีย์ มีสิ่งสักการะบูชา ไม่ว่าจะโดยคุณงามความดีต่อประเทศชาติ โดยความศรัทธาตามหลักศาสนา ฯลฯ หากใครมาหมิ่นหยาม ย่อมนำมาซึ่งความขุ่นแค้นโกรธเคือง

 

ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อนุสาวรีย์หรือพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

นับเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวจุฬาฯ ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยังเพิ่มเติมด้วยรูปของ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ -พระบิดาแห่งนิติศาสตร์ไทย (ซึ่งท่านคงรู้จัก) อีกด้วย

 

ดังนั้น เมื่อมีผู้แสดงอาการลบหลู่ หมิ่นแคลน เสียดเย้ย ต่อผู้ที่เคารพบูชา เป็นธรรมดาที่ย่อมมีผู้ไม่พอใจและมีปฏิกิริยาจากชาวจุฬาฯ จำนวนมาก ไม่เพียงแต่เท่านั้น ทุกพระองค์ยังเป็นที่เคารพรักของพสกนิกรชาวไทย #ส่วนใหญ่ ด้วยทรงมีคุณูปการอเนกอนันต์ต่อประเทศไทย

 

กระแสความไม่พอใจ โกรธแค้น ขุ่นเคือง ตำหนิ ทักท้วง หรือสาปแช่งด่าทอ จึงโหมกระพือโดยธรรมชาติของตัวมันเอง  ลุกลามไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว นำมาซึ่งการสืบค้นถึงพฤติการณ์ต่าง ๆที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ของผู้กระทำ

 

นิสิตเก่าจุฬาฯ เขียนจม.ถึงอัยการปรเมศวร์ พฤติกรรม \"ช่อ\" ไม่ใช่เด็ก!

และที่สำคัญยิ่ง การกระทำในเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา  การเรียกร้องให้ตรวจสอบและดำเนินคดีจึงตามมา และฝ่ายบ้านเมืองจึงดำเนินการ ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามหลัก  #อิทัปปัจจยตา -ผลย่อมมาแต่เหตุ

 

นิสิตเก่าจุฬาฯ เขียนจม.ถึงอัยการปรเมศวร์ พฤติกรรม \"ช่อ\" ไม่ใช่เด็ก!

 

ผู้กระทำเป็นผู้สร้างทำ มิใช่ผู้อื่นจองล้างกลั่นแกล้งแต่ประการใด จึงขอความกรุณาท่านโปรดเข้าใจ #ข้อเท็จจริง

 

บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรม #โดยเฉพาะระดับสูง พึงดำรงความเที่ยงธรรมไว้ในจิตใจ มองทุกอย่างด้วยหลักเหตุผล ใช้อารมณ์ความรู้สึกให้น้อย --น้อยกว่าบุคคลทั่วไป ดังที่กล่าวกันว่า พึงปราศจากอคติ ๔ อันได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ และระมัดระวังการแสดงความเห็นอันกอปรด้วยอคติ ออกสู่สาธารณะ

 

อนึ่ง ตามหลักกฎหมายอาญา ผู้ที่ถือว่าเป็นเด็กและเยาวชน จะต้องมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์ การพิจารณาคดีจึงจะทำในศาลคดีเด็ก เยาวชนฯ และการลงโทษจะใช้กระบวนการฝึกอบรมในสถานพินิจต่าง ๆ แทนการจำคุกในเรือนจำ แต่กระนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับพฤติการณ์ที่โหดร้ายรุนแรงกว่าปกติ

 

 

ส่วนในหลักกฎหมายแพ่งฯ นั้น  อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ถือว่า #บรรลุนิติภาวะ มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอที่จะทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ได้ โดยรับรู้ผลของการกระทำนั้น (ทบทวนมา เผื่อท่านจะหลงลืมด้วยวัยชรา) ผู้กระทำการดังกล่าว มีอายุราว ๒๑-๒๒ ปีในขณะนั้น  จึงไม่ใช่ #เด็ก ในสถานะใด ๆ ทั้งสิ้น

 

นอกจากนั้น ผู้กระทำ ยังกระทำในขณะที่กำลังจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร อันเป็นเครื่องประกาศความเป็นบัณฑิต

บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ ฯ

 

จึงมิอาจกล่าวได้ว่ากระทำไปด้วยความ #เบาเต็ง หรือ #เยาว์ความ จึงน้อมเรียนมาเพื่อทราบ #การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง สัพพทานัง ธรรมทานัง ชิเนติ

 

ศุภมาส เสนะเวส นิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๒๑ (ผู้มีความรู้ไม่มากนัก) ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒