อย่ามั่นใจเกิน!! กางรธน.จริงหรือไม่ “พรรคฝ่ายค้าน” จะได้เปรียบชิงฟ้อง 41 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ “ธนาธร” สิร้อนใจหนักขอเลื่อนศาลรธน.รอบ 2

อย่ามั่นใจเกิน!! กางรธน.จริงหรือไม่ “พรรคฝ่ายค้าน” จะได้เปรียบชิงฟ้อง 41 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ “ธนาธร” สิร้อนใจหนักขอเลื่อนศาลรธน.รอบ 2

เดินหน้าเต็มสูบเวลานี้   สำหรับพรรคอนาคตใหม่ในการเรียกร้อง   เชิงกดดันกระบวนการยุติธรรม  ให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการกับ  41 ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล  ภายใต้กรอบวิธีการเดียวกับ ที่มีการออกมาก่อนหน้า ในกรณีของ  นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่   เรื่องการถือครองหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค  มีเดีย  

 

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐเลือกแก้เกมส์นี้   โดยการยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว  ไม่ให้สั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่ของ 27 ส.ส ในสังกัด พรรคพลังประชารัฐ  โดยมีเหตุสำคัญ  ด้วยข้ออ้างว่า  ส.ส.ของพรรคที่ถูกยื่นคำร้องถือครองหุ้นสื่อ  เป็นเพียงการจดแจ้งในบริคณห์สนธิ    หรือ  เอกสารก่อตั้งบริษัทจำกัด   ซึ่งแตกต่างจากกรณีของนายธนาธร  ที่มีการดำเนินกิจการประกอบธุรกิจสื่อแล้ว

 

รวมถึงในกรณีนี้หากศาลรัฐธรรมนูญ   มีคำสั่งไปในแนวทางเดียวกับ นายธนาธร    ก็อาจส่งผลกระทบต่อการประชุมสภา  และการบริหารจัดการในระบบรัฐสภาในอีกหลายด้าน  ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 

 

อย่ามั่นใจเกิน!! กางรธน.จริงหรือไม่ “พรรคฝ่ายค้าน” จะได้เปรียบชิงฟ้อง 41 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ “ธนาธร” สิร้อนใจหนักขอเลื่อนศาลรธน.รอบ 2

แน่นอนแนวทางนี้ย่อมถูกปฏิเสธจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน  โดยทางด้าน  นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์  โฆษกพรรคเพื่อไทย  ระบุว่า  การดำเนินการของพรรคพลังประชารัฐ   เรื่องการขอคุ้มครองชั่วคราว  เป็นการเอาเปรียบและขาดสปิริตทางการเมืองมากเกินไป

 

ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมและยืนอยู่บนมาตรฐานอันเดียวกัน   ในกรณีที่นายธนาธร ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่  ก็ควรที่จะใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันนี้กับ 41 ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล   .ที่ถูกยื่นคำร้องว่าขาดคุณสมบัติเนื่องจากถือหุ้น ในบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการทำกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆเช่นเดียวกัน  

 

เหตุกรณีนี้   “สำนักข่าวทีนิวส์”   เคยชี้ให้เห็นแล้วว่าเป้าหมายของการเร่งรัด  กดดันกระบวนการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ    มีทิศทางชัดเจนเพื่อหวังผลทางการเมือง   โดยเฉพาะการต่อสู้ในระบบรัฐสภา    ซึ่งต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นองค์ประกอบการในการตัดสิน  

 

ทั้งการผ่านร่างกฎหมาย  หรือ    แม้กระทั่งการเสนอญัตติสำคัญ  อย่าง การอภิปรายไม่ไว้วางใจ  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการลงมติ  จากเดิมจำนวนเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลมีทั้งสิ้น  254  เสียง  และ พรรคร่วมฝ่ายค้าน 246  เสียง   

 

อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา  82  วรรคสาม  ว่าด้วยผลคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ  กรณีให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่  จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย

 

โดยการระบุว่า “ มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง  เป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา”  

 

อย่ามั่นใจเกิน!! กางรธน.จริงหรือไม่ “พรรคฝ่ายค้าน” จะได้เปรียบชิงฟ้อง 41 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ “ธนาธร” สิร้อนใจหนักขอเลื่อนศาลรธน.รอบ 2
 

ทำให้ต้องประเด็นนี้มีน้ำหนักต้องพิจารณาประกอบว่า  ท้ายสุดแล้ว  การยื่นคำร้องเอาผิดกับส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล จะมีผลในระดับใดทางการเมืองกันแน่  ??
    

ด้วยเหตุผลต้องไม่ลืมว่า   ทางด้าน   นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์  ส.ส.บัญชีรายชื่อ  พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)   ก็กำลังเคลื่อนไหวเพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร   ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ  วินิจฉัยคุณสมบัติ  ส.ส. ชุดแรกจำนวน  20 คน   

 

จาก 7  พรรคฝ่ายค้าน   ประกอบด้วย   พรรคเพื่อไทย ,  พรรคเสรีรวมไทย  , พรรคอนาคตใหม่  ,  พรรคพลังปวงชนไทย  , พรรคเศรษฐกิจใหม่  , พรรคเพื่อชาติ  และพรรคประชาชาติ  ที่มีชื่อเป็นผู้ถือครองหุ้นในบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการ ประเภท หนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน  เข้าข่ายขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

ในทีนี้ถ้าพิจารณาจาก รัฐธรรมนูญ  มาตรา 82  วรรคสาม    “ มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง  เป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา”  

 

เท่ากับว่าในกรณีถ้าศาลรัฐธรรมนูญ   มีคำสั่งให้ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล  และ  พรรคร่วมฝ่ายค้าน   อยู่ในเงื่อนไขเดียวกันทั้งหมดกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  คือ พักการทำหน้าที่ส.ส.  ก็ใช่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะกุมความได้เปรียบทางการเมือง  อย่างที่หลายคนเข้าใจ  ด้วยเงื่อนไขว่า สภาผู้แทนฯไม่ได้มีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 500  และครึ่งหนึ่งก็คะแนนเสียงข้างมาก ก็ไม่ใช่ 250 เหมือนเดิม   

แต่น่าสนใจกว่านั้นก็คือเกิดอะไรขึ้น     เมื่อนายธนาธร    ตัดสินใจส่งทีมกฎหมายไปยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ    ขอขยายเวลาในการส่งเอกสารคำชี้แจงกรณีถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เป็นครั้งที่ 2 ออกไปอีก 15 วัน  จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่  8 กรกฎาคม 2562   โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อตรวจความถูกต้องของเอกสาร  

 

ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้า “ธนาธร” และเครือข่ายอนาคตใหม่  ยืนยันเสียงแข็งมาโดยตลอด  เรื่องความถูกต้องในการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด  และความมั่นใจในหลักฐานที่นำเสนอผ่านทุกช่องทางสื่อ!!

 

อย่ามั่นใจเกิน!! กางรธน.จริงหรือไม่ “พรรคฝ่ายค้าน” จะได้เปรียบชิงฟ้อง 41 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ “ธนาธร” สิร้อนใจหนักขอเลื่อนศาลรธน.รอบ 2