ถอดรหัส"ตู่ จตุพร"แสดงตัวเป็นหนึ่งจิตอาสา"ผ้าพันคอเหลือง" วันนี้จุดยืนชัด คนละเส้นทางนายใหญ่ แนวร่วมล้มเจ้า !??

ต้องยอมรับว่ากระแสการเมือง ในช่วงการบริหารประเทศโดยรัฐบาลคสช. เป็นจังหวะที่ประเทศก้าวเดินไปด้วยความสงบ แม้ว่าจะมีบ้างเรื่องการปลุกระดม ชวนเชื่อ ให้มีการออกมาประท้วงของกลุ่มนักศึกษา และนักเคลื่อนไหว แต่ดูเหมือนว่าทิศทางความเป็นไปได้ยากจะถูกจุดติด เหมือนการชุมนุมก่อนหน้าในปี 2552-2553 และ 2557

ต้องยอมรับว่ากระแสการเมือง  ในช่วงการบริหารประเทศโดยรัฐบาลคสช.  เป็นจังหวะที่ประเทศก้าวเดินไปด้วยความสงบ แม้ว่าจะมีบ้างเรื่องการปลุกระดม  ชวนเชื่อ ให้มีการออกมาประท้วงของกลุ่มนักศึกษา  และนักเคลื่อนไหว  แต่ดูเหมือนว่าทิศทางความเป็นไปได้ยากจะถูกจุดติด  เหมือนการชุมนุมก่อนหน้าในปี 2552-2553 และ  2557

คาบเกี่ยวจังหวะสำคัญ ในช่วงการนับหนึ่งบริหารประเทศ  ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  มีภาพน่าสนใจเมื่อแกนนำขั้วการเมืองตรงข้าม เมื่อ   จตุพร  พรหมพันธุ์ ประธานนปช.  นำทีมเข้าร่วมเป็นจิตอาสา เข้าร่วมพิธีรับหมวกและผ้าพันคอพระราชทาน  ต่อเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จิตอาสา  "เราทำความดี  ด้วยหัวใจ" 

 

ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ ท่าทีของจตุพร  พรหมพันธุ์  มีความแตกต่างจากเส้นทางการเมืองในอดีต  หรือไม่ อย่างไร 

น่าสนใจว่าหลังจาก  นายจตุพร    พ้นโทษในความผิดหมิ่นประมาท   นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   อดีตนายกรัฐมนตรี    ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328     ในการขึ้นเวทีชุมนุมกลุ่มนปช.เสื้อแดง     เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม และ 17 ตุลาคม 2552   ปราศรัยกล่าวหานายอภิสิทธิ์  ประวิงเวลาในการทำความเห็นเสนอต่อสำนักราชเลขาธิการ  เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ นายทักษิณ ชินวัตร ตามที่กลุ่มเสื้อแดงร่วมกันลงชื่อถวายฎีกา  รวมทั้งกล่าวหานายอภิสิทธิ์   สื่อความในลักษณะใส่ร้ายว่าเป็นฆาตกรสั่งฆ่าประชาชน   ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง

 

มุมมองของนายจตุพรที่แม้จะคงความเป็นผู้นำมวลชนคนเสื้อแดง  เรื่องจุดยืนการเมือง    ทั้งการต่อต้านรัฐประหาร   และ   การบริหารประเทศโดยคสช.   แต่องค์ประกอบทางความคิด  หรือ   แนววิธีการนำเสนอความคิด  กลับเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน 

วันที่ 5  สิงหาคม  2561   นายจตุพร   เปิดใจหลังการพ้นโทษจองจำ   ว่า   การต่อสู้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา   เป็นบทเรียนที่สะท้อนอะไรให้กับตนเองและสังคมได้รับทราบ   และยังคงความคิดเดิมว่า   บนเส้นทางของการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย  จะมีทางเลือกของการต่อสู้เพียง 2 ทาง คือ หากไม่ตาย ก็ติดคุก  ดังนั้น ความตาย และอิสรภาพจึงเป็นของคู่กัน

ก่อนจะทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ  ว่า  นปช.ให้ความร่วมมือกับการเข้าสู่ แนวทางการปรองดองทุกครั้ง   เพราะส่วนตัวคิดว่า  ไม่มีฝ่ายใดจะได้ทุกอย่าง อยากให้ใช้หลักแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง และถอยกันคนละก้าวเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ คือหนทางที่ดีที่สุด

เป็นท่าทีของการประนีประนอมที่น่าสนใจ  เพราะไม่ได้ฝืนกับหลักการต่อสู้นปช.  แต่โฉมใหม่ของ จตุพร  มีมุมมองแตกต่างจากแนวร่วมเสื้อแดงบางพวกชัดเจน

 

27 พฤษภาคม  2562  นายจตุพร   แสดงความเห็น  กรณี  พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ   ถึงแก่อสัญกรรม   ทำสังคมไทยแปลกใจอยู่ไม่น้อย   จากจุดยืนเดิมที่้เคยประกาศตัวอยู่ตรงข้ามอำมาตย์  หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ พล.อ เปรม  ในการประกาศเดินหน้ารุกรบ แตกหัก  โดยทักษิณ  ชินวัตร  ว่า    คุณูปการของ พล.อ.เปรม มีหลายเรื่องที่คนไทยต้องไม่ลืม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ซึ่งเป็นการยุติการต่อสู้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลไทย สามารถลดความตายในแต่ละปีเป็นจำนวนนับพัน

 

พล.อ.เปรม ได้ประกาศคำสั่งยุติความตาย  นำคนไทยที่เข้าป่าไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา  ประชาชน  กลับมาร่วมพัฒนาชาติไทย   อีกเรื่องก็คือความซื่อสัตย์สุจริตเป็นแบบอย่างหนึ่ง  สุดท้ายก็คือคำว่า "ผมพอแล้ว" เป็นสัจธรรมทางอำนาจที่ผู้มีอำนาจในยุคหลังควรที่จะเอาเป็นแบบอย่าง

 

ส่วนเรื่องความเห็นที่แตกต่างกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมในฐานะคนพุทธก็กราบขออโหสิกรรม เราเป็นคนไทยสามารถแยกแยะทุกอย่างได้  วันนี้ตนขอกราบอโหสิกรรม

แน่นอนว่านี่อาจเป็นการส่งสัญญาณบวก ของจตุพร  ถึงคนเสื้อแดง  แต่โลกความเป็นจริงวันนี้  เสื้อแดงที่มีแนวคิดสุดขั้ว เรื่องชนชั้น  เรื่อง สถาบัน ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย

 

ตัวอย่างที่อนุกรรมการติดตามคดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112    เคยรวบรวมรายชื่อไว้    และมีการประสานงานผ่านกระทรวงต่างประเทศ    เพื่อนำไปสู่การนำจับกุมตัวมาโดยตลอด   หลายคนเป็นที่รู้จักมักคุ้นจากพฤติกรรมในอดีต และอีกบางส่วนก็ยังมีการเคลื่อนไหวเหมือนเดิม   อาทิเช่น      

 

1.“ตั้ง อาชีวะ” หรือ  นายเอกภพ เหลือรา  ที่ล่าสุดพบว่าได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เพื่อพำนักอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์

2. “โรส” หรือ น.ส.ฉัตรวดี อมรพัฒน์  ผู้ต้องหาซึ่งยังหลบหนีอยู่ในหลายประเทศทางยุโรป 

3. “โกตี๋” หรือนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ แกนนำคนเสื้อแดง ที่ก่อนหน้ามีกระแสข่าวระบุว่า พำนักอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน

4. “อั๊ม เนโกะ” หรือนายศรันย์ ฉุยฉาย คาดว่าพำนักอยู่ในประเทศแถบยุโรป

5. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย   ซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นเลขาธิการองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

6. นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการบริหารองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

7. นายสุนัย จุลพงศธร อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย

8. นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน อดีตผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชนคนรักทักษิณ

9. นายใจ  อึ้งภากรณ์ ผู้หลบหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังประเทศอังกฤษ

10. นางมนัญชยา เกตุแก้ว  ผู้ต้องหาหลบหนีไปต่างประเทศ   กรณีทำเอกสารและแผ่นซีดีเข้าข่ายปลุกระดมหมิ่นสถาบัน

11. นางจรรยา ยิ้มประเสริฐ   อดีตนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงาน

12. นายจุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์ หรือโจ กอร์ดอน

13. นายองอาจ ธนกมลนันท์ หรือ “อาคม ซิดนีย์” นักเคลื่อนไหว ต่อต้าน ม.112 และมีแนวคิดชัดเจนเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง

 

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ สนข.ทีนิวส์  เคยนำเสนอพฤติกรรมการต่อต้านสถาบันเบื้องสูง  และยังคงหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ  จะด้วยการสนับสนุนของกลุ่มทุนนักการเมืองใด  หรือ องค์กรต่างชาติใดก็ตาม  แต่มีความชัดเจนประการสำคัญว่า  คนกลุ่มนี้ หรือ นักเคลื่อนไหวใด ๆ ที่มีแนวคิดลักษณะนี้  ต้องไม่ถือเป็นแนวร่วมเสื้อแดง  ภายใต้การนำของ จตุพร พรหมพันธุ์  !!!