บิ๊กตู่ ตอกหน้าส.ส.กดบัตรแทนกัน ไม่มั่นใจกระทบร่างพ.ร.บ.งบฯแค่ไหน  สว.สมชายจี้ตัดสินใจแก้ไขด่วน

สืบเนื่องจากการที่ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  (ปชป.)  และ อดีต ส.ส.พัทลุง   ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เร่งการตรวจสอบ ความไม่ปกติในกระบวนการลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 โดยมีส.ส.พรรคภูมิใจไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง

สืบเนื่องจากการที่  นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ อดีต ส.ส.พัทลุง  ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เร่งการตรวจสอบ  ความไม่ปกติในกระบวนการลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563  โดยมีส.ส.พรรคภูมิใจไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง   (คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ละเอียดยิบไทม์ไลน์ฉาว ส.ส.ภูมิใจไทยทัวร์จีน "นิพิฏฐ์" แถลงแฉหลักฐานชัดกดบัตรแทนกัน ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปี 63)   

ล่าสุด   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  และ รมว.กลาโหม   กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)  ถึงกรณีดังกล่าวว่า  เรื่องดังกล่าวได้มีการหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแล้ว  ซึ่งต้องดูว่าเกิดที่ไหนและรัฐบาลจะแก้ไขอะไรได้อย่างไร   โดยมีรัฐบาลมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น   แต่สิ่งที่สื่อน่าจะถามตนคือจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร    โดยตนต้องมีการพูดคุยกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณว่าจะทำอย่างไร   เพราะขณะนี้ทราบว่าได้มีการยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้นต้องมีการหารือกันอีกครั้งว่าจะแก้ไขในส่วนการบริหารราชการได้อย่างไร 

 

บิ๊กตู่ ตอกหน้าส.ส.กดบัตรแทนกัน ไม่มั่นใจกระทบร่างพ.ร.บ.งบฯแค่ไหน  สว.สมชายจี้ตัดสินใจแก้ไขด่วน

อย่างไรก็ตามวันนี้ในส่วนของงบบุคลากรและงบอะไรต่างๆ ไม่ได้มีปัญหามากนัก แต่มีปัญหาในเรื่องงบลงทุนที่มีจำนวนหลายแสนล้านบาท  ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น  จึงต้องหามาตรการอื่นมาเสริมอีกจำนวนมาก แต่ถ้าไม่มีเงินลงไปก็จะเดือดร้อนกันทั้งหมด อย่างไรก็ตามตนเคารพในกติกาและกฎหมายทุกตัว จึงขอให้ติดตามเรื่องนี้กันต่อไปแล้วกัน


ขณะที่เมื่อถูกถามว่า งบประมาณฯ ปี 2563 จะล่าช้าหรือขยายไปอีกนานเท่าไหร่  พล.อ.ประยุทธ์   กล่าวว่า   ตนไม่รู้ว่าจะนานหรือไม่นาน ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา ซึ่งปกติก็ใช้เวลานานพอสมควรในเรื่องเหล่านี้  ดังนั้นก็จะทำให้ล่าช้าไปอีกและงบประมาณมีปัญหา   สมมุติช้าไปอีก 3 เดือนแล้วจะใช้ทันหรือไม่ในเวลาที่เหลืออยู่   ซึ่งขณะนี้เข้าไปไตรมาส 2 แล้ว   ส่วนความเป็นไปได้ที่จะออกเป็นพ.ร.ก.เงินกู้นั้น มองว่ายังไม่สมควรในเวลานี้ ทั้งนี้ทีมเศรษฐกิจก็ต้องทำแผนสำรองอยู่แล้ว   โดยจะมีการประชุมในเรื่องงบประมาณว่าจะทำอย่างไรได้บ้างหากต้องเลื่อนออกไปอีกในด้านการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐที่เรียกว่าใช้ไปพลางก่อนจะทำอย่างไร ซึ่งปัญหาติดอย่างเดียวคือเรื่องของเศรษฐกิจและงบลงทุน 

ส่วนประเด็นที่มีการมองว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่   พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ว่าพรรคไหนตนก็ไม่รู้เหมือนกัน  ไม่รู้ด้วยว่าเป็นการขุดคุ้ยฟ้องร้องกันเองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล   "ก็ไปถามคนฟ้อง  อย่ามาถามผมเพราะผมไม่ได้เกี่ยวข้องตรงโน้น แต่สรุปว่าไม่ควรกระทำ นั่นแหละไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ตาม ไม่ควรจะกระทำถ้ารู้ว่าผิดกติกาของสภา เอางี้ผมตอบอย่างนี้"


ทางด้าน นายสมชาย แสวงการ  สมาชิกวุฒิสภา  ได้โพสต์แสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าว  โดยระบุว่า  "#รัฐบาลต้องตัดสินใจด่วนแก้ไขปัญหาพ.ร.บ.งบประมาณ 2563 สะดุด  #ทางเลือกคือตรวจสอบกฎหมายให้ชัดเจนว่านำเข้าสภาโหวตใหม่ได้หรือไม่ หรือ #ออกพระราชกำหนดแก้ไขปัญหาทางการเงินเร่งด่วน

จริงอยู่ครับว่างบประมาณแผ่นดินนั้นจะต้องตราเป็นกฎหมายโดยผ่านรัฐสภา  แต่เหตุล่าช้าในการใช้งบประมาณ2563 เม็ดเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจยามวิกฤติสงครามการค้าและวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศมิอาจรอได้และดูจะริบหรี่ล่าช้าไปอีกอย่างน้อย1-3เดือนหรืออาจมากกว่า   เหตุเพราะปัญหาที่ทั้งสส ฝ่ายค้านและส.ส.ฝ่ายรัฐบาล คงต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีปัญหาการมีผู้กดบัตรลงคะแนนสสที่ไม่ได้อยู่ในสภาบางมาตราและหลากหลายกรณี

ในฐานะที่เคยเป็นผู้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญในหลายคดีรวมถึงคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยคดีการออกพ.ร.บเงินกู้ 2 ล้านล้านในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น  แม้ศาลรัฐธรรมนูญท่านจะให้ความสำคัญพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี  ที่เป็นต่อประโยชน์สาธารณะมากเพียงใดก็ตาม  ก็คงต้องให้เวลาศาลรัฐธรรมนูญท่านได้ไต่สวนข้อเท็จจริง  ซึ่งมีหลายกรณีตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากประสบการณ์คงต้องใช้เวลาไต่สวนและให้ส่งเอกสารประกอบคำชี้แจงทั้งฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายถูกร้อง หลายครั้ง และใช้เวลาแต่ละนัดรวมกัน 1-2เดือน

ถ้ากรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีบางส่วนที่ขัดหรือแย้ง และต้องกลับไปให้ ส.ส. ส.ว. ลงมติใหม่บางส่วน ก็จะใช้เวลารวมกันกว่าจะใช้งบประมาณ 2563 ใหม่นี้ได้อย่างเร็วก็ราวเดือนเมษายน  แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี2563 เสียไปทั้งฉบับ และอาจต้องเสนอใหม่ทั้งหมด  กระบวนการทั้งหมดคงเสร็จเลยปีงบประมาณ 2563 ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อประเทศ คงยากจะคาดเดา

ดังนั้น จึงขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้เป็นการเร่งด่วนโดย

1)ออกเป็นพระราชกำหนดพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  2563 ตามวงเงินที่สภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภาแก้ไขแปรญัตติแล้ว 3.2  ล้านล้านบาท และนำพระราชกำหนดดังกล่าวเข้าผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา หรือ
2)ออกพระราชกำหนดวงเงินให้กระทรวงการคลังใช้เงินลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวนหนึ่ง เช่น 6 แสนล้านบาท เท่ากับเม็ดเงินที่เตรียมไว้ในพ.ร.บ.งบประมาณปี 63

ซึ่งการออกพระราชกำหนดนั้นถือเป็นอำนาจฝ่ายบริหารที่สามารถกระทำได้ในยามจำเป็นเร่งด่วน และมีตัวอย่างที่รัฐบาลในอดีตสามารถออกพระราชกำหนดทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศเป็นการจำเป็นเร่งด่วนมิอาจหลีกเลี่ยงได้และลับ  เช่น เมื่อ พ.ศ. 2541 รัฐบาลออกพระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 ซึ่งออกมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี

และสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ.2552 คณะรัฐมนตรีออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 แต่เมื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 99 คน[8] เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร  เพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนี้ออกตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่ง คือ ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษา ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือวรรคสอง คือ ตราขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็น รีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่


ในระหว่างนี้เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร (หรือประธานวุฒิสภา) ได้รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (หรือสมาชิกวุฒิสภา) แล้ว ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้  ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกรณีตัวอย่างนี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้วและพิจารณาเห็นว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของการเข้าชื่อเสนอความเห็น จึงมีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา จึงได้แจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ 

พร้อมทั้งแจ้งให้นายกรัฐมนตรีในฐานะคณะรัฐมนตรี  นายประเกียรติ นาสิมมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็น ได้จัดทำคำชี้แจงหรือเสนอความเห็นเป็นหนังสือไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 และในวันรุ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งพิจารณาเพื่อรับฟังคำชี้แจงและแสดงความเห็นจาก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็น และนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนนายกรัฐมนตรีในฐานะคณะรัฐมนตรี และอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายทำความเห็นเป็นหนังสือยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก่อนการวินิจฉัย ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ในที่สุด 

ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ได้วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ตราขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะและเป็นความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา184

 

บิ๊กตู่ ตอกหน้าส.ส.กดบัตรแทนกัน ไม่มั่นใจกระทบร่างพ.ร.บ.งบฯแค่ไหน  สว.สมชายจี้ตัดสินใจแก้ไขด่วน