- 06 ก.พ. 2563
สืบเนื่องจากเหตุกรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2550 แกนนำและแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคน จากเวทีปราศรัยเคลื่อนจากสนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง โดยระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าว มีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ เช่นกรณีของ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล ได้ใช้ไม้เสาธง ตีประทุษร้ายร่างกาย ร.ต.อ.ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม เป็นเหตุให้กระดูกข้อมือแตกเป็นอันตรายสาหัส
สืบเนื่องจากเหตุกรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2550 แกนนำและแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคน จากเวทีปราศรัยเคลื่อนจากสนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง โดยระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าว มีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ เช่นกรณีของ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล ได้ใช้ไม้เสาธง ตีประทุษร้ายร่างกาย ร.ต.อ.ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม เป็นเหตุให้กระดูกข้อมือแตกเป็นอันตรายสาหัส
ต่อมาคดีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2558 ให้ลงโทษจำเลยทั้ง 7 ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ประกอบด้วย นายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006, นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน, นายวันชัย นาพุทธา, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช., นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7
โดยในส่วนของ นายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีคำพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน ฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ฯ ส่วนนายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ, นายวิภูแถลง และนพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 มีคำพิพากษาให้จำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายฯ และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานฯ และให้ยกฟ้อง นายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 พร้อมให้ริบของกลางทั้งหมด
จากนั้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2560 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็น ผู้สนับสนุน ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ตามมาตรา 138 วรรคสอง ให้จำคุกคนละ 1 ปี และมีความผิดฐานมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายโดยเป็นหัวหน้าสั่งการ ซึ่งเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามมาตรา 215 วรรคหนึ่งและวรรคสาม, มาตรา 216 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 215 วรรคสาม เพียงกรรมเดียว จำคุกคนละ 3 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีอยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 4-7 เหลือคนละ 2 ปี 8 เดือน นอกเหนือจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนนายนพรุจ จำเลยที่ 1 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2562 จำเลยบางส่วนมีการกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ และขอลดโทษ ศาลพิจารณาแล้วเห็นควรส่งคำร้องให้ศาลฎีกาเพื่อพิจารณามีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอีกครั้งต่อไป ศาลจึงเลื่อนอ่านคำพิพากษา และกำหนดให้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 6 ก.พ. 2563
ล่าสุด ศาลฎีกาได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าวออกไปเป็นวันที่ 30 เม.ย. 2563 เวลา 09.00 น. เนื่องจากนายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิดวุฒิกุล จำเลยที่ 1 ไม่ได้เดินทางมาศาลในวันดังกล่าว เนื่องจากย้ายที่อยู่ใหม่ ไม่สามารถส่งหมายได้ จึงให้เวลาอัยการสืบหาที่อยู่จำเลยที่ 1 ใหม่
โดย นายวีระกานต์ เปิดเผยก่อนเข้ารับฟังคำพิพากษาว่า ตนรู้สึกเหมือนที่เคยรู้สึกทุกวัน เราน้อมรับกับผลของการตัดสินไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ ต้องยอมรับอยู่แล้ว เพราะเรามาสู่กระบวนการนี้ก็ต้องยอมรับ การรับสารภาพเป็นความหวังของผู้ต่อสู้คดีทุกคน ต้องใช้สิทธินี้ตามรัฐธรรมนูญ แต่จะได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ส่วนพี่น้อง นปช.เวลานี้ก็อยู่กันแบบกระจัดกระจาย แต่ทุกคนก็ยังมีความคิดความอ่านทางการเมืองอยู่ ก็ขอฝากเพียงว่าขอให้ทุกคนแสดงความคิดความเห็น โดยสันติวิธีเท่านั้น อย่าเลิกล้มความคิดก็ใช้ได้แล้ว
ด้าน นพ.เหวง เปิดเผยว่า ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็น้อมรับคำพิพากษา ไม่มีปัญหาอะไร เพราะพวกเราทุกคนรู้อยู่แล้ว เส้นทางนี้มีสองอย่าง ชนะหรือแพ้ ถ้าชนะประชาชนก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถ้าแพ้พวกเราก็มีชะตากรรมสองอย่าง คือคุกหรือตาย ทุกอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วสำหรับคนที่ตัดสินใจเดินทางนี้
เช่นเดียวกับ นายณัฐวุฒิ ที่ระบุถึงการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเมื่อวานนี้ ว่า ไม่ใช่การปลง แต่ต้องยอมรับความจริงกับการกระทำที่เกิดขึ้น เพราะ ทราบมาตลอดว่าการต่อสู้ทางการเมือง มีผลลัพธ์เพียง 2 อย่าง คือ ติดคุก กับ มีอิสรภาพ ซึ่งหากยังสามารถรักษาอิสรภาพของตัวเองไว้ได้ ก็จะเดินหน้าตามแนวทางประชาธิปไตยต่อไป พร้อมยืนยันว่าพร้อมน้อมรับผลการตัดสินของศาล แต่ไม่ได้คาดหวังว่าผลจะเป็นบวกมากกว่าชั้นอุทธรณ์ นอกจากนี้ยังฝากถึงทุกฝ่ายทางการเมือง นำบทเรียนในอดีตเป็นแนวทางเพื่อลดการเผชิญหน้าและความขัดเแย้งในสังคม
ต่อมา นายณัฐวุฒิ กล่าวภายหลังเข้ารับฟังคำพิพากษา ระบุว่า ตนและจำเลยทั้ง4คน เป็นจำเลยที่4-7 ในคดีนี้ เดินทางมา ศาลเพื่อรับฟังคำพิพากษา ปรากฏว่ามีบันทึกในสำนวนของศาล ว่าไม่สามารถอ่านฎีการับหลังจำเลยได้ โดยอัยการได้แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาตัวนายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 จำเลย ที่1 ได้ และจำเลยได้ย้ายที่อยู่
ศาลจึงเลื่อนอ่านคำพิพากษาไปวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งศาลได้มีการสอบถามทนายจำเลยที่ 1 เพื่อให้ทนายจำเลยนำตัวจำเลยที่ 1 มาฟังคำพิพากษา ยอมรับ กลุ่มตน ไม่ได้มีความสนิทสนมกับนายนพรุจ จำเลยที่ 1 ซึ่งขณะเกิดเหตุการณ์บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ ก็เป็นการก่อเหตุคนละเวลา และต่อมาวันที่มีคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลตัดสินจำคุกจำเลยทั้งหมด นายนายนพรุจ ไม่มีทนาย และหลักทรัพย์มายื่นขอประกันในศาลชั้นต้น พวกตนทั้งหมดจึงได้มีการช่วยเหลือเพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ประกันตัวออกไป
หลังจากวันนั้นก็ไม่ได้มีการติดต่ออะไรกันอีก ซึ่งกรณี นี้ อัยการได้ยื่นต่อ ศาลว่า จำเลยที่ 1 ไม่เดินทางมาในวันนี้ โดยหลักการต้องเป็นหน้าที่ของทนายในการเสียค่าปรับ ศาลพิเคราะห์แล้วไม่ได้ปรับเบี้ยประกันกับทนายของนายนพรัตน์ เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัย จึงได้สั่งให้มีการสืบเสาะหาที่อยู่ของจำเลยใหม่ ก่อนนัดอ่านคำพิพากษาในครั้งต่อไป วันที่ 30 เมษายนนี้ เวลา 9.00 น.