นายกฯตู่ลุยเอง สั่งตรงพาณิชย์ตรวจ 5 จุด โซเชียลแฉกักตุนหน้ากากอนามัย ชะลอแจก 2 พัน ขอดูให้รอบคอบ

ภายหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีครม.เศรษฐกิจมีมติเห็นชอบมาตรการระยะสั้น ในการลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์การแพร่กระจายไวรัสโควิด-19 โดยการเตรียมแจกเงินให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร รวมถึงผู้มีอาชีพอิสระ รายละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน ด้วยความคาดหวังว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ภายหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก  กรณีครม.เศรษฐกิจมีมติเห็นชอบมาตรการระยะสั้น ในการลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์การแพร่กระจายไวรัสโควิด-19  โดยการเตรียมแจกเงินให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย  เกษตรกร  รวมถึงผู้มีอาชีพอิสระ  รายละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2  เดือน  ด้วยความคาดหวังว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

ล่าสุด  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน ว่า วันนี้ได้มอบหมายให้มีการตรวจสอบไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งตัวเลขโดยประมาณเดือนละ 38 ล้านชิ้นที่ผลิตได้จาก 11 โรงงาน เฉลี่ยวันละ 1.8 ล้านชิ้น โดยมีสัดส่วน 8-9 แสนชิ้นที่ลงไปสู่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก และการกระจายลงไปยังโรงพยาบาลต่างๆ มีสัดส่วนที่ชัดเจน รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนด้วย แต่ปัญหาคือการบริหารจัดการ แต่เท่าที่ดูตัวเลขตอนนี้ส่งไปครบถ้วน เพียงแต่จะเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอแล้วจะทำอย่างไร ในส่วนที่เหลือหลังแจกจ่ายไปให้บุคลากรทางการแพทย์แล้ว ก็แจกจ่ายไปตามการค้าขายตามปกติ ซึ่งจะมีระบบส่งจากพ่อค้าคนกลางไปสู่ร้านค้า แต่วันนี้หลายร้านค้าไม่มีของ ก็ต้องไปดูว่าหายไปไหน 

 

นายกฯตู่ลุยเอง สั่งตรงพาณิชย์ตรวจ 5 จุด โซเชียลแฉกักตุนหน้ากากอนามัย ชะลอแจก 2 พัน ขอดูให้รอบคอบ

 

“เช้านี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ลงพื้นที่ไปตรวจสอบใน 5 จุด ซึ่งอาจจะมีการกักตุน รวมทั้งในจุดที่มีการแพร่ในโซเชียลฯ ขณะนี้รอผลตรวจสอบอยู่ ยืนยันรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

 


นายกฯ กล่าวว่า แต่ถ้าความต้องการมีมากก็ต้องเข้าใจว่าอาจไม่เพียงพอ เพราะสินค้ามีจำนวนจำกัด 38 ล้านชิ้นต่อเดือน แล้วถ้าไม่พอจะทำอย่างไร วันนี้จึงได้ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ไปหารือเพิ่มสายการผลิตหน้ากากผ้า ซึ่งคาดว่าจะได้อีกประมาณ 20 ล้านชิ้น แต่อาจจะต้องใช้เวลา และจะมีการออกมาจำหน่ายในลำดับต่อไป ขณะที่มท.ก็เริ่มแจกจ่ายหน้ากากผ้าไปบ้างแล้ว ถือเป็นหน้าหากทางเลือกในขณะนี้ และขอให้แยกแยะการใช้หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งถ้าอยู่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะถ้าใส่กันมาก ความต้องการก็มีมาก ประเทศไทยมีคน 70 ล้านคน แต่เราผลิตได้เพียงเดือนละ 38 ล้านชิ้น ก็จำเป็นต้องเอาหน้ากากผ้ามาเสริม 

 

 

นายกฯ กล่าวต่อไปว่า ตนเป็นห่วงว่าถ้ามีการแพร่ไปสู่ระยะที่ 3 จริง เราจำเป็นต้องเพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะตามโรงพยาบาล ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะเดียวกันก็ต้องความสำคัญกับสถานควบคุม โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์อย่างสถาบันบำราศนราดูร ที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งมีความเป็นห่วงบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งรัฐบาลได้ดูแลในส่วนของประกันสุขภาพ โยงมาถึงการรับบริจาคเงินของรัฐบาลยืนยันว่าไม่ใช่รัฐบาลไม่มีเงิน เพียงแค่ครม.เสนอมา ต้องการร่วมมือกันตั้งงบประมาณบริจาคมา แต่มีคนเอาไปพันกับงบฯน้ำท่วม ยืนยันว่าทุกงบฯ มีบัญชี มีการตรวจสอบและจะต้องขออนุมัติทุกครั้งในการใช้จ่าย ไม่ใช่จนหรือใครจะสั่งได้ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ทั้งนี้ เงินบริจาคดังกล่าวจะเผื่อไว้ถ้ามีความจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณรัฐ ส่วนหนึ่งก็จะนำไปช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หลายคนเอามาโยงกันทั้งหมด ทั้งเรื่องหน้ากากอนามัยไม่พอมาพันกับเงินบริจาคอย่างนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมกับคนทำงาน เรื่องนี้ตนไม่ได้แก้ตัว แต่ต้องชี้แจงให้เข้าใจ

เมื่อถามว่าเรื่องมาตรการช่วยเหลือ 2,000 บาทจะนำมาพิจารณาหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า เรื่องมาตรการช่วยเหลือคนละ  2,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน โดยเดือนละ 1,000 บาทนั้น ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดูแลผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จะยังไม่เข้าครม.ทุกอย่างเป็นเพ๊กเก๊ต มีทั้งที่เข้าเข้าแลกยังไม่เอาเข้าพิจารณาตอนสั่งไปแล้วว่าเรื่องเงิน 2000 บาทยังไม่ให้นำเข้าที่ประชุมครม. จะมีแค่มาตรการช่วยเหลือคืนเงินค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าประจำบ้านหลังละ 3,000 บาทที่จะนำเข้าครม.ในวันที่ 10 มีนาคม ก่อน ได้ทั่วทุกคน ซึ่งจะมากจะน้อยก็ขอให้รับไปก่อน ถ้าให้มากเกินไปรัฐบาลก็เป็นปัญหาอีก รายได้รัฐลดลง การเก็บภาษีได้น้อยลงก็ยอมรับ แต่ก็ต้องหาทางอื่นในวันหน้าว่าจะทำอย่างไร เรื่องเงิน 2,000 บาทไว้ว่ากันอีกทีเพราะเดี๋ยวจะว่าทำเรื่องการเมืองกันอีก คงไม่ใช่หรอก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาไม่ใช่ว่าจะไม่ให้ ต้องให้กระทรวงการคลังไปทำบัญชีทุกอย่างให้พร้อมก่อน วันนี้เอาอย่างนี้ไปก่อน 

 


“นายกฯ พูดแต่หลักการรับได้กันไหม ใช้ปัญญาหรือเปล่า โดยหลังจากนี้ก็ต้องไปดูว่าข้าราชการทำได้แค่ไหนอย่างไร เพราะต้องใช้กฎหมายทุกตัว ไม่ใช่นายกฯสั่งส่งเดชมันก็ทำไม่ได้ ทุกเรื่องก่อนที่จะเข้าครม. ตน สำนักงบประมาณและสภาพัฒน์ฯ เลขาธิการครม.และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายจะคัดกรองเอกสารก่อนเข้าครม.ทุกครั้ง อันไหนที่ไม่ได้ดึงออกก่อนทำอย่างนี้มา 5-6 ปีแล้ว ให้ไปทำมาใหม่เพราะถ้ารีบร้อนเกินไปก็จะเกิดปัญหาแต่มาตรการหลักๆ ก็ต้องออกไปก่อน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

 

 

นายกฯตู่ลุยเอง สั่งตรงพาณิชย์ตรวจ 5 จุด โซเชียลแฉกักตุนหน้ากากอนามัย ชะลอแจก 2 พัน ขอดูให้รอบคอบ