- 11 มี.ค. 2563
นอกเหนือปัญหาหลัก ๆ ที่ถาโถมรัฐบาล ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลก จนมาถึงวิกฤตการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวไปหลายประเทศ รวมถึงไทยซึ่งประสบปัญหามีผู้ป่วย และเสียชีวิต ประเด็นทางการเมืองก็เป็นอีกจุดใหญ่ ทำให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดแรงกระเพื่อมซ้ำ ๆ ซาก ๆ จากประเด็นความไม่ลงตัวทางความคิดภายในพรรคประชาธิปัตย์ แต่ส่งผลมาถึงภาพรวมการทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเป็นระยะ ๆ โดยตลอดต่อเนื่อง
นอกเหนือปัญหาหลัก ๆ ที่ถาโถมรัฐบาล ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลก จนมาถึงวิกฤตการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวไปหลายประเทศ รวมถึงไทยซึ่งประสบปัญหามีผู้ป่วย และเสียชีวิต ประเด็นทางการเมืองก็เป็นอีกจุดใหญ่ ทำให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดแรงกระเพื่อมซ้ำ ๆ ซาก ๆ จากประเด็นความไม่ลงตัวทางความคิดภายในพรรคประชาธิปัตย์ แต่ส่งผลมาถึงภาพรวมการทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเป็นระยะ ๆ โดยตลอดต่อเนื่อง
อย่างเช่นในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีมติเสียงข้างมาก จากกลุ่มฝ่ายค้าน และ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล จำนวนหนึ่ง เห็นชอบตามข้อเสนอ ตามญัตติด่วนให้จัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาผลกระทบ การกระทำ ประกาศคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44
ที่สุดจึงกลายมาเป็นคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ปรารภถึงประเด็นที่เกิดขึ้น ว่า "ถ้าเราสร้างแต่ความขัดแย้ง หรือ สร้างอะไรต่างๆออกไปหรือความไม่ลงรอยกันบ้าง จะทำให้ความเชื่อมั่นหายไป ตนไปในทุกประเทศเขาเชื่อมั่นประเทศไทย เป็นห่วงอย่างเดียวคือเรื่องของการเมือง ขอให้ระมัดระวังและลดการกระทบกระทั่งกันให้มากยิ่งขึ้น"
สำคัญสุดคือคำปรารภของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ว่า "สัญญาลูกผู้ชาย สุภาพบุรุษสำคัญที่สุด การเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องร่วมรัฐบาลจริง ๆ"
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : บิ๊กตู่ ต้องบ่น 6 ปชป. รู้ทั้งรู้เจตนา ยังร่วมอนค.หนุน เช็คบิลมาตรา 44)
ขณะที่เมื่อย้อนพิจารณาเหตุของปัญหา ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายใต้บรรยากาศการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล กลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ คือพรรคการเมืองที่มีทัศนคติ ขัดแย้งกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ในการตัดสินใจลาออกจากความเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 พร้อมแถลงจุดยืนเรื่อง ไม่สนับสนุนการร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย และไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : แรงกระเพื่อมเดิมๆ ในปชป. “รัฐบาลลุงตู่” ยังเสี่ยงไม่จบ เพราะเสียงปริ่มน้ำ )
จนกระทั่งมาถึงกรณีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ และ 5 รมต. ปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ ที่อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ถึงขั้นต้องลงมติว่าจะตัดสินใจอย่างไร โดยเฉพาะท่าทีของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง ที่ออกมาเคลื่อนไหว พร้อมด้วย นายเทพไท เสนพงศ์ส.ส.นครศรีธรรมราช , นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี และนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์
ด้วยการแถลงก่อนโหวตญัตติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ระบุว่า " เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้ประชุมหารือถึงการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ซึ่งในบรรดานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี 5 คนที่ถูกอภิปรายได้ชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหา หรือแม้แต่บางคนยังไม่ถูกอภิปรายแต่ก็ได้ชี้แจงไปบ้าง โดยที่ประชุมของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ามีจำนวน 5 คนที่เราไม่ติดใจ แต่มีการถกกันมากในกรณีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ มีการยกเหตุผลว่าจะลงมติกันอย่างไร
ทั้งนี้ส.ส.จำนวนมากในพรรคเห็นว่า ร.อ.ธรรมนัสไม่สามารถชี้แจงได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคดีที่ประเทศออสเตรเลีย ทั้งวุฒิการศึกษาและประเด็นอื่น รวมถึงมีการหยิบยกประเด็นอื่นๆ กันขึ้นมาเพื่อหารือว่าจะลงมติกันอย่างไร จนในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ต้องใช้วิธีลงมติกัน ถือเป็นครั้งแรกที่ต้องใช้วิธีนี้ ผลปรากฏว่าเห็นควรลงมติไว้วางใจ 24 เสียง และลงมติไม่ไว้วางใจ 17 เสียง ถือเป็นเสียงไม่ไว้วางใจที่มีค่อนข้างมาก
“พวกผม 4 คนอยู่ใน 17 เสียง ที่เห็นว่ายังไม่ควรไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัส แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มีมติเช่นนี้เราจำเป็นต้องดำเนินการตามมติพรรค ส่วนที่ต้องออกมาแถลงข่าวเพื่อต้องการส่งสัญญาณถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีว่าการได้เสียงไว้วางใจจะนับเฉพาะในสภาไม่ได้ ควรจะฟังเสียงประชาชนภายนอกด้วย ซึ่งกระแสความไว้ไม่ไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัสนั้นเป็นที่กังขาอย่างมาก จึงขอเรียกร้องไปยังผู้นำรัฐบาลจะต้องหยิบประเด็นนี้ไปทบทวน หยิบประเด็นนี้ไปคำนึงถึงอย่างสำคัญและเอาจริงเอาจัง"
กระทั่งล่าสุดเมื่อเกิดเหตุกรณีซ้ำกับ ร.อ.ธรรมนัส จากการที่ นายพิตตินันท์ รักเอียด อดีตผู้สมัคร ส.ส.พลังประชารัฐ เขต 6 สุราษฎร์ธานี ในฐานะผู้ติดตาม ร.อ.ธรรมนัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปปรากฎภาพคู่กับ นายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ บอย ไนท์มาร์เก็ต พ่อค้าออนไลน์ที่ออกมาถ่ายคลิป และโพสต์ในลักษณะให้เชื่อว่าเป็นขบวนการกว้านซื้อ หน้ากากอนามัยจำนวนมาก เพื่้อนำไปขายเก็งกำไร กระแสการต่อต้าน ร.อ.ธรรมนัส จากภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็ย้อนกลับมาอีกรอบ ถึงขั้นมีการเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ด้วยวาทกรรมสุดแรง "หยุดพายเรือให้โจรนั่ง"
ส่งผลทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องพูดตรงๆ ต่อกรณีที่เกิดขึ้น และถูกจับตาว่าจะกลายเป็นปมการเมืองใหญ่ ภายในพรรคร่วมรัฐบาล และสถานะรัฐบาลนับจากนี้หรือไม่ อย่างไร
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : นายกฯตู่สวนแรงปชป.ก่อคลื่นใต้น้ำ ผุดวาทะหยุดพายเรือให้โจรนั่ง กดดันให้ถอนตัวร่วมรัฐบาล)
ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำงานอยู่ในรัฐบาล ต่างให้ความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วย กับแนวทางการเคลื่อนไหวของส.ส. และอดีตส.ส.ส่วนใหญ่ที่ถูกมองว่า อยู่ในขั้วเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อาทิ กรณีในรายของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ ยึดถือวิถีทางประชาธิปไตยภายในพรรค ที่มีความชัดเจน รวมถึงระบบ ระเบียบ ซึ่งในช่วงที่ตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาล ก็ไม่ใช่ความคิดเห็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นมติร่วมกันของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต้องโหวตกัน จนได้เสียงข้างมาก คือ 61 ต่อ 16 ในการเห็นชอบเข้าร่วมรัฐบาล ที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ
ส่วนกรณีที่ นายอันวาร์ สาและ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ปัตตานี ซึ่งเคยทำหนังสือเปิดผนึกยื่นขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อแก้ไขวิกฤติพรรคและรับผิดชอบร่วมกัน และขอให้เสนอแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูพรรคที่มีประสิทธิภาพ จนล่าสุดยื่นเรื่องถึงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้พิจารณาจุดยืนของพรรค ตลอดจนข้อเสนอว่าด้วยการให้ปรับครม. โดยมีการนำชื่อของ ร.อ.ธรรมนัส ออกจากการเป็นคณะรัฐมนตรี
นายจุรินทร์ กล่าวว่า กรณีที่นายอันวาร์ ยืนเรื่องมาเพื่อให้พิจารณาก็ต้องเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อพิจารณา ในขณะที่นายอันวาร์เอง ก็เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนั่งอยู่ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคอยู่แล้ว ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไรทุกคนมีหน้าที่ปฏิบัติตาม
ส่วนประเด็นว่าด้วยคณะทำงานของร.อ.ธรรมนัส จะเป็นปัจจัยในการหารือเรื่องร่วมรัฐบาลต่อหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวตอบว่า กรณีนี้พรรคพลังประชารัฐซึ่งถือเป็นต้นสังกัดต้องไปพิจารณา และนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล อาจจะเป็นผู้พิจารณา ว่าจะเป็นอย่างไร
"ในการทำงานร่วมกัน ต้องมีการปรึกษาหารือและระมัดระวัง ที่ผ่านมาตนก็ระมัดระวัง อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่พูด เพื่อไม่ให้เกิดกระทบกระทั่งกัน เราไม่ใช่รัฐอิสระ อะไรที่ไม่ใช่หน้าที่เราแต่เป็นหน้าที่คนอื่น ไม่จำเป็นเราก็ไม่ไปก้าวล่วง เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ตนถือหลักนี้ใน การทำงานร่วมกัน"
ทางด้าน นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การที่ประชาธิปัตย์มาร่วมรัฐบาลก็มาตามมติพรรค เพราะฉะนั้นการมาบอกว่าพายเรือให้โจรนั่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ความจริงมีหนังสือให้ทบทวนมติเมื่อคืนวันที่ 17 ก.พ. และวันที่ 24 ก.พ. ประเด็นนี้ตนคิดว่าในพรรคต้องพูดคุยกัน
สำคัญเลยพวกตนที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดนี้ก็ทำหน้าที่กันเต็มความสามารถ ต้องการทำให้เห็นว่า ประชาธิปัตย์เวลามาร่วมรัฐบาลเราก็ทำงานได้ ทำงานเป็นเหมือนกัน ไม่ใช่ดีแต่พูด ดังนั้นที่บอกว่ามาพายเรือให้โจรนั่งนั้น ต้องทบทวนคำพูดให้ดี พูดแล้วมันบั่นทอนกำลังใจคนทำงานเหมือนกัน คิดว่าถ้ามีปัญหาอะไร ก็ควรมานั่งพูดคุยกันในพรรค มากกว่าจะพูดตามสื่อข้างนอก และประดิษฐ์ถ้อยคำตำหนิคนอื่น เพราะคนที่ทำงานเขาก็เสียกำลังใจเหมือนกัน
"อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่าถ้าพรรคมีมติอย่างไรต้องปฏิบัติตามนั้น เพราะตอนที่ร่วมรัฐบาลตอนนั้นพรรคก็มีมติเสียงข้างมากที่ค่อนข้างจะเด็ดขาดด้วยซ้ำที่ให้มาร่วมรัฐบาล แล้วจะมาบอกว่าคนที่มีเสียงข้างมากลงมติให้ไปพายเรือให้โจรนั่งนั้น ต้องคิดรอบคอบ อย่าประดิษฐ์ถ้อยคำแล้วไปตำหนิคนอื่น"
ท้ายที่สุดก็คงต้องดูกันต่อไปว่า มติพรรคประชาธิปัตย์ จะออกมาในรูปแบบไหน อย่างไร โดยเฉพาะแนวทางของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค รวมถึง นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค จะกลับไปแก้ปัญหาภายในพรรคอย่างไร เพราะชัดเจนว่าปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากสมาชิกที่เคลื่อนไหว ไปในทิศทางเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคมาโดยตลอด และคลื่นใต้น้ำกลุ่มนี้ คงจะก่อแรงกระเพื่อมให้กับพรรคร่วมรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน
แม้ว่าท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์ จะพยายามรักษาสถานภาพของรัฐบาลให้นิ่ง เพื่อแก้ปัญหาของประเทศที่ถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วง
โดยการเลือกขอโทษในสิ่งที่พูดผ่านสื่อ กรณีพรรคประชาธิปัตย์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เหมือน "พายเรือให้โจรนั่ง" ว่า "ตนอาจตอบเร็วไปนิดจึงขอโทษด้วย เมื่อสื่อถามเร็วก็ตอบเร็ว แต่คำตอบจริง ๆ ต้องเป็นเรื่องของมติพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้าพรรค ซึ่งต้องให้สิทธิ์ทางหัวหน้าพรรคไปจัดการ และนายจุรินทร์ได้รับไปดำเนินการ ก็คงเป็นเรื่องกลไกทางการเมือง ส่วนตนในฐานะนายกฯคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง"
ทั้งนี้ด้วยเหตุผลเดียวก็คือ หนทางข้างหน้า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน ที่เคยเคลื่อนไหวไม่ยอมรับในตัวพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะของผู้บริหารประเทศ เหมือนกับ นายอภิสิทธิ์ มีแนวโน้มคงจะยังมีต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะแง่มุมของเหตุผลใด แม้ไม่ถึงขั้นกล้าแตกหัก นำพรรคออกจาการร่วมรัฐบาลก็ตาม
โดยเฉพาะในรายของ นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งอ้างว่า แนวคิดเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล ไม่น่าจะทำให้ปัญหาบานปลาย คือถ้าไลน์ไม่หลุดก็ไม่มีเรื่อง เพราะเป็นเรื่องภายในพรรค แต่บังเอิญมีคนบางคนนำข้อความในไลน์ออกไปจึงทำให้ข้างนอกได้รับรู้ ซึ่งไม่ใช่มติพรรค แต่เป็นการพูดคุยกัน และถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในพรรคการเมืองที่มีความเห็นที่แตกต่างกัน
ตนยังอยากให้นายกรัฐมนตรีอยู่แก้ไขปัญหาต่อไป แต่อันไหนที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน กระทบภาพพจน์รัฐบาล พรรคในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลก็ควรต้องคุยกัน และนำข้อเสนอไปถึงนายกฯ ดังนั้น พรรคต้องเปิดประชุมเพื่อเปิดอกคุยกันต่อหน้าดีกว่า โดยต้องนำ 3 เงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาลที่ประชาชนรับรู้มาพิจารณา
“ยืนยันว่าสิ่งที่พวกผมออกมาเคลื่อนไหว ไม่ได้เป็นเพราะยังเชื่อมั่นในตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคอยู่ เพราะทุกวันนี้หัวหน้าพรรค คือ นายจุรินทร์คนเดียว และที่เสนอประชุม เพราะมีประเด็นที่เป็นปัญหาในอนาคต ผมคิดว่าเป็นความกังวล และคิดว่าถ้าป้องกันอะไรได้ก็ทำ ถ้าเป็นหลักของเหตุของผล ผมก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอในข้อคิดเห็นต่างๆ เพราะคิดว่าจำเป็นที่เราจะต้องหารือภายในเพื่อป้องกันปัญหาเลือดไหล เพราะทราบว่ายังมีกรรมการบริหารพรรคลาออกอีกหลายคน”
ขณะที่ นายพนิต วิกิตเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ขณะนี้ไม่น่าจะถึงขั้นที่นายจุรินทร์ต้องทบทวนตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะเป็นหัวหน้าพรรคมาไม่ถึงปี และการบริหารบ้านเมืองผ่านมาเพียง 8-9 เดือน และก็บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงรัฐมนตรีของพรรคทุกคนด้วยก็ทำงานอย่างเต็มที่ จึงควรให้นายจุรินทร์ ดำเนินการเป็นรูปธรรมก่อน และวาระหัวหน้าพรรคยังมีวาระอีกหลายปี จึงควรให้บริหารพรรคไปก่อน และมั่นใจว่าจะพาพรรคผ่านความขัดแย้งนี้ไปได้
และที่ผ่านมาอดีตหัวหน้าพรรคทุกคนก็ยึดเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นหลัก หากมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เอาผลประโยชน์ของประชาชน จึงไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ ร.อ.ธรรมนัส เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นใครใน ครม.มีพฤติกรรมแบบนี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการ เราไม่มีวันพายเรือให้โจรนั่ง เพราะเราไม่มีผลประโยชน์อะไร
“เรื่องมติพรรคให้เราโหวตไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัสเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ตอนนี้มันมากกว่านั้น เป็นเรื่องของการเอาเปรียบประชาชนกักตุนหน้ากากที่ต้องมีการสอบสวนต่อไป และ รมว.พาณิชย์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องเข้าไปดู ถ้าเรื่องนี้ชัดเจนและตอบสังคมได้ ผมก็เชื่อว่าเรายังสามารถร่วมรัฐบาลต่อไป แต่ถ้าเกิดมีปัญหาพบสิ่งไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะไปเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ประชาธิปัตย์จะต้องมีการพูดคุยกันว่าจะดำเนินการบริหารประเทศต่อไปหรือ